ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศกรีซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matiia (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 202.29.178.244 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Potapt
บรรทัด 61:
}}
 
'''กรีซ''' ({{lang-en|Greece}}; {{lang-el|Ελλάδα}}, ''Elládha'' {{IPA|[e̞ˈlaða]}} ''เอลาฑา'' หรือ Ελλάς, ''Ellás'' {{IPA|[e̞ˈlas]}}) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า '''สาธารณรัฐเฮลเลนิก'''<ref>{{cite web |url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2544/E/117/2.PDF|title=ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง|author= |date=26 พฤศจิกายน 2544|work= |publisher=ราชกิจจานุเบกษา|accessdate=13 พฤษภาคม 2557}}</ref> ({{lang-en|Hellenic Republic}}; {{lang-el|Ελληνική Δημοκρατία}}, ''Ellinikí Dhimokratía'' {{IPA|[e̞ˌliniˈci ðimo̞kraˈtiˌa]}}) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ[[ทวีปยุโรป]] ตอนใต้สุดของ[[คาบสมุทรบอลข่าน]] มีพรมแดนทางเหนือติดกับ[[ประเทศบัลแกเรีย]] [[ประเทศมาซิโดเนีย|มาซิโดเนีย]] และ[[ประเทศแอลเบเนีย|แอลเบเนีย]] มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับ[[ประเทศตุรกี]] อยู่ติด[[ทะเลอีเจียน]]ทางด้านตะวันออก ติด[[ทะเลไอโอเนียน]]และ[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]]ทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่ง[[อารยธรรมตะวันตก]]อันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
ggwp
 
[[ชาวกรีก]]เรียกประเทศตัวเองว่า '''Hellas''' ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า ''Ellas'' โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า ''Ellada'' และมักจะเรียกตัวเองว่า '''Hellenes''' แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อ[[ภาษาละติน|ละติน]]ว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู่
 
== ภูมิศาสตร์ ==
[[ไฟล์:Olympus Litochoro.JPG|thumb|right|225px|[[ยอดเขาโอลิมปัส|ภูเขาโอลิมปัส]]]]
ประเทศกรีซประกอบด้วยแผ่นดินใหญ่ในทางทิศใต้ไปจนถึง[[แหลมบอลข่าน]]และเกาะมากมายกว่า 3,000 เกาะ รวมทั้ง[[เกาะครีต]] (Vrete) [[เกาะโรดส์]] (Rhodes) [[เกาะไคออส]] (Chios) [[เกาะเลสบอส]] (Lesbos) [[เกาะยูบีอา]] (Euboea) และ[[หมู่เกาะโดเดคะนีส]] (Dodecanese) และพวกไซแคลดิกทางทะเลอีเจียน ที่เหมือนกับชาวกรีกบน[[หมู่เกาะไอโอเนียน]] กรีซมีแนวชายฝั่งทะเลยาว 15,000 กิโลเมตร และเส้นแบ่งเขตแดน ยาว 1,160 กิโลเมตร
 
ราว ๆ 80% ของประเทศกรีซประกอบด้วยภูเขา และเนินเขา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กรีซเป็นประเทศหนึ่งในยุโรปที่มีภูเขามากที่สุด ทางตะวันตกของกรีซจะเป็นทะเลสาบและพื้นที่ชื้นแฉะพินดัส เป็นภูเขาทางตอนกลางซึ่งมีความสูงถึง 2,636 เมตร เมื่อพิจารณาดูแล้ว ภูเขาพินดัสอาจจะมีการขยายออกมาจากเทือกเขาดิแนริดได้ แนวเทือกเขาที่ต่อเนื่องกัน กลายเป็นแหลมเพโลพอนนีส [[เกาะคีทีรา]] (Kythera) และ[[เกาะแอนติคีทีรา]] (Antikythera) พบที่จุดปลายของเกาะกรีก
 
ทางตอนกลางและทางตะวันตกของกรีซ เป็นที่สูงชัน มียอดเขาสูงที่แยกออก เป็นหุบเขาลึกมากมาย และมีลำธารระหว่างหุบเขาต่าง ๆ เช่น ช่องแคบ Meteora และ Vikos มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากแกรนด์แคนยอนในสหรัฐอเมริกา
 
[[ยอดเขาโอลิมปัส]]เป็นจุดที่สูงที่สุดของกรีซ คือ 2,919 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทางตอนเหนือก็ยังมีเทือกเขาสูง ๆ อีก อย่าง Rhodope ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมาซิโดเนียและเทรซ พื้นที่นี้ถูกปกคลุมไปด้วย ป่าทึบเก่าแก่ขนาดใหญ่ เหมือนกับ Dadia ที่เป็นที่รู้จักกัน
 
ทางตะวันออกของกรีซเต็มไปด้วยทุ่งกว้างมากมาย คือตรงตอนกลางของมาซิโดเนียและเทรซ โวลอสและลาริสซา เป็น 2 เมืองใหญ่ ของทางตะวันออกของกรีซ
 
สภาพอากาศของกรีซ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ [[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]] [[เทือกเขาแอลป์]] และ Temperate แบบแรก ภูมิประเทศแบบฝนตกใน[[ฤดูหนาว]] แห้งแล้งใน[[ฤดูร้อน]] อุณหภูมิไม่ค่อยสูง อย่างไรก็ตามก็มี[[หิมะ]]ตกบางในกรุงเอเธนส์ หมู่เกาะซิคละดิส หรือเกาะครีตมีสภาพอากาศหนาว เทือกเขาแอลป์ก่อตัวมาจากทางตะวันตกของกรีซ สภาพอากาศแบบสุดท้ายก่อตัวจากทางตอนกลางและทางมาซิโดเนียตะวันออก เทรซ Xanthi และ Evros เหนือ มีอากาศหนาว ชื้น ในฤดูหนาว และ แห้งแล้งในฤดูร้อน เป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับกรุงเอเธนส์ที่ ตั้งอยู่ระหว่างสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กับเทือกเขาแอลป์ ดังนั้นชานเมืองทางตอนใต้จะมีสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในขณะที่ทางตอนเหนือมีสภาพอากาศแบบ เทือกเขาแอลป์
 
50% ของประเทศกรีซ ถูกปกคลุมไปด้วยป่า ที่มีพืชนานาชนิด จากเทือกเขาแอลป์ ป่าสนของทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
 
ทะเลรอบ ๆ ประเทศกรีซ มีแมวน้ำ เต่าทะเล และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่หายากอาศัยอยู่ ในขณะที่ป่าของกรีซ เป็นที่บ้านหลังสุดท้ายของ[[ยุโรปตะวันตก]] ที่มีหมีสีน้ำตาล แมวป่า กวางโร แกะป่า [[สุนัขจิ้งจอก]] และ[[หมูป่า]]
 
== ประวัติศาสตร์ ==
{{บทความหลัก|ประวัติศาสตร์กรีก}}
[[ไฟล์:Parthenon.JPG|thumb|left|225px|[[วิหารพาร์เธนอน]]ใน[[เอเธนส์]]]]
=== ยุคโบราณ ===
ในยุคสำริด 3,000-2,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคที่อารยธรรมชนเผ่า[[ไซแคลดิก]]และ[[ไมซีแนเอียน]]กำลังมีอิทธิพลรุ่งเรืองอยู่ในกรีซ แต่พอถึงศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล อิทธิพลของวัฒนธรรมไซแคลดิกและไมซีแนเอียนก็ถึงกาลเสื่อมสลายลง เพราะถูกรุกรานโดยนักรบเผ่า[[ดอเรียน]]ที่รุกมาจากทางเหนือ อารยธรรมต่าง ๆ ในกรีซจึงเริ่มเข้าสู่ยุคมืด
 
ช่วงเวลา 800 ปีก่อนคริสตกาล เป็นช่วงเวลาที่อารยธรรมกรีซเฟื่องฟูขึ้นมาอีกครั้ง วัฒนธรรมและกิจการทหารของกรีซเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด เมืองเอเธนส์ลัสปาต้าเป็นศูนย์กลางของอำนาจมหาอาณาจักรกรีซประกอบด้วยอิตาลีทางตอนใต้อันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ กรีซย่างก้าวเข้าสู่ยุคคลาสสิกหรือยุคทอง ในยุคนี้เองนักปราชญ์ชื่อ [[เพเรอคลิส]] ผู้ทำให้[[วิหารพาร์เธนอน]]เป็นที่รู้จักของชาวโลก [[โซโฟคลิส]]ได้เขียน[[มหากาพย์อีดิปุส]]ขึ้น และ[[โสกราตีส]]หรือ[[โสกราตีส|ซาเครอทิส]] ได้เริ่มการสอนลูกศิษย์ชาว[[เอเธนส์]]ให้รู้จักวิชาตรรกวิทยาและหลักการของ[[ประชาธิปไตย]] ต่อมาไม่นานนักยุคทองของกรีซก็ถึงจุดเสื่อม แล้วกรีซก็เข้าสู่ยุค[[สงครามเปลโอปอนนีเซียน]] ซึ่งกองทหารอันเกรียงไกรของเปอร์เซียได้ยกกำลังเข้าบดขยี้ชาวเอเธนส์เสียจนย่อยยับ
 
ในขณะที่กองทัพเปอร์เซียกำลังรุกรานกรีซอย่างย่ามใจทางตอนเหนือ พระเจ้าฟิลิปแห่งอาณาจักรมาซิโดเนียกำลังไล่ตีเมืองเล็กเมืองน้อยรุกคืบเข้ามาใกล้กรีซทุกที แต่ทว่าความทะเยอทะยานที่จะเป็นผู้พิชิตในภูมิภาคนี้ของพระเจ้าฟิลิปก็ถูกบดบังรัศมีโดยโอรสของพระองค์เองคือ [[พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช]] ผู้สามารถยาตราทัพไปถึง[[เอเชียไมเนอร์]]และ[[อียิปต์]] ซึ่งที่อียิปต์นี้เองพระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็นฟาโรห์ ผู้สร้างเมืองอเล็กซานเดรีย พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยกทัพไปถึงเปอร์เซียและดินแดนส่วนที่เป็น[[อินเดีย]]และ[[อัฟกานิสถาน]]ในปัจจุบัน ในรัชสมัยของอาณาจักรมาซิโดเนียเรียกกันว่า ยุคเฮลเลนิสติก (Hellenistic Period) เพราะยุคนี้มีการผสมผสานปรัชญาและวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองของชนชั้นปกครองจนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบใหม่ที่ศิวิไลซ์ยิ่งขึ้น หลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุ 33 ปีแล้ว มีกษัตริย์ปกครองกรีซสืบต่อมาอีก 3 รัชกาล
 
ครั้นถึงปีที่ 205 ก่อนคริสต์ศักราช อิทธิพลของ[[โรมัน]]แผ่ขยายเข้ารุกรานกรีซ และเมื่อถึงปี 146 ก่อนคริสตกาล กรีซกับ[[มาซิโดเนีย]]ตกอยู่ใต้การปกครองของโรมัน หลังจากที่มีการแบ่งอาณาจักรโรมันเป็นอาณาจักรตะวันออกและตะวันตก กรีซได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไบแซนไทน์ และเมื่อเกิดสงครามครูเสดขึ้น อิทธิพลของอาณาจักรไบแซนไทน์ก็เสื่อมถอยเพราะถูกรุกรานโดยชาวเวนิส คาตาลัน เจนัว แฟรงก์ และนอร์มัน
 
=== ยุคกลาง ===
ในปี [[พ.ศ. 1996]] (ค.ศ. 1453) กรุง[[คอนสแตนติโนเปิล]] เมืองหลวงของ[[จักรวรรดิไบแซนไทน์]]ถูกพวก[[เติร์ก]]ยึดครอง และเมื่อถึงปี [[พ.ศ. 2043]] (ค.ศ. 1500) ดินแดนของกรีซทั้งหมดก็ตกอยู่ใต้อำนาจของเติร์ก ดินแดนที่เป็นกรีซในปัจจุบันแต่ก่อนเป็นศูนย์กลางการค้าทางเรือของยุโรปตอนกลางและเป็นที่ชุนนุมนักปราชญ์กับศิลปินของโลก เพราะที่นี่เป็นหมู่บ้านกรีกที่มีประเพณีและวัฒนธรรมของกรีก[[ออร์ทอดอกซ์]] ในการทำสงครามเพื่อกู้เอกราชจากเติร์ก กรีซได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากนักคิด นักเขียน และนักปรัชญา เช่น ไบรอน แชลเลย์ และเกอเธ อย่างไรก็ตามการต่อสู้ที่ขาดเอกภาพของกรีซ ทำให้[[ฝรั่งเศส]] [[รัสเซีย]] และ[[ประเทศอังกฤษ|อังกฤษ]] ตัดสินใจเข้ามาแทรกแซง หลังจากกรีซได้รับเอกราชแล้ว กลุ่มอำนาจในยุโรปมีความเห็นว่ากรีซควรมีการปกครองระบบกษัตริย์จึงได้จัดการให้กษัตริย์ออตโตแห่ง[[บาวาเรีย]] เป็นกษัตริย์ปกครองกรีซในปี [[พ.ศ. 2376]] (ค.ศ. 1833) หลังจากนั้นกรีซก็มีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์อีกหลายพระองค์ด้วยกัน จนกระทั่งถึงรัชสมัยของ[[พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ|พระเจ้าจอร์จที่ 1]] จึงได้รับพระราชทานกฎหมายรัฐธรรมนูญให้กรีซในปี [[พ.ศ. 2407]] (ค.ศ. 1864) ทำให้กรีซมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
 
=== ยุคใหม่ ===
ระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] กองทัพกรีซอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตร และเข้ายึดครองเมืองเทรซ เมื่อสงครามโลกยุติ กรีซได้ส่งกองกำลังเข้าไปช่วยปลดปล่อยเมืองสเมอร์นาของ[[ตุรกี]] (ปัจจุบันคือ[[อิซมีร์]]) ให้ได้รับอิสรภาพ เพราะเมืองนี้มีประชาชน[[ชาวกรีก]]อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก กองกำลังกรีกถูกต่อต้านอย่างแข็งแกร่งจากกองทัพของอตาเติร์ก ซึ่งได้เข่นฆ่าชาวกรีกในเมืองนั้นเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก ผลของสงครามนี้ทำให้มีการตกลงแลกเปลี่ยนพลเมืองของ 2 ประเทศกันในปี [[พ.ศ. 2466]] (ค.ศ. 1923) ประชากรกรีกเพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีผู้อพยพชาวคริสเตียนมาอยู่ในกรีซมากถึง 1,300,000 คน ทำให้กรีซมีปัญหาด้านเศรษฐกิจตามมา คนเหล่านี้กระจายกันไปอยู่นอกเมือง ภายหลังมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานต่าง ๆ ขึ้นในกลุ่มพวกอพยพที่อาศัยอยู่ตามหัวเมืองรอบนอก และในปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) [[พรรคคอมมิวนิสต์]]ในกรีซก็เติบโตและมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการสนับสนุนของประชาชนทั่วประเทศ
 
ปี [[พ.ศ. 2479]] (ค.ศ. 1936) [[นายพลเมเตอซัส]] ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี เขาเป็นผู้ปกครองประเทศที่นิยมการปกครองแบบเผด็จการ ถึงแม้ว่าจะได้เห็นความเป็นไปในชะตากรรมของพวก[[นาซีเยอรมนี]] แต่ตัวเขาเองกลับกระทำการต่าง ๆ ที่ทำให้เขาได้รับฉายาว่าเป็นภาพจำลองของอาณาจักรไรน์ในกรีซ นายพลเมเตอซัสทำการต่อต้านไม่ยอมให้เยอรมนีกับอิตาลีเดินทัพผ่านกรีซ ถึงแม้ว่ากลุ่มสัมพันธมิตรจะเข้าช่วยกรีซแต่กรีซก็ต้องตกเป็นของเยอรมนีในปี [[พ.ศ. 2484]] (ค.ศ. 1941) เป็นผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงขึ้น มีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล เกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์และฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ เป็นชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองนองเลือดขึ้นในกรีซ และยุติลงใน [[พ.ศ. 2492]] (ค.ศ. 1949) โดยฝ่ายนิยมกษัตริย์อ้างชัยชนะ
 
ในช่วงเวลานั้น[[อเมริกา]]กำลังเคร่งครัดใน[[ลัทธิทรูแมน]] รัฐบาลอเมริกาในขณะนั้น มีนโยบายให้เงินก้อนใหญ่สนับสนุนรัฐบาลที่ต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ แต่ความกลัวลัทธิ[[คอมมิวนิสต์]]จะครองเมืองทำให้คณะทหารของกรีซทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลเมื่อปี [[พ.ศ. 2510]] (ค.ศ. 1967) <ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000125288 |title=เหตุแห่งการรัฐประหารในกรีก ปี 1967 เมื่อฝ่ายประชาธิปไตยสองขั้ว เอาและไม่เอารัฐประหาร|accessdate=2011-10-02|author= ศาสตรา โตอ่อน |format=HTML}}</ref> กล่าวกันว่าการปฏิวัติในกรีซเป็นผลมาจากการแทรกแซงทางการเมืองของหน่วยงาน [[CIA]] ของ[[สหรัฐอเมริกา]]ที่เข้ามาปฏิบัติการในทวีปยุโรปกลุ่มทหารที่ครองอำนาจในกรัซทำตนมีอำนาจเหนือราษฎรและทำการกดขี่ข่มเหงประชาชน ยิ่งกว่านั้นคณะนายพลของทหารกรีซได้ทำการวางแผนลอบสังหารผู้นำของ[[ไซปรัส]]ในขณะนั้น เป็นผลให้ตุรกีฉวยโอกาสเข้ารุกเข้ายึดครองตอนเหนือของไซปรัส ทำใหเหตุการณ์นี้เป็นข้อบาดหมางระหว่างกรีซกับตุรกีมาจนถึงทุกวันนี้
 
ในปี [[พ.ศ. 2524]] (ค.ศ. 1981) กรีซเข้าเป็นสมาชิกสมาคมสหภาพยุโรป [[พรรคสังคมนิยม]] PASOK นำโดยนายแอนเดรียส์ ปาปันเดรโอ ชนะการเลือกตั้งได้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลให้สัญญาว่าจะจัดการให้อเมริกาย้ายฐานทัพอากาศออกไปจากกรีซและกรีซจะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของ[[นาโต]]แต่รัฐบาลทำไม่สำเร็จ สตรีชาวกรีซเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงประเพณีเรื่องสินสอดและเรียกร้องให้กฎหมายสนับสนุนการทำแท้งเสรีความไม่สงบในประเทศทำให้ปาปันเดรโอกับรัฐบาลของเขาเสียอำนาจการปกครองประเทศให้กับรัฐบาลผสมระหว่างพรรคอนุรักษนิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในปี [[พ.ศ. 2532]] (ค.ศ. 1989) การเลือกตั้งในกรีซเมื่อ [[พ.ศ. 2533]] (ค.ศ. 1990) พรรคอนุรักษนิยมได้ที่นั่งมากที่สุดและได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศแต่ไม่สำเร็จ การเลือกตั้งใหม่ใน [[พ.ศ. 2536]] (ค.ศ. 1993) กรีซได้ปาปันเดรโอผู้นำเฒ่าของพรรคเสรีนิยมกลับมาครองอำนาจกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ท่านผู้นำถึงแก่อนิจกรรมใน [[พ.ศ. 2539]] (ค.ศ. 1996) หลังจากที่ท่านลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองกรีซได้ผู้นำคนใหม่ชื่อ คอสทาส สมิทิส ต่อมากรีซกับตุรกีขัดแย้งกันอย่างหนักจนใกล้จะระเบิดสงครามเมื่อผู้สื่อข่าวของตุรกีได้นำธงชาติกรีซมาย่ำยีเล่น สมิทิสได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีกรีซอีกครั้ง รัฐบาลใหม่ให้สัญญากับประชาชนว่าจะเร่งการนำประเทศเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอียู นายกรัฐมนตรีเป็นเพื่อนร่วมชั้นกับรัฐมนตรี[[โทนี แบลร์]]ของอังกฤษตั้งแต่สมิทิสมีอำนาจในการบริหารประเทศเขามีนโยบายเห็นด้วยกับกลุ่มฝ่ายค้านพรรคประชาธิปไตยใหม่แทบทุกเรื่อง
 
== การเมืองการปกครอง ==
[[ไฟล์:Hellenic Parliament from high above.jpg|thumb|right|225px|อาคารรัฐสภากรีซ]]
กรีซมีการปกครองแบบสาธารณรัฐรัฐสภา หลังจากที่ประชาชนลงมติให้เลิกล้มการปกครองระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]]ไปเมื่อวันที่ [[8 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 1974]] วันประกาศ[[อิสรภาพ]]ของกรีซคือวันที่ [[25 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1821]] [[รัฐธรรมนูญ]]ฉบับปัจจุบันของกรีซประกาศใช้เมื่อวันที่ [[11 มิถุนายน]] [[ค.ศ. 1975]] แก้ไขเพิ่มเติม 2 ครั้ง คือ เดือน[[มีนาคม]] [[ค.ศ. 1986]] และเดือน[[เมษายน]] [[ค.ศ. 2001]]
 
ระบบกฎหมายของกรีซมีพื้นฐานมาจากหลักกฎหมายของโรมัน
 
กรีซมี[[ประธานาธิบดี]]เป็นประมุขของรัฐ ประธานาธิบดีได้มาจากการเลือกตั้งของรัฐสภา อยู่ตำแหน่งคราวละ 5 ปี ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล [[คณะรัฐมนตรี]]แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีที่ได้มาจากการเสนอชื่อของนายกรัฐมนตรี
 
[[สมาชิกนิติบัญญัติ]]ได้มาจากการเลือกตั้งทั่วไป มีจำนวน 300 ที่นั่ง อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
 
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
กรีซแบ่งการปกครองประเทศออกเป็น '''13 ภูมิภาค (''regions'') ''' มี 9 ภูมิภาคบนพื้นแผ่นดินใหญ่ และ 4 ภูมิภาคบนหมู่เกาะ* ภูมิภาคต่าง ๆ จะแบ่งเป็นจังหวัด รวม '''54 จังหวัด (prefectures - ''nomos'') '''
 
<table align=center>
<tr>
<Td>
# [[ภูมิภาคอัตติกะ|อัตติกะ]] (Attica)
# [[ภูมิภาคเซนทรัลกรีซ|เซนทรัลกรีซ]] (Central Greece)
# [[ภูมิภาคเซนทรัลมาซิโดเนีย|เซนทรัลมาซิโดเนีย]] (Central Macedonia)
# [[เกาะครีต|ครีต]] (Crete)
# [[ภูมิภาคอีสต์มาซิโดเนียและเทรซ|อีสต์มาซิโดเนียและเทรซ]] (East Macedonia and Thrace)
# [[ภูมิภาคอิไพรัส|อิไพรัส]] (Epirus)
# [[หมู่เกาะไอโอเนียน|ไอโอเนียนไอแลนส์]] (Ionian Islands)
# [[ภูมิภาคนอร์ทอีเจียน|นอร์ทอีเจียน]] (North Aegean)
# [[ภูมิภาคเพโลพอนนีส|เพโลพอนนีส]] (Peloponnese)
# [[ภูมิภาคเซาท์อีเจียน|เซาท์อีเจียน]] (South Aegean)
# [[ภูมิภาคเทสซาลี|เทสซาลี]] (Thessaly)
# [[ภูมิภาคเวสต์กรีซ|เวสต์กรีซ]] (West Greece)
# [[ภูมิภาคเวสต์มาซิโดเนีย|เวสต์มาซิโดเนีย]] (West Macedonia)
</td>
<td>
[[ไฟล์:GreeceNumberedPerepheries.png|300px|แผนที่แสดงเขตการปกครองของกรีซ]]
</table>
 
นอกจากนี้ทางแถบมาซิโดเนีย ยังมี '''เขตปกครองตนเอง (autonomous region) ''' ของสงฆ์หนึ่งแห่ง คือ [[เมานต์อะทอส]] (Mount Athos)
== นโยบายต่างประเทศ ==
=== ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป ===
{{โครง-ส่วน}}
 
=== ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ===
{{โครง-ส่วน}}
 
=== ความสัมพันธ์กับประเทศไทย ===
{{กล่องข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ|กรีซ – ไทย|กรีซ|ไทย|map=Greece Thailand Locator.png}}
* การทูต
{{โครง-ส่วน}}
 
* การค้าและเศรษฐกิจ
{{โครง-ส่วน}}
 
* การท่องเที่ยว
{{โครง-ส่วน}}
 
* การเยือน
** ฝ่ายไทย
{{โครง-ส่วน}}
 
** ฝ่ายกรีซ
{{โครง-ส่วน}}
 
== กองทัพ ==
{{บทความหลัก|กองทัพกรีซ}}
 
=== กำลังกึ่งทหาร ===
{{โครง-ส่วน}}
 
== เศรษฐกิจ ==
[[ไฟล์:Greece economy collage.png|thumb|ลักษณะทางเศรษฐกิจที่สำคัญของกรีซ เรียงจากบนลงล่าง: การเกษตร, การค้าขายทางเรือ และ การท่องเที่ยวชายหาด]]
* [[ผลิตภัณฑ์มวลรวม]]ภายในประเทศ (GDP) 172.5 พันล้าน USD (2546) 201.1 พันล้าน USD (2545)
* GDP Per Capita 16,223 USD (2546) 19,000 USD (2545)
* อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 4.3 (2546) ร้อยละ 3.5 (2545)
* อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.4 (2546) ร้อยละ 3.6 (2545)
* อัตราการว่างงาน ร้อยละ 9.4 (2546) ร้อยละ 10.3 (2545)
* ปริมาณการส่งออก 7.8 พันล้าน USD (2546) 12.6 พันล้าน USD (2545)
* ปริมาณการนำเข้า 35.2 พันล้าน USD (2546) 31.4 พันล้าน USD (2545)
* สินค้าส่งออกสำคัญ อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อุปกรณ์ไฟฟ้าและโทรคมนาคม
* สินค้าเข้าสำคัญ เครื่องจักรอุตสาหกรรม อุปกรณ์ยานพาหนะ พลังงาน
* ตลาดส่งออกสำคัญ [[อียู]] (44%) [[สหรัฐอเมริกา]] และ[[ประเทศบัลแกเรีย|บัลแกเรีย]] (5.7%) [[ประเทศไซปรัส|ไซปรัส]] (4.8%) [[FYROM]] (3.7%)
* ตลาดนำเข้าสำคัญ อียู (50.8%) [[ประเทศรัสเซีย|รัสเซีย]] (5.3%) [[ประเทศซาอุดิอาระเบีย|ซาอุดิอาระเบีย]] (3.5%) สหรัฐอเมริกา (3.3%) [[ประเทศอิหร่าน|อิหร่าน]] (3.2%)
 
== ประชากรศาสตร์ ==
=== เชื้อชาติ ===
{{โครง-ส่วน}}
[[ไฟล์:View of the Acropolis from Lykavittos Hill.jpg|thumb|left|กรุง[[เอเธนส์]] มีประชากรอาศัยมากที่สุดในประเทศ]]
พ.ศ. 2548 มีข้อมูลประชากรประมาณ 11,244,118 คน (อันดับที่ 74) และความหนาแน่น 80.91/กม² (อันดับที่ 108) ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ทอดอกซ์ (Geek Orthodox)
 
=== ภาษา ===
{{บทความหลัก|ศาสนาในกรีซ}}
 
=== ศาสนา ===
 
=== กีฬา ===
{{บทความหลัก|กรีซในโอลิมปิก|กรีซในพาราลิมปิก}}
 
== วัฒนธรรม ==
{{บทความหลัก|วัฒนธรรมกรีซ}}
=== นักปรัชญา ===
เสาหลักของปรัชญาตะวันตก
 
นักปรัชญากรีซที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในฐานะ [[เสาหลักของปรัชญาตะวันตก]] มีอยู่3ท่านคือ โสกราตีส เพลโต และอริสโตเติล
 
* '''[[โสกราตีส]]''' เกิดที่กรุงเอเธนส์ เมื่อ 470 ปีก่อนคริสตกาล เคยได้ เข้าร่วมในการทำสงครามเปลโอปอนนีเซียน หลังจากนั้นเขาอุทิศเป็นผู้สอนวิชาตรรกวิทยา “Know Thyself” ตามสถานที่สาธารณะต่าง ๆ วิธีการสอนของท่านคือการตั้งคำถามและตอบ เมื่ออายุ 70 ปี โสกราตีสต้องโทษตามกฎหมายกรีซให้ดื่มยาพิษ
 
* '''[[เพลโต]]''' เกิดที่กรุมเอเธนส์เมื่อ 428 ปี ก่อนคริสตกาล ท่านเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีสที่เคารพและเทิดทูนโสกราตีสมาก เพลโตได้ตั้งวิทยาลัยสอนวิชาวิทยาศาสตร์และปรัชญาขึ้นเป็นแห่งแรกในกรุงเอเธนส์เมื่อ 387 ปีก่อนคริสต์ศักราช ผลงานเขียนของเพลโตเป็นคำสอนรูปของบทสนทนาในหนังสือชื่อ The Republic ของเพลโต ท่านแยกพลเมืองออกเป็น 3 กลุ่มคือ ประชาชน ทหาร และผู้ปกครองประเทศ เพลโตเป็นผู้ให้หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับอธิปไตยไว้อย่างชัดเจนว่า หญิงและ ชาย มีฐานะเท่าเทียมกันและจะต้องได้รับการศึกษาเหมือนกัน รัฐจะต้องจัดการแต่งงานให้ประชาชน เด็กแรกเกิดจะถูกแยกจากพ่อ แม่เพื่อประชาชนจะได้ไม่มีความผูกพันเป็นส่วนตัวเพื่อให้ประชาชนมีความรู้สึกในความเป็นเจ้าของรัฐแต่เพียงอย่างเดียว
 
* '''[[อริสโตเติล]]''' เกิดที่เมืองสตากิรา ภูมิภาคมาซีโดเนีย เมื่อ 384 ปีก่อนคริสตกาล ท่านเดินทางไปเอเธนส์เพื่อศึกษาวิชาปรัชญาที่สำนักของเพลโตเมื่อ 367 ปีก่อนคริสตกาลและพำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 20 ปี จนกระทั่งเพลโตถึงแก่กรรม จึงเดินทางไปเผยแพร่คำสอนตามหลักปรัชญาของเพลโตในที่ต่าง ๆ เป็นเวลา 10ปี แล้วจึงตั้งสำนักศึกษาของท่านเองชื่อว่า The Lyceum นาน 12 ปี
 
อริสโตเติลเป็นนักคิดคนแรกที่ค้นพบวิชา ตรรกวิทยา โดยอาศัยข้อเท็จจริง 2 ข้อ สนับสนุนกันและกัน เช้น ความดีทุกอย่างควรสรรเสริญ และความกรุณาก็เป็นความดีอันหนึ่ง ฉะนั้นความกรุณาจึงควรได้รับการสรรเสริญด้วย เป็นต้น
วรรณคดี
 
=== นักกวี ===
กวีสมัยโบราณที่ยิ่งใหญ่ของกรีซคือ [[โฮเมอร์]]กับ [[ฮีเสียด]]ทั้ง 2 ท่านได้เขียนมหากาพย์ที่สำคัญ หลายเรื่อง
และมหากาพย์เรื่องกรุงทรอยอยู่ด้วย นักเขียนนักค้นคว้าชื่อ เฮ็นริช ชีลมานน์ ได้ค้นคว้าเรื่องเมือง[[ทรอย]] จนค้นพบว่ามีอยู่จริง ที่เมือง Hissarlik ทางตอนเหนือของตุรกีในอดีตกาล เมื่อพบเมืองทรอยแล้ว ชีลมานน์ขุดค้นพบประวัติศาสตร์ในยุคบรอนซ์ตามที่อ้างในมหากาพย์ของโฮเมอร์ต่อไป การขุดหาสมบัติในวรรณคดีของเขานำไปสู่การค้นพบ 3 นครสำคัญ ที่ได้ชื่อว่า กนกนคร ตามประวัติศาสตร์ในยุคสมัยของโฮเมอร์นั่นคือ Mycenae, Tiryns และ Orchomenos ก่อนที่นักเขียนนักค้นคว้าคนสำคัญของโลกจะตายไป เขาได้เผยให้เห็นเค้าโครงรูปร่างของอาณาจักรมาซิเนียนให้ประจักษ์แก่ตาชาวโลก
 
=== นักค้นคว้า ===
นักค้นคว้าชื่อ [[อาร์เธอร์ อีแวนส์]]ค้นพบแหล่ง[[อารยธรรมมิโนอัน]] และร่องรอยของอารยธรรมที่เคยรุ่งเรืองในอดีตของอาณาจักรไมนอส ซึ่งเป็นการยืนยันว่า [[โฮเมอร์]] มหากวีเอกของโลกชาวกรีก ได้บันทึกเรื่องราวของยุคสมัยไว้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง มิได้เขียนขึ้นจากความคิดเพ้อฝันแต่อย่างใด
 
=== สถาปัตยกรรม ===
[[ไฟล์:Olympia-stadion.jpg|thumb|สนามกีฬา[[โอลิมปิก]]ยุคโบราณ]]
กรีซมีชื่อเสียงทางเรื่องศิลปะเป็นต้นแบบของงานสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเด่นและสง่างามของเสาหินแบบวิหารพาร์เธนอน ที่ตกแต่งตรงส่วนบนของหัวเสาด้วยศิลปะแบบกรีกมี 3 แบบ คือ ดอริก, ไอโอนิก และคอรินเธียน จะเห็นเสาหินแบบกรีกเป็นส่วนตกแต่งด้านหน้าของอาคารสำคัญ ๆ และสิ่งก่อสร้างที่เป็นงานสถาปัตยกรรมเลื่องชื่อของโลกตามเมืองหลวงของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย สถานที่ทำงานสำคัญ ๆ ของประเทศที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ ล้วนนำสถาปัตยกรรมศิลป์ของกรีซไปประยุคผสมผสาน ในการก่อสร้างเป็นการยอมรับในอารยธรรมที่รุ่งเรืองของกรีซโบราณและเป็นการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่เคยเฟื่องฟูในอดีตของกรีซไปทุกมุมโลกนอกจาก งานสถาปัตยกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของกรีซที่เผยแพร่ไปทั่วโลกแล้ว งานจิตรกรรมและประติมากรรมของกรีซยังเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรดาพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ต่าง ๆ พยายามเสาะหามาเป็นสมบัติเก็บสะสมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
 
ถึงแม้งานศิลปะชั้นเยี่ยมของกรีซจะกลายเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของประเทศอื่นแต่กรีซก็ยังมีงานศิลปะโบราณอยู่ในประเทศอีกมาก
 
=== อาหาร ===
มะกอกและเฟต้าชีส
 
=== ดนตรี และ นาฎศิลป์ ===
 
การละครยุคกรีก (250 ปีก่อน พ.ศ. – พ.ศ. 250)
ละครกรีกสันนิษฐานว่า ถือกำเนิดขึ้นประมาณ 800 – 700 ปีก่อนคริสตกาล โดยเริ่มจากการประกวดการร้องรำทำเพลงเป็นหมู่ (Choral dance) ซึ่งเรียกว่า ดิธีแรมบ์ (dithyramb) ในเทศกาลที่จัดขึ้นเพื่อบวงสรวงเทพเจ้าไดโอนีซุส (Dionysus) เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นและความอุดมสมบูรณ์
จากการร้องรำทำเพลงเป็นหมู่โดยกลุ่มคนที่เรียกว่า คอรัส (Chorus) ในการแสดง ดิธีแรมบ์ ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การแสดงในรูปแบบของละคร กล่าวคือมีนักแสดงเดี่ยวๆ แยกออกมาต่างหาก และทำการสนทนาโต้ตอบกับกลุ่มคอรัส ฉะนั้น แทนที่จะเป็นเพียงการร้องเพลงเล่าเรื่องจากพวกคอรัสตรงๆ ก็เปลี่ยนเป็นการสนทนาระหว่างตัวละครกับกลุ่มคอรัส
 
ในปี 534 ก่อนคริสตกาล เริ่มมีการประกวดการแต่งบทและการจัดแสดงละครแทรเจดี นักการละครชื่อ เธสพิส (Thespis) เป็นผู้ชนะการประกวดครั้งแรกนี้ ละครของเธสพิสใช้นักแสดงเพียงคนเดียว เล่นทุกบทที่มีอยู่ในละครเรื่องนั้น โดยใช้การเปลี่ยนหน้ากาก เป็นการเปลี่ยนบทที่แสดง และมีคอรัสเป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องราวเข้าด้วยกัน
500 ปีก่อนคริสตกาล ถือว่าเป็นยุคทองของการละครกรีก มีการประกวดเขียนบทละครและจัดการแสดงละครในด้านต่างๆ ทำให้การละครรุ่งเรืองมาก บทละครส่วนใหญ่ของกรีกที่เหลือมาถึงปัจจุบัน ก็เป็นบทละครที่เขียนขึ้นในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาลนี่เอง
ประเภทของละครกรีก
ละครกรีก ที่หลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ
(1) ละครแทรเจดี (Tragedy)
ละครแทรเจดีของกรีกแสดงให้เห็นชีวิตตัวละครตัวเอก ที่มีความน่ายกย่องสรรเสริญ แต่ต้องดิ้นรนต่อสู้กับอำนาจของชะตากรรมซึ่งเทพเจ้าเป็นผู้ลิขิต แม้ว่าในที่สุดจะต้องพ่ายแพ้และประสบหายนะ แต่เป็นความพ่ายแพ้ที่ดิ้นรนต่อสู้ถึงที่สุดแล้ว เรื่องราวของละครกรีกยุคแรกๆ เป็นการสรรเสริญและเล่าเรื่องราวเทพเจ้า โดยมักนำโครงเรื่องมาจากมหากาพย์อีเลียด (Iliad) และ โอดิสซี (Odyssey)
 
 
(2) ละครคอมเมดี (Comedy)
ละครคอมเมดีเป็นละครที่ให้ความรู้สึกตลกขบขัน เพราะความบกพร่องของมนุษย์ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ซึ่งเกี่ยวกับการเมือง สงครามและสันติภาพ ทัศนะเกี่ยวกับศิลปะในแง่ต่างๆ การโจมตีหรือเสียดสีตัวบุคคล ฯลฯ คอมเมดีเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นใหม่ มากกว่านำมาจากตำนานเช่นแทรเจดี
 
=== สื่อสารมวลชน ===
{{บทความหลัก|รายนามสื่อสารมวลชนในประเทศกรีซ}}
{{โครง-ส่วน}}
 
=== วันหยุด ===
{{บทความหลัก|วันสำคัญของกรีซ}}
{{โครง-ส่วน}}
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* [http://www.mfa.go.th/web/848.php?id=110 ประเทศกรีซ] จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
{{จบอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{Sisterlinks|Greece}}
* {{wikivoyage|Greece}}
=== รัฐบาล ===
* [http://www.presidency.gr/ President of the Hellenic Republic]
* [http://www.primeminister.gr/index.php?option=com_content&task=view&id=4762&Itemid=89Prime Minister of the Hellenic Republic]
* [http://www.hellenicparliament.gr/ Hellenic Parliament]
* [http://www.visitgreece.gr/ Greek National Tourism Organisation]
* [http://www.greeknewsagenda.gr/ Greek News Agenda Newsletter]
 
=== ข้อมูลทั่วไป ===
*{{Citation | contribution-url = http://www.britannica.com/EBchecked/topic/244154/Greece | contribution = Greece | title = [[Encyclopaedia Britannica]]}}.
*{{Citation | contribution-url = http://travel.nationalgeographic.com/travel/countries/greece-guide/ | type = guide | contribution = Greece | title = [[National Geographic Traveler|Traveler]] | publisher = National Geographic}}.
*{{CIA World Factbook link|gr|Greece}}
*{{Citation | url = http://ucblibraries.colorado.edu/govpubs/for/greece.htm | contribution = Greece | title = UCB Libraries GovPubs | publisher = Colorado}}.
*{{dmoz |Regional/Europe/Greece}}
*{{Citation | url = http://www.bbc.co.uk/news/world-europe-17372520 | title = Greece | type = profile | newspaper = [[BBC News]] | place = [[United Kingdom|UK]] | date=25 December 2013}}.
*{{Citation | url = http://www.gcr.gr/ | title = Greek Council for Refugees}}.
*{{Citation | url = http://www.fhw.gr/chronos/en/ | title = Hellenic History | publisher = FHW | place = GR}}.
*{{Citation | url = http://www.hellenism.net/ | title = Hellenism}}&nbsp;– Everything about Greece.
* [http://eudocs.lib.byu.edu/index.php/History_of_Greece:_Primary_Documents History of Greece: Primary Documents]
* [http://kingscollections.org/exhibitions/specialcollections/greece/british-involvement-in-the-war/london-protocol The London Protocol of 3 February 1830]
* [http://www.ellopos.net/elpenor/default.asp The Greek Heritage]
* {{Wikiatlas |Greece}}
* {{osmrelation-inline |192307}}
 
; พาณิชย์
* [http://wits.worldbank.org/CountryProfile/Country/GRC/Year/2012/Summary World Bank Summary Trade Statistics Greece]
* [http://www.olympion.de/greek-embassies-worldwide.html รายชื่อสถานทูตกรีซทั่วโลก] (ภาษาอังกฤษ)
 
{{Navboxes
|list1=
{{ยุโรป}}
{{อียู}}
{{นาโต}}
{{บทความเกี่ยวกับกรีซโบราณ}}
}}
 
[[หมวดหมู่:ประเทศกรีซ| ]]