ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศตองงา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 449:
ชาวตองงาสมัยก่อนนิยมรับประทานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเป็นอาหารหลัก อันได้แก่ มันเทศ กล้วย มะพร้าว และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์จากทะเลก็สำคัญเนื่องจากสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น ชาวตองงาสมัยโบราณนิยมบริโภคปลาและสัตว์จำพวกหอย โดยที่ปลาต้องผ่านกรรมวิธีการอบความร้อนก่อน ขณะที่สัตว์จำพวกหอยชาวตองงาสมัยโบราณนิยมบริโภคแบบดิบ นิยมบริโภคน้ำ[[กะทิ]]เป็นเครื่องดื่ม นอกจากนี้ยังพบหลักฐานการเลี้ยง[[สุกร]]ในครัวเรือนชาวตองงาสมัยโบราณอีกด้วย<ref name="culture">Helen Morton, Helen Morton Lee Becoming Tongan: an ethnography of childhood. - University of Hawaii, 1996. - C. 23. - 343 c. - [[ISBN 0-8248-1795-8]]</ref>
 
หลังชาวยุโรปเข้ามา ชาวยุโรปได้นำพืชต่างถิ่นเข้ามาในตองงาส่งผลให้อาหารและเครื่องดื่มของตองงาในยุคหลังได้รับอิทธิพลมาจากพืชเหล่านั้น โดยพืชที่ชาวยุโรปนำเข้ามาในตองงาคือ [[หัวหอม]] [[กะหล่ำปลี]] [[แครอทแคร์รอต]] [[มะเขือเทศ]] [[ส้ม]] [[มะนาว]] [[ยักกา]] รวมไปถึง[[แตงโม]]<ref name="kava">{{cite web|url=http://www.everyculture.com/To-Z/Tonga.html|title=Culture of Tonga|publisher=Advameg, Inc.|accessdate=8 March 2014}}</ref> แตงโมกลายเป็นหนึ่งในพืชที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศตองงา เนื่องจากแตงโมเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำเครื่องดื่มของตองงาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอย่างหนึ่งคือ[[โอไต]] ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่มีแตงโมและ[[มะพร้าว]]เป็นส่วนประกอบ บางครั้งมีการนำ[[มะม่วง]]หรือ[[สับปะรด]]เป็นวัตถุดิบด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.tarasmulticulturaltable.com/otai-tongan-watermelon-drink/|title=‘Otai (Tongan Watermelon Drink)|publisher=Tara's Multicultural Table|accessdate=8 March 2014}}</ref> ชาวตองงานอกจากจะนำพืชที่ชาวยุโรปนำเข้ามาทำเป็นเครื่องดื่มแล้ว ยังนำพืชนั้นมาปรุงเป็นอาหารพื้นเมืองด้วย ยกตัวอย่างเช่น ''ลูปูลู'' ซึ่งนำมะเขือเทศและหัวหอมมาปรุงพืชพื้นเมืองตองงาและเนื้อจนได้เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในตองงาอย่างหนึ่ง<ref>{{cite web|url=http://www.food.com/recipe/lu-pulu-209995|title=Lu Pulu|publisher=food.com|accessdate=8 March 2014}}</ref>
 
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ประเทศตองงายังมีเครื่องดื่มยอดนิยมอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ''[[คาวา]]'' โดยคาวานั้นทำมาจากต้นคาวา นิยมใช้ในพิธีการรวมทั้งพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ชาวตองงานิยมนำคาวามาใช้รักษาโรคและบรรเทาอาการหลากหลาย ซึ่งคาวามีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดข้อ วัณโรค หนองในและอาการไข้<ref>พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 16: พืชให้สารกระตุ้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 140 – 142</ref>