ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรินดัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
| image = [[ไฟล์:Rendang daging sapi asli Padang.JPG|250px]]
| caption = เรินดังแบบมีนังกาเบาเป็นสีดำและแห้ง เสิร์ฟกับ[[เกอตูปัต]]
| alternate_name = รันดัง (สำเนียงมิมีนังกาเบา)
| country = อินโดนีเซีย
| region = มิมีนังกาเบา สุมาตราตะวันตก
| creator =
| course = จานหลัก
บรรทัด 64:
* ลาโดะห์ (พริก) เป็นสัญลักษณ์ของ อาลิม อูลามา คือครูผู้สอนศาสนา ความเผ็ดของพริกคือความเข้มงวดของ[[กฎหมายอิสลาม]]
* เปอมากัก เครื่องเทศ หมายถึงผู้คนที่เหลือในสังคมมีนังกาเบา
ในกลุ่มชนชาวมีนังกาเบา เรินดังเป็นอาหารจานแรกที่เสิร์ฟในงานฉลองและให้แก่แขกผู้มีเกียรติที่ได้รับเชิญ เช่นในงานวันเกิด งานแต่งงานและงานสำคัญทางศาสนา ส่วนในกลุ่มชนชาวมาเลย์ เช่นใน[[รีเยาเรียว]] [[ยัมบี]] [[เมอดัน]]ในสุมาตราหรือ [[เซอเริมบัน]] และ[[โกตาบาห์รู]]บน[[คาบสมุทรมาเลย์]] เรินดังเป็นอาหารพิเศษในเทศกาลสำคัญ เช่น งานแต่งงาน วันอีด
== ประวัติศาสตร์ ==
[[ไฟล์:Sari Bundo Surakarta.JPG|thumb|right|ภัตตาคารอาหารปาดังซึ่งทำให้เรินดังกลายเป็นที่นิยม]]
จุดกำเนิดของเรินดังมาจากชาวมีนังกาเบาในสุมาตรา โดยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันและงานฉลอง เรินดังได้แพร่หลายไปสู่วัฒนธรรมมาเลย์ในบริเวณมันไดลิง รีเยาเรียว ยัมบี และข้าม[[ช่องแคบมะละกา]]ไปยัง[[มะละกา]]และ[[เนอเกอรีเซิมบีลัน]]ซึ่งเป็นบริเวณบนคาบสมุทรที่มีชาวมิมีนังกาเบาข้ามไปตั้งรกราก ในปัจจุบันถือว่าเรินดัง เป็นอาหารพื้นเมืองทั้งของสุมาตราและคาบสมุทรมาเลย์ การแพร่กระจายของเรินดังเป็นผลมาจากการเดินทางไปประกอบอาชีพของชาวมีนังกาเบาทั้งในมาเลเซียและอินโดนีเซีย มีการจัดตั้งภัตตาคาร[[อาหารปาดัง]]จนกลายเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยม ทั่วทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ รวมทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา
 
== ชนิด ==
[[ไฟล์:Nasi ramas rendang.JPG|thumb|right|นาซิรามัสปาดัง; เรินดังเสิร์ฟกับข้าวนึ่ง ใบมันสำปะหลัง ไข่ และน้ำแกง]]
[[ไฟล์:Rendang dish closeup.jpg|thumb|right|เรินดังในเนเธอร์แลนด์ซึ่งจริง ๆเป็นกาลีโอเพราะยังมน้ำอยู่]]
ในการปรุงอาหารของชาวมิมีนังกาเบา มีอาหารหลายชนิดที่ใช้เนื้อสัตว์ปรุงกับกะทิและน้ำพริกและมีการแบ่งระดับตามจำนวนของเหลวที่เหลือในอาหารจากมากสุดไปจนถึงแห้งคือ ฆูไล – กาลีโอ- เรินดัง <ref>[http://wisata.kompasiana.com/jalan-jalan/2010/03/18/gulai-kalio-atau-rendang/ Kompasiana: Dian Kelana: Gulai, Kalio, atau Rendang?]</ref>ความต่างกันในด้านเครื่องปรุงมีเพียงฆูไลนิยมใช้พริกแดงและ[[ขมิ้น]]มากกว่า ถ้าปรุงจนถึงแค่เนื้อสัตว์สุก กะทิเดือดแล้วยกลงจะเรียกฆูไล ถ้าปรุงจนกะทิระเหยไปบางส่วนเนื้อสัตว์เริ่มเป็นสีน้ำตาลแล้วหยุด เรียกกาลีโอ ถ้าปรุงจนกะทิระเหยไปหมด เนื้อสัตว์เปลี่ยนเป็นสีดำหรือเกือบดำเรียกเรินดัง ในปัจจุบันจะแบ่งเรินดังเป็นสองชนิด เรียกแบบแห้งและแบบน้ำ
* เรินดังแห้ง เป็นเรินดังที่แท้จริงของชาวมีนังกาเบา เก็บได้นานถึงสี่สัปดาห์โดยไม่ต้องแช่เย็น
* เรินดังน้ำหรือกาลีโอ เป็นเรินดังที่ที่ปรุงด้วยเวลาสั้นกว่า กะทิยังไม่ระเหยไปหมด เก็บโดยไม่แช่เย็นได้ไม่ถึงสัปดาห์