ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
'''วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548-2553''' เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองซึ่งต่อต้านและสนับสนุน[[ทักษิณ ชินวัตร]] อดีตนายกรัฐมนตรี โดยวิกฤตการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับเสรีภาพสื่อ<ref>Reporters Without Borders. [http://www.rsf.org/en-rapport81-Thailand.html Thailand]. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.</ref><ref>The Nation. [http://nationmultimedia.com/2007/08/18/opinion/opinion_30045480.php Junta's bills stifle free expression in run-up to vote]. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.</ref><ref>Thomas Bell. [http://www.telegraph.co.uk/news/worldnews/asia/thailand/5110697/Thailand-analysis-land-of-smiles-becomes-land-of-lies.html Thailand analysis: 'land of smiles' becomes land of lies]. ''The Telegraph''. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.</ref> เสถียรภาพทางการเมืองในไทย<ref>The Nation. [http://www.nationmultimedia.com/2007/04/19/opinion/opinion_30032163.php Political stability is topmost priority]. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.</ref> ทั้งยังสะท้อนภาพความไม่เสมอภาคและความแตกแยกระหว่างชาวเมืองและชาวชนบท<ref>maesotcity.com. [http://www.maesotcity.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538716705&Ntype=1 สื่อนอกชี้ทางเลือกวิกฤตการเมืองไทย “ยุบสภา-ลาออก-รัฐประหาร”]. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.</ref> การละเมิดพระราชอำนาจ [[การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย|การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ]]<ref>Frank G. Andersen. [http://www.upiasia.com/Human_Rights/2008/04/28/lese_majeste_in_thailand/2852/ Lese majeste in Thailand]. ''UPI Asia.com''. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.</ref> และ[[ผลประโยชน์ทับซ้อน]] ซึ่งวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้บั่นทอนเสถียรภาพทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548
 
ในปี 2548 เริ่มมี[[การประท้วงขับไล่ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี]] เนื่องจากข้อกล่าวหาการบริหารประเทศของรัฐบาลที่อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง และได้ขยายตัวเป็นวงกว้างยิ่งขึ้น โดยกลุ่ม[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] (พธม.) ที่มี[[สนธิ ลิ้มทองกุล]]เป็นผู้นำ แต่หลังจากนั้นก็มีกลุ่มคนที่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีออกมาเคลื่อนไหวเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดความเห็นต่างทางการเมือง ต่อมาเกิด[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549‎|รัฐประหาร]] ส่งผลให้ฝ่ายทหารในนาม[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] (ภายหลังเปลี่ยนเป็น[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ]] (คมช.)) นำโดยพลเอก[[สนธิ บุญยรัตกลิน]] เถลิงอำนาจและเข้ามามีบทบาททางการเมือง
 
ต่อมาคณะรัฐประหารได้แต่งตั้ง[[รัฐบาลชั่วคราว หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|รัฐบาลชั่วคราว]] ซึ่งมีพลเอก [[สุรยุทธ์ จุลานนท์]] เป็น[[รายนามนายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] ระหว่างปี 2549-2550 ซึ่งในช่วงดังกล่าว มีกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารหลายกลุ่ม กลุ่มที่มีชื่อเสียง คือ [[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] (นปช.) โดยกล่าวหาว่า พลเอก [[เปรม ติณสูลานนท์]] ประธานองคมนตรี อยู่เบื้องหลังรัฐประหาร และต้องการขับไล่ คมช. และรัฐบาล