ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
ในปี 2548 เริ่มมี[[การขับไล่ทักษิณ ชินวัตร จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี]] เนื่องจากข้อกล่าวหาการบริหารประเทศของรัฐบาลที่อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง และได้ขยายตัวเป็นวงกว้างยิ่งขึ้น โดยกลุ่ม[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] (พธม.) ที่มี[[สนธิ ลิ้มทองกุล]]เป็นผู้นำ แต่หลังจากนั้นก็มีกลุ่มคนที่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีออกมาเคลื่อนไหวเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดความเห็นต่างทางการเมือง ต่อมาเกิด[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549‎|รัฐประหาร]] ส่งผลให้ฝ่ายทหารในนาม[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] (ภายหลังเปลี่ยนเป็น[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ]] (คมช.)) นำโดยพลเอก[[สนธิ บุญยรัตกลิน]] เถลิงอำนาจและเข้ามามีบทบาททางการเมือง
 
ต่อมาคณะรัฐประหารได้แต่งตั้ง[[รัฐบาลชั่วคราว หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|รัฐบาลชั่วคราว]] ซึ่งมีพลเอก [[สุรยุทธ์ จุลานนท์]] เป็น[[รายนามนายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] ระหว่างปี 2549-2550 ซึ่งในช่วงดังกล่าว มีกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารหลายกลุ่ม กลุ่มที่มีชื่อเสียง คือ [[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน|กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ]] (นปกนปช.) โดยกล่าวหาว่า พลเอก [[เปรม ติณสูลานนท์]] ประธานองคมนตรี อยู่เบื้องหลังรัฐประหาร และต้องการขับไล่ คมช. และรัฐบาล
 
ต่อมา [[พรรคพลังประชาชน]] ซึ่งถูกมองว่าเกี่ยวข้องทางการเมืองกับทักษิณ ชินวัตร ชนะ[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550|การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550]] และจัดตั้งรัฐบาลผสม ทำให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[[การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551|กลับมาชุมนุมอีกครั้ง]] ในเดือนธันวาคม 2551 ได้[[การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551|บุกยึดท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ]]เพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรี[[สมัคร สุนทรเวช]] และ[[สมชาย วงศ์สวัสดิ์]] ออกจากตำแหน่ง ก่อนยุติการชุมนุมเมื่อ[[ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)|ศาลรัฐธรรมนูญ]][[คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551|ยุบพรรคพลังประชาชน]]