ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาไทลื้อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 182:
ภาษาไทลื้อในตระกูลเผ่าไทลื้อทั้ง 5 เผ่า นั้นแบ่งสำเนียงภาษาการพูดออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ โดยอาศัยสภาพทางภูมิศาสตร์ของ[[แม่น้ำโขง|แม่น้ำล้านจ้าง]](โขง) เป็นตัวแบ่ง สำเนียงแรก คือ สำเนียงเชียงรุ่ง และสำเนียงเมืองล้า
 
1. สำเนียง[[เชียงรุ่ง]] หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ สำเนียง[[คนยอง]]ถือว่าเป็นสำเนียงภาษากลางของชาวไทลื้อ คือเป็นภาษาของชาวเชียงรุ่ง เป็นสำเนียงที่พูดช้าและฟังดูสุภาพ มักมีคำว่า "เจ้า" ต่อท้ายเหมือนคนล้านนา สำเนียงนี้เป็นสำเนียงที่ใช้ในบริเวณ[[สิบสองปันนา]]ตอนกลาง และตะวันตกของสิบสองปันนา ครอบคลุ่มถึง[[รัฐฉาน]] [[ประเทศพม่า]] ประกอบด้วย ([[เมืองยอง]], [[เมืองหลวย]], [[เมืองยู้]], [[เมืองเชียงลาบ]], [[เมืองเลน]], [[เมืองพะยาก]] และ[[เมืองไฮ]]) เลยมาถึงประเทศลาวแถบเมืองสิงห์ (เชียงทอง), เชียงแขง, เวียงภูคา, [[แขวงบ่อแก้ว|บ่อแก้ว]], [[แขวงไซยะบูลีไชยบุรี|ไซยะบูลีไชยบุรี]], เชียงฮ่อน, เชียงลม และหงสา โดยมีสำเนียงจะออกกลางๆ การผันสำเนียงเสียง จะอยู่ในระดับกลางๆ ขึ้นๆ ลงๆ ค่อนข้างน้อย แต่มักตัดคำพูดควบกันให้สั้นลง และมักเอื้อนเสียงพูด หรือลากเสียงยาว ภาษาชาวไทลื้อกลุ่มนี้พูดกันมากใน[[จังหวัดลำพูน]] [[เชียงใหม่]] [[ลำปาง]] [[แพร่]] [[เชียงราย]] [[น่าน]] (นับแต่ [[ตำบลยม]] [[อำเภอท่าวังผา]], [[อำเภอปัว]] ขึ้นไปจนถึงเมืองเงิน และ[[หลวงพระบาง]], [[เมืองสิงห์]] ของ[[ประเทศลาว]])
 
2. สำเนียงภาษาไทลื้อกลุ่มเมืองล้า ได้รับอิทธิพลสำเนียงมาจาก[[ภาษาลาว]] หรือ[[ภาษาพวน]] มาค่อนข้างมาก สำเนียงการพูดออกไปทางภาษาลาว การผันสำเนียงขึ้นลงค่อนข้างเร็ว แต่ต่างกันที่สำเนียงพูดยังคงเป็นภาษาลื้อที่ไม่มี สระ อัว อัวะ เอีย สำเนียงการพูดนี้จะพูดในกลุ่มของชาวไทลื้อ[[เมืองหล้า]] [[เมืองพง]] [[เมืองมาง]] [[เมืองเชียงบาน]] โดยในประเทศไทย ภาษากลุ่มนี้จะพูดใน [[อำเภอเชียงม่วน]] [[อำเภอเชียงคำ]] [[จังหวัดพะเยา]], [[อำเภอสองแคว]] [[อำเภอท่าวังผา]] (เฉพาะ[[ตำบลป่าคา]] และ[[ตำบลยอด]] อำเภอสองแคว) [[จังหวัดน่าน]])