ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ณ ราชสีมา (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 93:
เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) ได้เริ่มรับราชการ ณ เมือง[[นครราชสีมา]] ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 โดยช่วยงานราชการ พระยานครราชสีมา (เที่ยง ณ ราชสีมา) บุตรของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ซึ่งมีศักดฺืเป็นพี่ชายบุญธรรม ต่อมาในปลายรัชกาลที่ 2 จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมาสืบแทน และได้รับบรรดาศักดิ์สุดท้ายเป็น "เจ้าพระยากำแหงสงคราม รามภักดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ เจ้าเมืองนครราชสีมา"
 
=== ปราบเจ้าเมืองขุขันธ์ เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ และเจ้าราชวงศ์แห่งจำปาสักจำปาศักดิ์ ===
ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พ.ศ. 2369 พระยาไกรสงคราม เจ้าเมืองขุขันธ์ วิวาทกับน้องชาย มีพระราชโองการให้เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินอินทร์) กับพระยาปลัดเมืองนครราชสีมา ยกกำลังไปปราบปรามให้สงบ โดยให้หลวงยกกระบัตรอยู่รักษาเมือง แต่ในที่สุดกลับต้องทำการรบติดพันกับพระยาไกรสงคราม ที่เมืองขุขันธ์ ทำให้[[เจ้าอนุวงศ์]] นำทัพลาวเวียงจันทน์ เข้ายึดเมืองนครราชสีมาโดยง่าย
เมื่อความทราบถึงเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินอินทร์) จึงให้พระยาปลัดเมืองนครราชสีมากลับเข้าเมืองนครราชสีมาเพื่อควบคุมครัวเรือนนครราชสีมาให้รวมกันติดที่บ้านปราสาท ในขณะที่ชาวเมืองนครราชสีมา ได้ถูกกวาดต้อนไปกับกองทัพเวียงจันทน์ จากนั้นพระยาปลัดเมืองนครราชสีมา คุณหญิงโมภรรยาปลัดเมือง หลวงยกกระบัตร พระณรงค์สงคราม ได้ร่วมกันนำชาวเมืองนครราชสีมาเข้าต่อสู้กับกองทัพลาวจนได้ชัยชนะในเบื้องต้นจนเกิดเป็นวีรกรรม ณ ทุ่งสำริด และกองกำลังชาวเมืองนครราชสีมาได้ตีทัพลาวที่เจ้าอนุวงศ์ส่งมาช่วยแตกพ่ายไปอีกครั้งหนึ่ง จากวีรกรรมครั้งนี้ คุณหญิงโมได้รับพระราชทานนามเป็น [[ท้าวสุรนารี]]
ในเวลาเดียวกันเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินอินทร์) ยังรบติดพันกับกองทัพเมืองขุขันธ์และกองทัพลาว จากนั้นได้ถอยอ้อมมาทางเมืองเสียมราฐ และเข้าจังหวัดปราจีนบุรีจึงบรรจบกับกองทัพไทยอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อเจ้าอนุวงศ์รู้ข่าวกองทัพพระนครจึงสั่งถอยทัพออกจากเมืองนครราชสีมาและสั่งทำลายกำแพงเมืองนครราชสีมาสองด้าน พระยาไกรสงครามได้ถอยทัพไปด้วยแต่ในที่สุดถูกเจ้าอนุวงศ์สั่งประหารเนื่องจากไม่สามารถจับเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้ตามแผนที่วางไว้
 
พ.ศ. 2370 [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ]] ได้ชุมนุมทัพที่นครราชสีมา เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินอินทร์) ได้กลับเข้าเมืองนครราชสีมาไปเฝ้า มีรับสั่งให้คุมทัพเมืองนครราชสีมา และหัวเมืองไปช่วยกองทัพพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ต่อมาคือเจ้าพระยาบดินทรเดชา) ในการปราบเจ้าราชวศ์ราชวงศ์ที่เมืองจำปาสักจำปาศักดิ์ หลังจากนั้นให้ไปร่วมตีเมือง[[เวียงจันทน์ ]] ในครั้งนั้นได้พบครัวเมืองปักธงชัยกลับคืนมาจากการถูกกวาดต้อนไปบริเวณเมืองสกลนคร เมื่อเสร็จสิ้นการปราบกบฏเวียงจันทน์แล้วเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินอินทร์) ได้นำชาวเมืองนครราชสีมาบูรณะเมืองนครราชสีมาให้กลับคืนมาดีเหมือนแต่ก่อน ในครั้งนั้นกองทัพไทยได้ร่วมกันสร้างวัดสามัคคี ในบริเวณนอกกำแพงเมืองด้านเหนือ
 
=== เป็นแม่ทัพในสงครามกัมพูชา-ญวน ===
บรรทัด 105:
 
=== ถวายช้างเผือก ===
พ.ศ. 2377 เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) ได้น้อมเกล้าฯ ถวายช้างเผือกที่พบในเขตเมืองนางรอง [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อช้างนั้นว่า "พระยามงคลนาคินทร์ อินทรไอยราววรรณ พรรณสีสังข์สารเศวต กมเลศรังสฤษฎิ์ อิศวรรังรักษ์ จักรกฤษณราชรังสัน มหันตมหาวัฒนาคุณ วิบุลยลักษณเลิศฟ้า"<ref>อ้างแล้ว, หน้า 67</ref> ในปี พ.ศ. 2387 ได้น้อมเกล้าฯ ถวายช้างพลายที่มีคชลักษณ์ดีอีก 3 เชือก (พลายบาน พลายเยียว และ พลายแลม) และในปี พ.ศ. 2388 ก่อนอสัญกรรม ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย ช้างพลายที่มีคชลักษณ์ดีอีก 2 เชือก (พลายอุเทน และ พลายสาร)<ref>อ้างแล้ว, หน้า 69</ref>
 
==เชื้อสาย/สกุล==