ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หนังสือพิมพ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 42:
สมัย[[รัชกาลที่ 6]] กิจการหนังสือพิมพ์ก้าวหน้ามาก หนังสือพิมพ์สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและเสนอแนะความคิดเห็นได้อย่างเสรีในเรื่องการบริหารประเทศด้านต่าง ๆ มีทั้งหนังสือพิมพ์ภาษาไทยเช่น จีนโนสยามวารศัพท์ กรุงเทพเดลิเมล์ หนังสือพิมพ์ไืทย ฯลฯ หรือหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษเช่น The Bangkok Times ต่อเนื่องมาถึง[[รัชกาลที่ 7]] มีหนังสือพิมพ์ 55 ฉบับ โดยฉบับที่มีชื่อเสียง และน่าเชื่อถือที่สุดคือ [[ประชาชาติรายวัน]] ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้อ่านอย่างสูง โดยเฉพาะปัญญาชน ที่ตื่นตัวทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
 
สมัย[[รัชกาลที่ 8]] ต่อเนื่องถึงรัชกาลปัจจุบันที่ 9 หนังสือพิมพ์เริ่มถูกควบคุมโดย[[คณะรัฐมนตรีไทย|รัฐบาล]] และเมื่อปี [[พ.ศ. 2501]] เกิดรัฐประหาร นำโดย [[จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]] หนังสือพิมพ์ตกไปอยู่ภายใต้การควบคุมของ[[ประกาศคณะปฏิวัติ]] ในยุคนี้มีหนังสือพิมพ์ 31 ฉบับ เช่น ''เกียรติศักดิ์'' (2495-2513), ''[[เดลินิวส์]]'' (2507-ปัจจุบัน), ''เดลิเมล์'' (2493-2501), ''[[ไทยรัฐ]]'' (2492-ปัจจุบัน), ''เสียงอ่างทอง'' (2500-2507), ''ไทยเดลี่'' (2512-), ''[[แนวหน้า]]'' (2495-2506)(2523-ปัจจุบัน), ''ประชาธิปไตย'' (2502-), ''[[พิมพ์ไทย]]'' (2489-ปัจจุบัน), ''สยามนิกร'' (2481-2512), ''สารเสรี'' (2497-2508), ''[[สยามรัฐ]]'' (2493-ปัจจุบัน), ''อาณาจักรไทย'' (2501-2504) เป็นต้น
 
== ดูเพิ่ม ==