ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือโคร่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
จำนวนเสือโคร่ง3,890ตัว อ้างอิงจากเว็ปกองทุนสัตว์ป่าโลกWWF
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 42:
}}
 
'''เสือโคร่ง''' หรือ '''เสือลายพาดกลอน''' ({{lang-en|Tiger}}; {{lang-zh|虎}}; {{lang-ja|トラ}}; {{lang-es|Tigre}}) เป็น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม]] [[อันดับสัตว์กินเนื้อ]] มี[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า ''Panthera tigris'' ในวงศ์ [[Felidae]] จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดที่สุดในวงศ์นี้ และเป็น[[เสือ]][[สปีชีส์|ชนิด]]ที่ใหญ่ที่สุดด้วย
 
== กายภาพและลักษณะ ==
บรรทัด 58:
 
== การแพร่กระจายพันธุ์ ==
เสือโคร่งกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปใน[[ทวีปเอเชีย]] ตั้งแต่[[เอเชียตะวันออก]]จนถึง[[ตะวันออกกลาง]] เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้อยู่ในภูมิประเทศต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แม้แต่ในพื้นที่หนาวเย็นอย่าง [[ไซบีเรีย]] หรือแห้งแล้งเป็น[[ทะเลทราย]] อีกทั้งยังอยู่ได้ตาม[[เกาะ]]แก่งกลาง[[ทะเล]]อีกด้วย หากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีรายงานว่า เสือโคร่งสามารถว่ายน้ำข้ามไปมาระหว่างเกาะต่าง ๆ ได้ด้วย
 
ปัจจุบัน ปริมาณเสือโคร่งในธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่ว[[โลก]]มีจำนวน 3,890 ตัว กระจายทั่วไปใน 13 ประเทศของทวีปเอเชีย ได้แก่ บังกลาเทศ, ภูฏาน, กัมพูชา , จีน , อินเดีย, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, รัสเซีย, เวียดนาม และไทย<ref name="เสือ">{{cite web|url=http://www.thairath.co.th/content/514459|title=29 ก.ค.วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก คืน "เสือ" ให้ "ป่า" |date=28 July 2015|accessdate=29 July 2015|publisher=ไทยรัฐ}}</ref> สำหรับในประเทศไทยมีราว 250 ตัว ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์อยู่ที่[[อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่]] และผืนป่าตะวันตก เช่น [[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร]], [[อุทยานแห่งชาติแม่วงก์]], [[อุทยานแห่งชาติคลองลาน]]<ref>''ถอนพิษ (รีรัน)'', รายการทางบลูสกายแชนแนล โดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, อัญชลีพร กุสุมภ์ และวิทเยนทร์ มุตตามระ: อาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2556</ref> รวมถึง[[อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน]] และ[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา]] ที่มีปริมาณรองลงมา ส่วนป่าแถบอื่นพบน้อยมาก<ref name="เสือ"/>