ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งูแมวเซา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 40:
[[ภาพ:Daboia-siamensis-siamese-russells-viper-in-habitat.jpg|thumb|left|งูแมวเซาในประเทศไทย]]
== พฤติกรรมและความร้ายแรงของพิษ ==
มีพฤติกรรมชอบอยู่ตามที่ราบแห้ง ๆ เชิงเขาที่เป็นดินปนทราย ตามที่ดอน หรือซ่อนตัวในซอกหิน โพรงดิน ใต้กอหญ้าใหญ่ ๆ ไม่ชอบย้ายที่อยู่บ่อย ๆ ปกติไม่เลื้อยขึ้นต้นไม้ ออกหากินไม่ไกลจากที่อยู่ เป็นงูที่มีความเชื่องช้าไม่ปราดเปรียว มีอุปนิสัยดุ เมื่อถูกรบกวนจะส่งเสียงขู่ ชอบความเย็น แต่ไม่ชอบน้ำ มักออกหากินในเวลากลางคืน แต่ในสถานที่ที่มีความเย็น ก็อาจออกหากินในเวลากลางวันด้วย สำหรับในประเทศไทย พบได้ชุกชุมที่สุดคือแถบจังหวัดใน[[ภาคกลาง (ประเทศไทย)|ภาคกลาง]]และ[[ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)|ภาคตะวันออก]]<ref>{{cite news|url=http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakV6TVRJMU5nPT0=&sectionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE15MHhNaTB4TXc9PQ==|work=ข่าวสด|first=น้าชาติ|last=ประชาชื่น|date=2013-12-13|title=งูแมวเซา}}</ref> กินอาหารได้แก่ สัตว์ขนาดเล็กจำพวกหนูหรือสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัว ครั้งละประมาณ 20–30 ตัว (สูงสุด 63 ตัว) โดยจะผสมพันธุ์ช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม และไปออกลูกช่วงฤดูร้อน ลูกงูแรกเกิดมีน้ำหนัก 7.2–14.4 กรัม และความยาวโดยเฉลี่ย 24–30 เซนติเมตร<ref>{{cite web|url=http://www.saovabha.com/th/snakefarm.asp|title= งูแมวเซา|work=สถานเสาวภา}}</ref>
 
เป็นงูที่มีพิษต่อผลการแข็งตัวของเลือด [[w:Factor X|Factor X]] และ [[w:Factor V|Factor V]] โดยตรง โดยจะไปกระตุ้น [[w:prothrombin|prothrombin]] เป็น [[w:thrombin|thrombin]] ซึ่งทำให้เกิดการสลาย[[w:fibrinogen|ไฟบริโนเจน]]เป็น[[w:fibrin|ไฟบริน]]ในกระแสเลือด จึงทำให้เกิดเลือดออกง่าย เนื่องจาก[[w:Coagulation factor|องค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือด]] ถูกใช้หมดไป นอกจากนี้แล้วพิษของงูแมวเซายังมีผลต่อ[[ไต]] ทำให้เกิดอาการ[[ไตวาย]]ได้ และยังมีฤทธิ์ในการทำลายเซลล์[[เม็ดเลือดแดง]]โดยตรง<ref>{{cite web|url=http://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:DRpi_BGq9MoJ:www.snakru.research.chula.ac.th/acrobat/snake.pdf+%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%87%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B2&hl=th&gl=th&pid=bl&srcid=ADGEESjwVi5JkwPHnY-83ryKm-xJQUcD5SKFg3OHNKtG90ZipQhICQMzICHHLghZIOzb-8VzSTABIelpz9APL-5N1jAJQVSNflJclM51oCuZZO8q3AePmMx1BaqKY1TX1i4oMoZjfdxO&sig=AHIEtbS1U-CKYdLoEg_TSGpfH0XFL3fuww|title= แนวทางการดูแลผู้ช่วยถูกงูพิษกัด|work=สถาบันวิจัยงูจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย}}</ref> โดยอาการของผู้ที่ถูกกัดจะแสดงออกดังนี้ คือ มีอาการปวดและมีอาการบวมมาก อาการบวมเกิดเกิดขึ้นได้ภายใน 2–3 นาทีภายหลังถูกกัด มักจะมีรอยเขี้ยว 2 จุดซึ่งมีเลือดไหลออกตลอดเวลา และบริเวณรอบแผลจะมีสีคล้ำบริเวณโดยรอบเขี้ยวจะบวมอย่างชัดเจนภายใน 15-20 นาที และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งบริเวณที่ถูกกัดบวมหมดภายในเวลา 12–24 ชั่วโมง และอาจเริ่มพองและมีเลือดออก ผู้ที่ได้รับพิษมากจะมีอาการของเลือดออกง่ายภายในเวลา 2–3 ชั่วโมง เช่น เลือดออกเป็นจ้ำ ๆ บริเวณผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน ไอมีเสมหะปนเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด เลือดออกจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่ง[[ความดันโลหิตต่ำ]] ไตวายและเสียชีวิตลงในที่สุด <ref>{{cite web|url=http://guru.sanook.com/answer/question/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%3F/|title= อาการเมื่อถูกงูแมวเซากัดเป็นอย่างไร?|work=กูรูสนุกดอตคอม}}</ref>