ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชอาณาจักรอิตาลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6673860 สร้างโดย 125.25.81.158 (พูดคุย)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 90:
| flag_s5 = Flag of Italy.svg
}}
'''ราชอาณาจักรอิตาลี''' ({{lang-it|Regno d'Italia}}; ''เรโญดิตาเลีย'') เป็นราชอาณาจักรบน[[คาบสมุทรอิตาลี]] ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นใน [[ค.ศ. 1861]] จาก[[การรวมชาติอิตาลี|การรวมตัว]]กันของรัฐอิตาลีหลาย ๆ รัฐภายใต้การนำของ[[ราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย]] และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี [[ค.ศ. 1946]] เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มี[[การลงประชามติ]]ให้มีการเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ความเป็นสาธารณรัฐ
 
อิตาลีได้ประกาศสงครามต่อออสเตรียในปี ค.ศ. 1866 โดยมี[[ปรัสเซีย]]เป็นพันธมิตรร่วม แม้ว่าอิตาลีจะทำการรบล้มเหลว แต่ชัยชนะของปรัสเซียก็ได้ทำให้อิตาลีได้สิทธิครอบครองเวนิส ต่อมาอิตาลีได้ยกทัพเข้ายึดกรุงโรมในปี ค.ศ. 1870 เป็นการปิดฉากอำนาจการปกครองทางโลกของ[[สมเด็จพระสันตะปาปา]]ที่มามีมาต่อเนื่องนับพันปี อิตาลีได้ตอบรับข้อเสนอของ[[ออทโท ฟอน บิสมาร์ค]] ในการเข้าร่วมกลุ่มไตรพันธมิตรกับเยอรมนีและออสเตรียในปี ค.ศ. 1892 หลังจากที่อิตาลีเกิดความไม่พอใจในการขยายอาณานิคมของฝรั่งเศส อย่างไรก็ดี แม้ว่าไมตรีระหว่างอิตาลีกับเยอรมนีจะเป็นไปอย่างฉันมิตรอย่างยิ่ง แต่ความเป็นพันธมิตรกับออสเตรียกลับอยู่ในลักษณะเป็นทางการเท่านั้น ดังนั้นในปี ค.ศ. 1915 อิตาลีจึงได้ตอบรับคำเชิญของสหราชอาณาจักรในการเข้าร่วม[[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1]] ชัยชนะในมหาสงครามครั้งนั้นได้ทำให้อิตาลีก้าวขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจ โดยมีที่นั่งถาวรอยู่ในสภา[[สันนิบาตชาติ]]
บรรทัด 326:
ในปี ค.ศ. 1935 มุสโสลินีเชื่อว่าถึงเวลาอันสมควรแล้วที่อิตาลีจะทำการบุก[[จักรวรรดิเอธิโอเปีย|เอธิโอเปีย]] (หรือรู้จักกันในนามอะบิสซิเนีย) และผนวกเข้ามาเป็นอาณานิคมของตน ส่งผลให้เกิด[[สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง]]ขึ้น อิตาลีบุกเอธิโอเปียผ่านอาณานิคมเอริเทรียและโซมาลีแลนด์ของตน พร้อมทั้งกระทำการเหี้ยมโหดต่อชาวเอธิโอเปีย เช่น การโปรย[[สงครามเคมี|สารพิษเคมี]]ทางอากาศใส่ทหารแนวหน้าฝ่ายเอธิโอเปีย จนเอธิโอเปียยอมแพ้ในปี ค.ศ. 1936 อิตาลีจึงสามารถพิชิตเอาเอธิโอเปียมาไว้ในครอบครองได้สำเร็จหลังจากที่ล้มเหลวในความพยายามช่วงยุค ค.ศ. 1880 ต่อมา[[พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี|พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3]] จึงอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์เอธิโอเปียและสถาปนาตนขึ้นเป็น[[จักรพรรดิแห่งเอธิโอเปีย]] แต่ผลที่ตามมาในเวทีนานาชาติคือการที่อิตาลีถูกโดดเดี่ยวในที่ประชุม[[สันนิบาตชาติ]] ด้านฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรก็รู้สึกสูญสิ้นความไว้วางใจในตัวมุสโสลินีในทันที มีเพียงชาติเดียวที่คอยหนุนหลังอิตาลีในเวลานั้นคือ[[นาซีเยอรมัน]] ภายหลังจากที่ถูกประณามโดยสันนิบาตชาติ ที่ประชุมใหญ่ฟาสซิสต์อิตาลีจึงมีมติให้อิตาลีประกาศถอนตัวจากสันนิบาตชาติในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1937 และมุสโสลินีกล่าวเยาะเย้ยสันนิบาติชาติว่าเป็นเพียงแค่ "วิหารที่ใกล้จะถล่ม"<ref>Gilbert, Martin (introduction). 1989. The Illustrated London News: Marching to War, 1933-1939. Toronto, Canada: Doubleday Canada Ltd. Pp 137</ref>
 
หลังจากถูกกดดันโดยนาซีเยอรมันให้ส่งเสริมลัทธิฟาสซิสต์ อิตาลีจึงหันความสนใจออกจากนโยบายจักรวรรดินิยมที่ใช้เผยแพร่วัฒนธรรมอิตาลีในอาณานิคมและหันมาส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานของชาวอิตาลีในอาณานิคมแทน โดยกล่าวว่า "สร้างสรรค์ขึ้น ณ ใจกลางผืนทวีปแอฟริกา, นิวเคลียสอันทรงอำนาจของชนผิวขาวด้วยกันแข็งแกร่งมากพอที่จะดึงดูดประชากรเหล่านั้นภายในวงจรเศรษฐกิจและอารยธรรมโรมันฟาสซิสต์ของเรา"<ref>Sarti, Roland. 1974. ''The Ax Within: Italian Fascism in Action.'' New York: New Viewpoints. p189.</ref> การปกครองของฟาสซิสต์ในอาณานิคมของตนนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค การปกครองใน[[แอฟริกาตะวันออกของอิตาลี]] (''อาฟริกาโอรีเอนตาเลอิตาเลีย'') อาณานิคมซึ่งประกอบไปด้วย เอธิโอเปีย, เอริเทรีย และโซมาลีแลนด์ของอิตาลี นั้นเข็มงวดรุนแรงกับชนพื้นเมืองอันเป็นผลมาจากนโยบายฟาสซิสต์ที่มุ่งเน้นทำลายวัฒนธรรมพื้นเมือง ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1937 จอมพลโรดัลโฟ กราซียานิ ออกคำสั่งให้ทหารอิตาลีปล้นสะดมชาวพื้นเมืองที่ตั้งรกรากอยู่ในกรุง[[แอดอาดดิสอาบาบา]] ส่งผลให้ชาวเอธิโอเปียถูกฆ่าและบ้านเรือนของพวกเขาถูกเผาทำลายลงมากมาย<ref>Sarti, p191.</ref> ภายหลังการเข้ายึกครองเอธิโอเปีย พรรคฟาสซิสต์อนุมัติให้มีการแบ่งแยกเชื้อชาติเกิดขึ้นเพื่อลดจำนวนลูกหลานที่มีเชื้อชาติผสมในอาณานิคมของตน โดยอ้างว่าลูกหลานเหล่านี้จะทำให้เชื้อชาติอิตาลี "แปดเปื้อน"<ref name="Sarti">Sarti, p190.</ref> การสมรสและการร่วมเพศระหว่างชาวอิตาลีกับชาวแอฟริกันพื้นเมืองถือเป็นความผิดทางอาญา เมื่อฟาสซิสต์บัญญติกฎหมายฉบับนี้ขึ้นในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1937 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งถึงห้าปีกับชาวอิตาลีที่ถูกจับเนื่องจากข้อหานี้<ref name="Sarti"/> แต่กลับไม่มีโทษใดๆ ต่อชาวแอฟริกันเนื่องจากรัฐบาลมีความเห็นว่าเป็นความผิดของชาวอิตาลีเองที่ทำให้เชื้อชาติของพวกเขาต้องสูญเสียเกียรติภูมิ<ref name="Sarti"/> แม้ว่าในโฆษณาชวนเชื่อบางตัวของอิตาลีจะมีการใช้ภาษาเหยียดเชื้อชาติบ้าง แต่รัฐบาลฟาสซิสต์ยอมให้ชาวแอฟริกันเข้าร่วมกองทัพอาณานิคมด้วยการเกณฑ์ทหาร ซึ่งมีปรากฏการเข้าร่วมกองทัพของชาวแอฟริกันในโฆษณาชวนเชื่อของฟาสซิสต์ด้วย[http://www.germaniainternational.com/images/bookgijuinit13.jpg][http://www.germaniainternational.com/images/bookgijuinit14.jpg] ใน[[อิตาเลียนลิเบีย|ลิเบียของอิตาลี]] มุสโสลินีลดบทบาทนโยบายฟาสซิสต์ลงเพื่อทำให้ผู้นำชาวอาหรับที่นี่ไว้วางใจในรัฐบาลของเขา เช่น เสรีภาพส่วนบุคคล, สิทธิ์ในการครอบครองที่อยู่อาศัยและทรัพย์สิน, สิทธิ์ในการเข้าร่วมกองทัพหรือราชการ และสิทธิ์ในการแสวงหาอาชีพหรือการจ้างงานอย่างเสรี ความอิสระทั้งหลายเหล่านี้รัฐบาลอิตาลีรับประกันให้กับชาวลิเบียมาตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1934<ref name="Sarti"/> ต่อมาในการเยือนลิเบียครั้งสำคัญของมุสโสลินีในปี ค.ศ. 1937 การโฆษณาชวนเชื่อครั้งสำคัญได้เกิดขึ้นในวันที่ 18 มีนาคม เมื่อมุสโสลินีถ่ายรูปกับบุคคลสำคัญชาวอาหรับซึ่งกำลังมอบ ''ดาบแห่งมุสลิม'' อันทรงเกียรติให้แก่เขา (ซึ่งแท้ที่จริงแล้วดาบนี้ถูกทำขึ้นในฟลอเรนซ์) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ให้เห็นว่าเขาคือผู้พิทักษ์ชาวมุสลิมอาหรับ ณ ที่แห่งนี้<ref>Sarti, p194.</ref> ในปี ค.ศ. 1939 กฎหมายฉบับหนึ่งถูกผ่านโดยรัฐสภาอนุญาตให้ชาวมุสลิมเข้าร่วมกับพรรคฟาสซิสต์ได้ และพรรคสันนิบาตมุสลิมแห่งลิคเตอร์ในลิเบียได้ (''อัสโซชาซีโอนมูซุลมานาเดลลิตโตริโอ'') และในปีเดียวกันนั้นได้มีการปฏิรูปเกิดขึ้นทำให้ลิเบียมีกองทัพของตนเองโดยเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอิตาลี<ref>Sarti, p196.</ref>
 
นอกจากนี้รัฐบาลฟาสซิสต์ยังมีนโยบายข้องเกี่ยวกับการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศยุโรป ในปี ค.ศ. 1923 ทหารอิตาลีเข้ายึดเกาะคอร์ฟูของกรีซ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการยึดประเทศ[[ราชอาณาจักรกรีซ|กรีซ]]ของรัฐบาลฟาสซิสต์ อย่างไรก็ดีในท้ายที่สุดเกาะคอร์ฟูก็ถูกส่งคืนแก่กรีซอีกครั้ง ทำให้กรีซกับอีตาลีสามารถหลีกเลี่ยงการทำสงครามต่อกันไปได้ ในปี ค.ศ. 1925 อิตาลีขู่เข็ญให้แอลเบเนียเข้ามาอยู่เป็น[[รัฐในอารักขา]]โดย ''พฤตินัย'' ซึ่งทำให้อิตาลีเผชิญหน้ากับอำนาจอธิปไตยของกรีซได้ง่ายขึ้น ทั้งที่ประชาชนชาวกรีกบนเกาะคอร์ฟูโดยเฉพาะคนหนุ่มสาวจะต่อต้านการเข้ายึดครองเกาะของอิตาลีอย่างหนัก เกาะคอร์ฟูมีความสำคัญอย่างมากต่อแนวคิดจักรวรรดินิยมและชาตินิยมอิตาลีจากการที่เกาะนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของ[[สาธารณรัฐเวนิส]] ซึ่งเวนิสนี่เองที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวัฒนธรรมและประติมากรรมอิตาลีในเวลาต่อมา ด้านความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสดำเนินเป็นไปอย่างผสมผสาน ความตั้งใจที่แท้จริงมาโดยตลอดของอิตาลีคือการทำสงครามกับฝรั่งเศสเพื่อเรียกคืนดินแดนที่มีชาวอิตาลีอาศัยอยู่<ref name="Smith_3">Smith. 1983. p172</ref> แต่ด้วยการก้าวขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อิตาลีหันมากังวลในเรื่องเอกราชของออสเตรียและภัยคุกคามจากเยอรมนีที่อาจมีต่ออิตาลีหากเรียกคืนดินแดน[[รัฐทิโรล|ทิโรล]]จากออสเตรีย จากความกังวลเกี่ยวกับการแผ่ขยายอำนาจของเยอรมนีนี้เอง ทำให้อิตาลีเข้าร่วม[[แนวสเตรซา]]กับฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรในการต้านทานเยอรมนี โดยแนวร่วมนี้ดำเนินไปเพียงปีเดียวระหว่าง ค.ศ. 1935 - ค.ศ. 1936 รัฐบาลฟาสซิสต์ดำเนินความสัมพันธ์ต่อยูโกสลาเวียในเชิงลบเพราะต้องการที่จะให้ยูโกสลาเวียล่มสลายซึ่งจะเปิดทางให้อิตาลีขยายอาณาเขตและเสริมสร้างอำนาจของตนเพิ่มเติม อิตาลีทำการ[[จารกรรม]]ในยูโกสลาเวียหลังจากที่ทางการยูโกสลาเวียตรวจพบเครือข่ายจารชนบ่อยครั้งในสถานทูตอิตาลี เช่นในครั้งปี ค.ศ. 1930<ref name="Smith_3"/> ก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 1929 รัฐบาลฟาสซิสต์ได้รับเอานักชาตินิยมสุดโต้งชาวโครเอเชียนามว่าอันเต พาเวลิช (Ante Pavelić) เข้าลี้ภัยทางการเมืองในอิตาลี ฟาสซิสต์ให้ความช่วยเหลือทางการเงินและการฝึกฝนทางการทหารให้แก่เขา เพื่อที่จะได้นำไปใช้สนับสนุนกองทหารฟาสซิสต์และกลุ่มก่อการร้ายที่ถูกตั้งขึ้นมาใหม่ของเขานามว่า กลุ่มการเคลื่อนไหวปฏิวัติโครเอเชีย (Ustaše) ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นกองกำลังสำคัญที่ปกครองเสรีรัฐโครเอเชีย สังหาร[[ชาวเซิร์บ]], [[ชาวยิว]] และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ มากมายในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]<ref>Glenny, Misha. Balkans: Nationalism, War and the Great Powers, 1804-1999. New York, USA: Penguin Books, 2001. Pp. 431</ref> ในปี ค.ศ. 1936 ที่สเปน พรรคฟาสซิสต์ได้เข้าทำการแทรกแซงกิจการภายในต่างประเทศครั้งสำคัญที่สุดก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง สาธารณรัฐสเปนถูกแยกออกจากกันด้วย[[สงครามกลางเมืองสเปน]]ระหว่างฝ่ายสาธารณรัฐสังคมนิยมผู้มีแนวคิดต่อต้านศาสนจักรกับฝ่ายชาตินิยมผู้มีศาสนจักรและกลุ่มกษัตริย์นิยมหนุนหลังภายใต้การนำของจอมพล[[ฟรานซิสโก ฟรังโก]] และกลุ่มฟาสซิสต์ของเขาที่มีนามว่า ''ฟาลังซ์'' (Falange) อิตาลีส่งเครื่องบินรบ, ยุทโธปกรณ์ และกองกำลังกว่า 60,000 นายไปช่วยฝ่ายชาตินิยมในสเปน สงครามครั้งนี้ยังช่วยฝึกฝนการทหารแก่กองทัพอิตาลีและยังช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์กับคริสตจักรคาทอลิก นอกจากนี้มันยังช่วยให้อิตาลีมีทางออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติกและความพยายามในนโยบาย ''มาเรนอสตรุม'' โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีสเปนคอยขัดขวาง นอกจากนี้ผู้จัดส่งยุทโธปกรณ์สนับสนุนหลักอีกรายคือนาซีเยอรมัน และในสงครามครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่กองทัพอิตาลีร่วมรบกับกองทัพเยอรมันตั้งแต่สิ้นสุดสงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย ในช่วงปี ค.ศ. 1860 ในช่วงปี ค.ศ. 1930 อิตาลีต่อเรือประจัญบานและเรือรบมากมายเพื่อเสริมอิทธิพลของตนเหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน