ผลต่างระหว่างรุ่นของ "น้ำส้มสายชู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Essig-1.jpg|thumb|[[Balsamic vinegar]] น้ำส้มสายชูแดงและขาว]]
[[ไฟล์:Vinegar infused with oregano.jpg|thumb|น้ำส้มสายชูที่บรรจุขวดรวมกับเครื่องเทศและสมุนไพร]]
 
'''น้ำส้มสายชู''' ({{lang-en|Vinegar}}) เป็นของเหลวที่ได้จากกระบวนการหมัก มีองค์ประกอบหลักคือกรดน้ำส้ม ([[กรดน้ำส้มอะซิติก]]) น้ำส้มสายชูทั่วไปมีความเข้มข้นของกรดตั้งแต่ 4% ถึง 8% โดยปริมาณ<ref name="autogenerated1">{{cite web|url=http://www.fda.gov/ICECI/ComplianceManuals/CompliancePolicyGuidanceManual/ucm074471.htm |title=FDA: Sec. 525.825 Vinegar, Definitions - Adulteration with Vinegar Eels (CPG 7109.22) |publisher=Fda.gov |date=2009-07-27 |accessdate=2010-03-15}}</ref> และอาจสูงถึง 18% สำหรับ [[pickling]]. น้ำส้มสายชูหมักโดยธรรมชาติยังมีกรดชนิดอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย เช่น [[tartaric acid]] และ [[citric acid]] มนุษย์รู้จักการผลิตและใช้น้ำส้มสายชูมาตั้งแต่สมัยโบราณ น้ำส้มสายชูเป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหารยุโรป อาหารเอเชีย และตำหรับอาหารอื่นๆ
 
คำว่า "vinegar" มาจาก[[ภาษาฝรั่งเศส]]โบราณ แปลว่าไวน์ที่เปรี้ยว
 
ส่วนคำว่า "น้ำส้มสายชู" ซึ่งเป็นคำไทยนั้น น่าจะมาจากหลักฐานที่ว่า <ref name="autogenerated2">{{cite web|url=http://www.elearneasy.com/Print_News.php?news_id=794 |title= นริศ วศินานนท์, น้ำส้มสายชูจีน 中国醋 |accessdate=2010-07-09}}</ref> เมื่อหลายพันปี ที่ผ่านมา ประเทศจีนเข้าใจเทคนิคของการหมักน้ำส้มสายชูจากธัญพืช ในหนังสือโจว หลี่ ประพันธ์โดยโจวกง เมื่อปี ค.ศ.1058 นั้นได้บันทึกถึงการหมักน้ำส้มสายชู และสมัยชุนชิวจ้านกว๋อ ปรากฏว่ามีโรงกลั่นน้ำส้มสายชูแล้ว หนังสือบันทึกวิชาการสำคัญ ฉีหมินเย่าซู(齊民要術) ได้กล่าวไว้ว่า “ชู่ 醋” คือน้ำส้มสายชูจีนในปัจจุบัน ในสมัยโบราณเขียนคำว่าชื่อ “ชู่” 醋 ได้อีกว่า “ 酢” หรือ “醯” และได้บันทึกขั้นตอนของการหมักน้ำส้มสายชูอย่างละเอียด นักประวัติศาสตร์นามว่าห่าวซู่โหว(郝樹候) ได้สำรวจที่ไท้เอวี๋ยน และพบว่าก่อนค.ศ.479 เมื่อตั้งเมืองจิ้นหยาง(晉陽)แล้วก็มีผู้คนทำน้ำส้มสายชูจีน คนถิ่นอื่นจึงเรียกคนซานซีว่า “เหล่าซีเอ๋อร์(老醯兒)” คำว่า “ซี-醯” ซึ่งเป็นเสียงพ้องของคำว่า “ชู่-醋” อักษรในสมัยโบราณ
 
การนำอักษรชู่โบราณมาเรียกคนซานซีนั้น สะท้อนถึงเวลาที่เก่าแก่และคนจำนวนมากในการหมักน้ำส้มสายชูจีน ในประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า ซานซีเป็นแหล่งกำเนิดของการหมักน้ำส้มสายชูของจีน และประวัติของการหมักน้ำส้มสายชูอย่างน้อยก็มีอายุมากกว่า 2,480 ปี
 
จึงเป็นที่น่าเข้าใจได้ว่า คำว่า "น้ำส้ม" มาจากรสชาติที่เปรี้ยว และคำว่า "สายชู" น่าจะมาจากแหล่งกำเนิดคือ "ซานซี" หรือ "ซานชู่" จนมาเป็นคำว่า "น้ำส้มซานชู่" หรือ "น้ำส้มสายชู" นั่นเองครับ
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
 
 
[[หมวดหมู่:การแพทย์แผนโบราณ]]
[[หมวดหมู่:สารเคมีในบ้าน]]
[[หมวดหมู่:เครื่องปรุงรส]]
[[หมวดหมู่:เคมี]]