ผู้ใช้นิรนาม
ไม่มีคำอธิบายอย่างย่อ
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
== การผลิตยางธรรมชาติ ==
แหล่งผลิต'''ยางธรรมชาติ'''ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คิดเป็นร้อยละ 90 ของแหล่งผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือมาจากแอฟริกากลาง<ref name="ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์และคุณสมบัติ">บุญธรรม นิธิอุทัย, ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์และคุณสมบัติ, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2530, หน้า 1-3</ref> ซึ่งพันธุ์ยางที่ผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พันธุ์ฮีเวียบราซิลเลียนซิส (Hevea brasiliensis) น้ำยางที่กรีดได้จากต้นจะเรียกว่า'''น้ำยางสด''' (field latex) น้ำยางที่ได้จากต้นยางมีลักษณะเป็นเม็ดยางเล็ก ๆ กระจายอยู่ในน้ำ (emulsion) มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาว มีสภาพเป็น[[คอลลอยด์]] มีปริมาณของแข็งประมาณร้อยละ 30-40 pH 6.5-7 น้ำยางมีความหนาแน่นประมาณ 0.975-0.980 กรัมต่อมิลลิลิตร มีความหนืด 12-15 เซนติพอยส์ ส่วนประกอบในน้ำยางสดแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ<ref name="การผลิตยางธรรมชาติ">เสาวณีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี, การผลิตยางธรรมชาติ, 2547, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</ref><ref name="ยาง ชนิด สมบัติ และการใช้งาน">พงษ์ธร แซ่อุย, ยาง : ชนิด สมบัติ และการใช้งาน, 2547, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
#ส่วนที่เป็นเนื้อยาง 35%
#ส่วนที่ไม่ใช่ยาง 65%
== โครงสร้างหลักที่มีผลกระทบต่อสมบัติของยางธรรมชาติ ==
ยางธรรมชาติมีชื่อทางเคมีคือ ซิส-1,4-พอลิไอโซพรีน (cis-1,4-polyisorene) เป็น[[โมเลกุล]]ที่ประกอบด้วย[[คาร์บอน]]และ[[ไฮโดรเจน]]ล้วน ทำให้มีสมบัติไม่ทนต่อน้ำมัน แต่เป็นฉนวนไฟฟ้าได้ดี ใน 1 โมเลกุลจะประกอบด้วยหน่วยของ[[ไอโซพรีน]] (C5H8) มาต่อกันเป็นสายโซ่ยาวแบบเส้นตรงใน 1 หน่วย[[ไอโซพรีน]]จะมีพันธะคู่และหมู่อัลฟาเมทธิลีนที่ว่องไวต่อการเกิดปฎิกิริยา ทำให้สามารถ[[วัลคาไนซ์]]ได้ด้วย[[กำมะถัน]] และทำให้ยางทำปฎิกิริยาได้ง่ายด้วย[[ออกซิเจน]]และ[[โอโซน]] ทำให้ยางเกิดการเสื่อมสภาพได้ง่ายเช่นเดียวกัน ดังนั้นการออกสูตรยางจำเป็นจะต้องมีแอนตี้ออกซิแดนท์และแอนตี้โอโซแนนท์ร่วมด้วย<ref name="ยาง : เทคนิคการออกสูตร"/> ยางธรรมชาติมีสายโซ่ที่เคลื่อนไหวหักงอไปมาได้ง่าย ทำให้ยางธรรมชาติคงสภาพยืดหยุ่นได้ดี มีอุณหภูมิของการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว ประมาณ -72°C สามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิต่ำมาก สำหรับความสม่ำเสมอในโครงสร้างโมเลกุล ทำให้ยางธรรมชาติสามารถตกผลึกได้เมื่อยืด การเกิดผลึกเนื่องจากการยืดตัวยังทำให้ยางคงรูปมีสมบัติเชิงกลดีขึ้น นั่นคือ ยางจะมีความทนทานต่อแรงดึง ความทนทานต่อการฉีกขาด และความต้านทานต่อการขัดถูสูงขึ้น ยางธรรมชาติมี[[น้ำหนักโมเลกุล]]เฉลี่ยสูง อยู่ในช่วง 200,000 ถึง 400,000 <ref name="ยาง ชนิด สมบัติ และการใช้งาน"
== ยางธรรมชาติประเภทอื่น ๆ (ปรับสภาพโครงสร้าง)==
*[[ยางผง]]<ref name="การผลิตยางธรรมชาติ"/> (Powder Rubber) : ยางผง เป็นยางที่ผลิตออกมาในลักษณะที่เป็นเม็ด เพื่อให้สะดวกในการใช้งานกล่าวคือสามารถใช้งานในลักษณะการผลิตแบบต่อเนื่องได้และสามารถใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการบดหรือตัดยาง
*ยางธรรมชาติสกัดโปรตีน<ref name="การผลิตยางธรรมชาติ"/> (DPNR) : ยางธรรมชาติสกัด[[โปรตีน]]เป็นยางที่มีการดัดแปลงสภาพของยาง เพื่อให้มีปริมาณโปรตีนในยางต่ำซึ่งจะเป็นการลดปริมาณ[[ไนโตรเจน]]และปริมาณเถ้าในยาง เนื่องจากการที่ยางมี[[โปรตีน]]ในยาง (ร้อยละ 1) ทำให้ยางเกิด[[การวัลคาไนซ์]]เร็ว สมบัติบางประการของผลิตภัณฑ์ไม่ดี ไม่สามารถนำมาใช้งานในด้านวิศวกรรมได้ เนื่องจากสมบัติความทนทานต่อแรงกดหรือแรงกระแทกต่ำ และอาจมีการเกิดอาการแพ้โปรตีนในผลิตภัณฑ์ที่มีการสัมผัสโดยตรง เช่น ถุงมือ ทำให้มีความจำเป็นต้องลดปริมาณโปรตีนโดยการเตรียม[[น้ำยาง]]ที่มี[[โปรตีน]]ต่ำก่อนนำไปทำผลิตภัณฑ์ หรือ ล้างน้ำหลาย ๆ ครั้ง สำหรับผลิตภัณฑ์ที่แยก[[โปรตีน]]ด้วยการละลายน้ำได้
*[[ยางไซไคลซ์]]<ref name="การผลิตยางธรรมชาติ"/> (Cyclised Rubber) : ยางที่ปรับสภาพโครงสร้าง[[โมเลกุล]]ของยาง โดยให้[[โมเลกุล]]ของยางเกิดการเชื่อมโยงกันเองจนเป็นวง ทำให้มีสัดส่วนของ[[พันธะ]]ที่ไม่อิ่มตัวลดลง ทำให้สมบัติยางเปลี่ยนไปและมีความแข็งแรงขึ้น
== การผสมยางธรรมชาติกับพอลิเมอร์ชนิดอื่น ==
|