ผลต่างระหว่างรุ่นของ "น้ำยาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
*ยางแท่ง<ref name="การผลิตยางธรรมชาติ">เสาวนีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี, 2546, การผลิตยางธรรมชาติ, ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</ref> : ก่อนปี 2508 ยางธรรมชาติที่ผลิตขึ้นมา ส่วนใหญ่จะผลิตในรูปของยางแผ่นรมควัน ยางเครพ หรือน้ำยางข้น ซึ่งยางธรรมชาติเหล่านี้จะไม่มีการระบุมาตรฐานการจัดชั้นยางที่ชัดเจน ตามปกติจะใช้สายตาในการพิจารณาตัดสินชั้นยาง ต่อมาในปี 2508 สถาบันวิจัยยางมาเลเซีย (Rubber Research Institute of Malaysia) ได้มีการผลิตยางแท่งขึ้นเป็นแห่งแรก เพื่อเป็นการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของยางธรรมชาติให้ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับการใช้งาน จนทำให้ยางแท่งเป็นยางธรรมชาติชนิดแรกที่ผลิตมาโดยมีการควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ตลอดจนมีการระบุคุณภาพของยางดิบที่ผลิตได้แน่นอน
*[[ยางแท่งความหนืดคงที่]]<ref name="การผลิตยางธรรมชาติ"/> : เป็นยางที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการควบคุมความหนืดของยางที่ใช้ในการแปรรูป เช่น อุตสาหกรรมยางท่อ, อุตสาหกรรมทำกาว
*ยางสกิม<ref name="ยาง : เทคนิคการออกสูตร">พรพรรณ นิธิอุทัย, ยาง : เทคนิดการออกสูตร, 2540, ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2540, หน้า 3-15</ref> : ยางสกิมเป็นยางธรรมชาติที่ได้จากการจับตัวน้ำยางสกิม (skim latex) ด้วยกรดแล้วนำยางที่ได้ไปทำการรีดแผ่นและทำให้แห้ง โดยน้ำยางสกิมเป็นน้ำส่วนที่เหลือจากการทำ[[น้ำยางข้น]]ด้วยการนำ[[น้ำยางสด]]มาทำการเซนตริฟิวส์ แยกอนุภาคเม็ดยางออกจากน้ำซึ่งอนุภาคเม็ดยางเบากว่าน้ำ ส่วนใหญ่จึงแยกตัวออกไปเป็นน้ำยางข้น น้ำยางข้นที่ได้มีปริมาณเนื้อยางอยู่ร้อยละ 60-63 ซึ่งน้ำยางสกิมคือส่วนที่เหลือจากการเซนตริฟิวส์แยกเนื้อยางส่วนใหญ่ออกไปแล้ว ก็ยังมีส่วนของเนื้อยางออกมาด้วย ซึ่งเป็นเนื้อยางที่มีขนาดอนุภาคเล็ก ๆ มีปริมาณเนื้อยางอยู่ร้อยละ 3-6
 
== การควบคุมความหนืดของยาง ==
 
ยางแห้งพันธุ์ต่าง ๆ เมื่อนำเอามาทดสอบค่าความหนืดภายใต้อุณหภูมิและเวลาเดียวกัน (ML1+4;100°C) ค่าความหนืดจะอยู่ที่ 43-100 [[หน่วยมูนี่]] แต่ถ้าทิ้งยางแห้งนี้ไว้สัก 2-4 เดือน ยางก็จะมีความหนืดเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 74-126 [[หน่วยมูนี่]] ดังนั้นจึงต้องมีการปรับสภาพค่าความหนืดของยางให้คงที่หรือสม่ำเสมอ จึงต้องมีการใช้สารเคมีประเภท ไฮดรอกซิลามีนไฮโดรคลอไรด์ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ควบคุมความหนืดของยางให้มีค่าค่อนข้างสม่ำเสมอ ซึ่งสารเคมีที่ใส่เข้าไปจะเข้าไปทำปฎิกิริยากับอนุมูลของหมู่อัลดีไฮด์ในโครงสร้างโมเลกุลยาง จึงทำให้ภายในระหว่างโมเลกุลยางที่เก็บไว้ไม่มีพันธะไฮโดรเจนเกิดขึ้น ความหนืดของยางจึงไม่เพิ่มขึ้น โดยค่าความหนืดเมื่อใช้สารควบคุมความหนืดจะอยู่ที่ 37-99 [[หน่วยมูนี่]] ความหนืดถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากในทางอุตสาหกรรมที่จะต้องนำเอา[[ยางธรรมชาติ]]มาเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ จึงต้องมีการปรับสภาพความหนืดของยางธรรมชาติให้มีค่าที่คงที่ <ref name="การผลิตยางธรรมชาติ"/>
 
== โครงสร้างหลักที่มีผลกระทบต่อสมบัติของยางธรรมชาติ ==
 
ยางธรรมชาติมีชื่อทางเคมีคือ ซิส-1,4-พอลิไอโซพรีน (cis-1,4-polyisorene) เป็น[[โมเลกุล]]ที่ประกอบด้วย[[คาร์บอน]]และ[[ไฮโดรเจน]]ล้วน ทำให้มีสมบัติไม่ทนต่อน้ำมัน แต่เป็นฉนวนไฟฟ้าได้ดี ใน 1 โมเลกุลจะประกอบด้วยหน่วยของ[[ไอโซพรีน]] (C5H8) มาต่อกันเป็นสายโซ่ยาวแบบเส้นตรงใน 1 หน่วย[[ไอโซพรีน]]จะมีพันธะคู่และหมู่อัลฟาเมทธิลีนที่ว่องไวต่อการเกิดปฎิกิริยา ทำให้สามารถ[[วัลคาไนซ์]]ได้ด้วย[[กำมะถัน]] และทำให้ยางทำปฎิกิริยาได้ง่ายด้วย[[ออกซิเจน]]และ[[โอโซน]] ทำให้ยางเกิดการเสื่อมสภาพได้ง่ายเช่นเดียวกัน ดังนั้นการออกสูตรยางจำเป็นจะต้องมีแอนตี้ออกซิแดนท์และแอนตี้โอโซแนนท์ร่วมด้วย<ref name="ยาง : เทคนิคการออกสูตร"/> ยางธรรมชาติมีสายโซ่ที่เคลื่อนไหวหักงอไปมาได้ง่าย ทำให้ยางธรรมชาติคงสภาพยืดหยุ่นได้ดี มีอุณหภูมิของการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว ประมาณ -72°C สามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิต่ำมาก สำหรับความสม่ำเสมอในโครงสร้างโมเลกุล ทำให้ยางธรรมชาติสามารถตกผลึกได้เมื่อยืด การเกิดผลึกเนื่องจากการยืดตัวยังทำให้ยางคงรูปมีสมบัติเชิงกลดีขึ้น นั่นคือ ยางจะมีความทนทานต่อแรงดึง ความทนทานต่อการฉีกขาด และความต้านทานต่อการขัดถูสูงขึ้น ยางธรรมชาติมี[[น้ำหนักโมเลกุล]]เฉลี่ยสูง อยู่ในช่วง 200,000 ถึง 400,000 <ref name="ยาง ชนิด สมบัติ และการใช้งาน">พงษ์ธร แซ่อุย, ยาง: ชนิด สมบัติ และการใช้งาน, 2547, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ</ref> และมีการกระจายตัวของน้ำหนักโมเลกุลกว้างมาก ทำให้ยางแข็งเกินไปที่จะนำไปแปรรูปโดยตรง จะต้องมีการบดยาง ก่อนที่จะนำไปใช้ในกระบวนการผลิต
 
== ยางธรรมชาติประเภทอื่น ๆ (ปรับสภาพโครงสร้าง)==
เส้น 32 ⟶ 36:
== การผสมยางธรรมชาติกับพอลิเมอร์ชนิดอื่น ==
 
ยางธรรมชาติเป็นยางที่มีสมบัติเด่นด้านควาเหนียวติดกันที่ดี, สมบัติด้านการขึ้นรูปที่ดี, ความร้อนสะสมในขณะการใช้งานต่ำ เป็นต้น แต่ก็มีสมบัติบางประการที่เป็นข้อด้อย ดังนั้นในการแก้ไขข้อด้อยนั้น สามารถทำได้โดยการเลือกเอาสมบัติที่ดีจาก[[ยางสังเคราะห์]]ชนิดอื่นมาทดแทน เช่น สมบัติด้านความทนทานต่อการขัดถูของยางบิวตาไดอีน (BR), สมบัติความทนทานต่อน้ำมันของยางไนไตรล์ (NBR), สมบัติความทนทานต่อความร้อนและโอโซนของยาง EPDM เป็นต้น โดยการผสมยางธรรมชาติกับ[[ยางสังเคราะห์]]เหล่านี้เข้าด้วยกัน แต่การที่จะผสมให้เข้ากันได้นั้น[[ยางสังเคราะห์]]ชนิดนั้น ๆ ต้องไม่มีความเป็นขั้วเหมือนกับยางธรรมชาติ จึงจะทำให้ยางผสมรวมเข้ากันเป็นเฟสเดียวกันได้ดีขึ้น เช่น ยาง BR, SBR, EPDM และ NBR(เกรดที่มีอะคริโลไนไตรล์ต่ำ ๆ) ซึ่งปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อสมบัติของยางผสมที่ได้นั้น มีดังนี้ <ref name="ยาง: ชนิด สมบัติ และการใช้งาน">พงษ์ธร แซ่อุย, ยาง: ชนิด สมบัติ และการใช้งาน,ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ, 2547, หน้า 14</ref>
 
* ความหนืดของยาง ยางธรรมชาติก่อนที่จะทำการผสมต้องทำการบดเพื่อลดความหนืดในตอนเริ่มต้นการผสมให้เท่ากับ[[ยางสังเคราะห์]]หรือใกล้เคียงซึ่งจะทำให้ยางทั้งสองผสมเข้ากันได้ดีขึ้น
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/น้ำยาง"