ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดินโปเลียนที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "โรแบสปิแยร์" → "รอแบ็สปีแยร์" ด้วยสจห.
บรรทัด 51:
เมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศสประทุขึ้นในปี [[พ.ศ. 2332]] ร้อยโทโบนาปาร์ตได้อยู่ในเหตุการณ์ที่[[ปารีส|กรุงปารีส]] โดยเป็นฝ่ายสังเกตการณ์ เขาได้เฝ้าดูประชาชนบุกพระราชวังตุยเลอรีด้วยความขยะแขยง นโปเลียนเดินทางกลับมายังเกาะคอร์ซิกา<ref>McLynn 1998, p.55</ref> ที่ซึ่งการสู้รบระหว่างฝ่ายต่างๆ เริ่มขึ้นอีกครั้ง (โดยมีทางฝ่ายของปาสกาล เปาลี สนับสนุนการนับถือราชวงศ์แบบอังกฤษ และทางตระกูลโบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ) นโปเลียนได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าของกองกำลังป้องกันตนเองแห่งชาติ ในปี [[พ.ศ. 2335]] โดยการแย่งเอากองกำลังจากคณะกรรมาธิการของรัฐมาส่วนหนึ่ง แต่การประหารกษัตริย์ได้ทำให้เกิดการต่อต้านของฝ่ายอิสระ สงครามกลางเมืองได้ประทุขึ้น และตระกูลของนโปเลียนต้องหลบหนีออกจากเกาะคอร์ซิกา มายังประเทศฝรั่งเศส
 
โบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ และได้ถูกส่งตัวไปรับตำแหน่งนายร้อยในกองพลปืนใหญ่ ที่ศูนย์บัญชาการเมืองตูลอง (Toulon) ในปี [[พ.ศ. 2336]] (ค.ศ. 1793) ซึ่งต่อมาได้ถูกมอบให้[[สหราชอาณาจักร|อังกฤษ]]ปกครอง แผนการที่นโปเลียนมอบให้ฌาคส์ ฟร็องซัวส์ ดูก็องมิเย ทำให้สามารถยึดเมืองตูลองคืนมาจากกองทัพกลุ่มสนับสนุนระบอบกษัตริย์และพวกอังกฤษได้ มิตรภาพระหว่างเขาพวกฌาโกแบงทำให้เขาถูกจับในช่วงสั้นๆ ภายหลังการล่มสลายของโรแบสปิแยร์รอแบ็สปีแยร์ ในวันที่ [[27 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2337]]
 
หลังจากได้รับอิสรภาพ เขาก็ต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ปราศจากผู้บังคับบัญชาอย่างเป็นทางการ และต่อมาปอล บาร์ราส์ ได้อนุญาตให้เขาบดขยี้กลุ่มผู้สนับสนุนราชวงศ์ที่ลุกฮือที่เมืองว็องเดแมร์ เพื่อต่อต้าน[[สมัชชาแห่งชาติ]] ในปี [[พ.ศ. 2338]] (ค.ศ. 1795) ในโอกาสนี้เอง โบนาปาร์ตได้มีนายทหารหนุ่มชื่อ[[โจอาคิม มูราท์]] เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติการประสบผลสำเร็จด้วยการยิงปืนใหญ่เข้าสลายกลุ่มสนับสนุนราชวงศ์ที่เมืองซังต์โรช์
บรรทัด 109:
[[ไฟล์:Andrea Appiani 002.jpg|thumb|200px|left|นโปเลียนยกตัวเองขึ้นเป็น[[พระมหากษัตริย์อิตาลี|กษัตริย์แห่งอิตาลี]] เมื่อวันที่ [[26 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2348]] ที่นคร[[มิลาน]] ]]
 
การประหารเกิดขึ้นที่เมือง[[แวงแซนน์]]ชานกรุงปารีส ภายหลังการไต่สวนที่ถูกจัดฉากให้ดูเป็นไปตามกระบวนการ (ซึ่งก็พบว่าเจ้าชายไม่มีความผิด) มีเพียงอังกฤษเท่านั้นที่ทักท้วง ส่วน[[รัสเซีย]]และออสเตรียนั้น สงวนท่าทีไม่ยอมทัดทาน ทำให้เกิดเสียงเล่าลือเกี่ยวกับนโปเลียนว่าเป็น ''[[โรแบสปิแยร์มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์|รอแบ็สปีแยร์]]บนหลังม้า'' (โรแบสปิแยร์เป็นอดีตนักการเมืองฝรั่งเศสผู้โหดเหี้ยม) (ที่เกาะ[[เซนต์เฮเลนา]] นโปเลียนยอมรับความผิดนี้ แม้ว่า[[ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์|ตาแลร็อง]]จะมีส่วนพัวพันด้วยก็ตาม) หลังจากได้ก่อความผิดนี้ต่อสาธารณรัฐ และเพื่อไม่ให้กงสุลเอกขึ้นชื่อว่าก่อคดีสังหารบุคคลในราชวงศ์ซ้ำซ้อน นโปเลียนจึงได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิเมื่อวันที่ [[2 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2347]] (ค.ศ. 1804)
 
ถ้าจะว่ากันไปแล้ว จักรวรรดิฝรั่งเศสเกิดขึ้นจากคำขอของวุฒิสภา นักประวัติศาสตร์[[สตีเฟน อิงลุนด์]]เชื่อในแนวความคิดที่ว่า การสถาปนาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิของนโปเลียนนั้นเป็นไปเพื่อปกป้องสาธารณรัฐ หากนโปเลียนถูกโค่น กลุ่มคนต่างๆ จะล่มสลายไปกับเขาด้วย จักรพรรดิได้กลายมาเป็นสถาบัน ตอกย้ำความยั่งยืนของความเชื่อในการปกครองระบอบสาธารณรัฐ หากนโปเลียนตาย นั่นคือการสูญเสียผู้สืบทอดตำแหน่งที่มีหน้าที่ปกป้องประเทศจากความโกลาหล และนั่นหมายถึงความสูญเสียของสิ่งที่ได้มาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส (''ความเสมอภาค'' ''อิสรภาพ'' และ ''ความยุติธรรม'') การที่เงินเหรียญของทางการฝรั่งเศสจารึกคำว่า ''จักรพรรดินโปเลียน - สาธารณรัฐฝรั่งเศส'' นั้น มิใช่คำพูดเสียดสีแต่อย่างใด