ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดินโปเลียนที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 77:
[[ไฟล์:Bonapatre et le consulat.jpg|280px|thumb|นโปเลียนก่อรัฐประหาร]]
{{บทความหลัก|รัฐประหาร 18 บรูว์แมร์}}
เมื่อนายพลนโปเลียนเดินทางกลับมาถึงกรุงปารีส เขาได้เข้าพบปะสนทนากับ[[ตัลเลย์ร็องชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์]] ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีการต่างประเทศ นักการเมืองผู้มีประสบการณ์ และผู้รู้เกมการเมืองเป็นอย่างดี เขาได้ช่วยเตรียมการก่อรัฐประหาร โค่นล้มคณะดีแร็กตัวร์ ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารที่กำลังอ่อนแอและประชาชนเกลียดชัง โดยการโน้มน้าวผู้แทนราษฎรเลือกรัฐบาลใหม่ บีบให้หัวหน้าคณะรัฐบาลเดิมลาออก แล้วเลือกหัวหน้ารัฐบาลใหม่เข้ามาแทน ประกอบด้วยบุคคลสามคนที่ปราศจากมลทิน อันได้แก่ [[แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส]], [[รอเฌ ดูว์โก]] (สมาชิกคณะดีแร็กตัวร์สองในจำนวนทั้งหมดห้าคน) และนโปเลียน ผู้ซึ่งได้รับความไว้วางใจ ให้มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการ นับตั้งแต่เขายอมไปออกรบที่[[อียิปต์]] และกลับมาในฐานะวีรบุรุษ วัตถุประสงค์ของการก่อรัฐประหารครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้า (ที่ต้องการรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งตรงข้ามกับพวกจาโคบังที่ยึดติดกับระบอบกษัตริย์) ว่าจะยังรักษาความมั่งคั่งไว้ได้ต่อไป และนโปเลียนที่เชื่อในระบอบสาธารณรัฐยอมก็เสี่ยงกับแผนการดังกล่าว เพราะมีกระแสจะนำ[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าหลุยส์ที่ 18]] มาขึ้นครองราชย์และฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ ซึ่งหมายความว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ผ่านมานั้นไร้ผล
 
หลังจากที่ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้าสามารถโน้มน้าวให้สภาสูงเห็นชอบกับการล้มล้างคณะดีแร็กตัวร์ได้แล้ว แผนการของการก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ [[9 พฤศจิกายน|18 เดือนบรูว์แมร์]] [[พ.ศ. 2342]] (ค.ศ. 1799) (ตาม[[ระบบปฏิทินของสาธารณรัฐฝรั่งเศส]]) ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ นโปเลียนจะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อรักษาความสงบในกรุงปารีสและใน[[รัฐสภา]] จากนั้นจึงจัดการโยกย้ายที่ทำการรัฐสภาไปยังพระราชวังแซ็ง-กลู บริเวณชานเมืองปารีส เพื่อไม่ให้เกิดการจลาจลในกรุงปารีสขณะก่อรัฐประหาร และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ โดยอ้างเหตุผลว่าลัทธิ[[ฌาโกแบง]]กำลังเสี่ยงต่อภัยคุกคามถึงขั้นถูกล้มล้างได้ ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น นับตั้งแต่[[พ.ศ. 2332]] (ค.ศ. 1789) เป็นต้นมา รัฐสภาก็ถูกประชาชนชาวปารีสคุกคามมาโดยตลอด
บรรทัด 109:
[[ไฟล์:Andrea Appiani 002.jpg|thumb|200px|left|นโปเลียนยกตัวเองขึ้นเป็น[[พระมหากษัตริย์อิตาลี|กษัตริย์แห่งอิตาลี]] เมื่อวันที่ [[26 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2348]] ที่นคร[[มิลาน]] ]]
 
การประหารเกิดขึ้นที่เมือง[[แวงแซนน์]]ชานกรุงปารีส ภายหลังการไต่สวนที่ถูกจัดฉากให้ดูเป็นไปตามกระบวนการ (ซึ่งก็พบว่าเจ้าชายไม่มีความผิด) มีเพียงอังกฤษเท่านั้นที่ทักท้วง ส่วน[[รัสเซีย]]และออสเตรียนั้น สงวนท่าทีไม่ยอมทัดทาน ทำให้เกิดเสียงเล่าลือเกี่ยวกับนโปเลียนว่าเป็น ''[[โรแบสปิแยร์]]บนหลังม้า'' (โรแบสปิแยร์เป็นอดีตนักการเมืองฝรั่งเศสผู้โหดเหี้ยม) (ที่เกาะ[[เซนต์เฮเลนา]] นโปเลียนยอมรับความผิดนี้ แม้ว่า[[ชาร์ลส-โมชาร์ล มอริส เดอ ตัลเลย์รองตาแลร็อง-เปริกอร์ดเปรีกอร์|ตัลเลย์รองตาแลร็อง]]จะมีส่วนพัวพันด้วยก็ตาม) หลังจากได้ก่อความผิดนี้ต่อสาธารณรัฐ และเพื่อไม่ให้กงสุลเอกขึ้นชื่อว่าก่อคดีสังหารบุคคลในราชวงศ์ซ้ำซ้อน นโปเลียนจึงได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิเมื่อวันที่ [[2 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2347]] (ค.ศ. 1804)
 
ถ้าจะว่ากันไปแล้ว จักรวรรดิฝรั่งเศสเกิดขึ้นจากคำขอของวุฒิสภา นักประวัติศาสตร์[[สตีเฟน อิงลุนด์]]เชื่อในแนวความคิดที่ว่า การสถาปนาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิของนโปเลียนนั้นเป็นไปเพื่อปกป้องสาธารณรัฐ หากนโปเลียนถูกโค่น กลุ่มคนต่างๆ จะล่มสลายไปกับเขาด้วย จักรพรรดิได้กลายมาเป็นสถาบัน ตอกย้ำความยั่งยืนของความเชื่อในการปกครองระบอบสาธารณรัฐ หากนโปเลียนตาย นั่นคือการสูญเสียผู้สืบทอดตำแหน่งที่มีหน้าที่ปกป้องประเทศจากความโกลาหล และนั่นหมายถึงความสูญเสียของสิ่งที่ได้มาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส (''ความเสมอภาค'' ''อิสรภาพ'' และ ''ความยุติธรรม'') การที่เงินเหรียญของทางการฝรั่งเศสจารึกคำว่า ''จักรพรรดินโปเลียน - สาธารณรัฐฝรั่งเศส'' นั้น มิใช่คำพูดเสียดสีแต่อย่างใด
บรรทัด 150:
 
== ความพ่ายแพ้ในฝรั่งเศส ==
ในปี [[พ.ศ. 2357]] (ค.ศ. 1814) [[สหราชอาณาจักร]], [[จักรวรรดิรัสเซีย|รัสเซีย]], [[ปรัสเซีย]] และ[[จักรวรรดิออสเตรีย|ออสเตรีย]] ได้ร่วมเป็นพันธมิตร แม้ว่าจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จะมีชัยอย่างไม่น่าเชื่อในการรบที่ [[ฌองโปแบร์]] และ[[มองต์มิไรล์]] ด้วยการนำทัพทหารใหม่ขาดประสบการณ์ (''กองทัพมารี หลุยส์'' ที่ตั้งชื่อตาม[[อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย]] พระมเหสีในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1) กรุงปารีสถูกตีแตกเมื่อวันที่ [[31 มีนาคม]] และเหล่าจอมพลได้บังคับให้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1สละราชบัลลังก์
 
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงคิดว่าฝ่ายพันธมิตรจะแยกเขาออกจากจักรพรรดินี และ[[จักรพรรดินโปเลียนที่ 2]] กษัตริย์แห่งโรม พระโอรสของพระองค์ ดังนั้น ในคืนวันที่ 12 และเช้าวันที่ [[13 เมษายน]] จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้เสวยยาพิษไปในปริมาณที่จะปลิดชีพพระองค์เองได้ นั่นคือ [[ฝิ่น]]ผสมกับน้ำเล็กน้อย มีคนบอกพระองค์ว่าส่วนผสมดังกล่าวมีพิษมากพอที่จะฆ่าคนได้ถึงสองคน
บรรทัด 166:
ยาพิษได้คลายฤทธิ์ลง และพระองค์ก็สามารถดำเนินกิจกรรมตามปกติได้ในที่สุด แต่ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเหตุใดองค์จักรพรรดิจึงรอดชีวิตมาได้จากการกลืนฝิ่นเข้าไปในปริมาณขนาดนั้น ไม่กระเพาะของพระองค์ขย้อนออกมา ไม่ก็ยาพิษได้เสื่อมฤทธิ์ลงไปเอง
 
พระองค์ต้องไปลี้ภัยที่[[เกาะเอลบา]] ตามที่ระบุไว้ใน[[สนธิสัญญาฟองเตนโบลฟงเตนโบล]] ยังทรงดำรงพระยศเป็นจักรพรรดิ แต่ทรงปกครองได้เฉพาะบนเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้เท่านั้น
 
== คืนสู่อำนาจเป็นเวลาร้อยวัน ==