ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มะริด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ละเมิดลิขสิทธ์
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 42:
}}
 
'''มะริด''' ({{lang-my|မြိတ်}}, {{IPA-my|mjeɪʔ|pron}} ''มเยะ'' หรือ {{IPA-my|beɪʔ|}} ''เบะ''; {{lang-mnw|ဗိက်}}; {{lang-en|Myeik}}) มีชื่อเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า '''เมอร์กุย''' ({{lang-en|Mergui}}) เป็นเมืองหนึ่งใน[[เขตตะนาวศรี|ภูมิภาคตะนาวศรี]] [[ประเทศพม่า]] ตั้งอยู่ทางตอนใต้บริเวณชายฝั่ง[[ทะเลอันดามัน]] จากผลสำรวจสำมะโนครัวประชากรมีประชากรราว 209,000 คน<ref name="WG">[http://archive.is/20120919023126/http://www.world-gazetteer.com/wg.php?x=1288300191&men=gcis&lng=en&des=gamelan&geo=-141&srt=epnn&col=abcdefghimoq&msz=1500 "Myanmar: largest cities and towns and statistics of their population:calculation 2010"] ''World Gazetteer''</ref>
 
== ลักษณะทางภูมิศาสตร์เมืองมะริด ==
มะริดหรือเมอร์กุย (Mergui) ในภาษาอังกฤษ เป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ อันรวมเรียกว่าภูมิภาคตะนาวศรี อยู่ในพิกัดทางภูมิศาสตร์ที่ N12.455657 E98.623927ทางด้านทิศตะวันตกของเมืองมะริดติดกับทะเลอันดามันที่เป็นส่วนหนึ่งของอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียและมีหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 800 เกาะ โดยมีเกาะขนาดใหญ่วางตัวในแนวขนานไปกับพื้นที่ชื่อว่า เกาะคากัน (Kadan) ซึ่งช่วยในการป้องกันคลื่นและลมในช่วงมรสุมเป็นอย่างดี และมีเกาะ Pahtaw อยู่ใกล้กับเมืองมะริดอีกชั้นหนึ่งทางด้านทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ราบไปจรดถึงเทือกเขาตะนาวศรีซึงเป็นที่กั้นพื้นที่ราบฝั่งตะวันตก (ฝั่งอ่าวเบงกอล) และที่ราบฝั่งตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย) ออกจากกัน เมืองมะริดตั้งอยู่บนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำตะนาวศรี ลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งติดทะเลแม่น้ำสายนี้เป็นแหล่งน้ำจืดสำคัญและเป็นเส้นทางติดต่อกับชุมชนด้านในแผ่นดิน ซึ่งการไหลของแม่น้ำตะนาวศรีที่ไหลผ่านมายังเมืองมะริดประกอบกับคูคลองที่แตกสายออกไปจึงทำให้เมืองมะริดมีสภาพคล้ายกับเกาะ ซึ่งทำให้มีปราการเป็นธรรมชาติ 
 
สำหรับสภาพภูมิอากาศของเมืองมะริดนั้นตั้งอยู่ในเขตภูมิภาคมรสุมเมืองร้อน (Tropical Monsoon "Am") ซึ่งมีอากาศร้อนและในช่วงฤดูฝน ฝนจะตกหนักอย่างเห็นได้ชัด ในบางฤดูก็ปรากฏช่วงแห้งแล้งบ้างปริมาณน้ำฝนทั้งปีบางแห่งมีมากกว่าแบบภูมิอากาศฝนเมืองร้อนตลอดปี (Tropical Rain Forest "Af")[[รังสรรค์ อาภาคัพภะกุล, อุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น (กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2547), 67-85.|[1]]] สำหรับเมืองมะริดนั้นสามารถกำหนดดูกาลได้ 2 ฤดูกาล ได้แก่
 
1.ฤดูร้อนอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีฝนตกน้อยมากต่อเนื่องจากฤดูหนาวที่ผ่านมา โดยอุณหภูมิสูงสุดในรอบปีอยู่ในช่วงนี้ อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 33 องศาเซลเซียส โดยอากาศร้อนแต่มีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ร้อยละ 72 ซึ่งเป็นผลมาจากเป็นเมืองติดชายฝั่งทะเล
 
2.ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมากและฝนชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่นจะพัดเข้าสู่ประเทศทำให้ฝนตกเกือบทุกวัน[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn2|[2]]] โดยเมืองมะริดเป็นหนึ่งในเมืองที่ฝนตกชุกมากที่สุดเพราะอยู่ติดกับทะเล ซึ่งลักษณะฝนตกแบบนี้เป็นรูปแบบเดียวกันกับบริเวณชายฝั่งตะวันตกของ[[คาบสมุทร]]ภาคใต้และทางชายฝั่งตะวันออกของอ่าวไทยของประเทศไทย เมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้หมดอิทธิพลไปแล้วนั้นใน
 
3.ฤดูหนาว ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือ แถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็น และแห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุมบริเวณพื้นที่ ในภูมิภาคอื่นๆโดยเฉพาะตอนเหนือของประเทศพม่า จะมีท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง ถึงแม้ว่าปริมาณฝนจะลดลงแล้ว แต่อุณหภูมิไท่ค่อยหนาวเย็นนักเพราะลมมรสุมจะดึงความชุ่มชื้นจากอ่าวไทย ฉะนั้นความชื้นสัมพัทธ์ในช่วงนี้ไม่ได้ลดลงเลย
----[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref1|[1]]] รังสรรค์ อาภาคัพภะกุล, อุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น (กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2547), 67-85.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref2|[2]]] โครงการสารานุกรมไทยฯ, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเล่มที่4 (กรุงเทพฯ: สวนจิตรลดา. 2521 )
 
== ความสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยา ==
'''ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองมะริดในฐานะเมืองเท่ากับกรุงศรีอยุธยา'''
 
“หากแม้พระองค์ยกทัพไปตีเมืองมฤต ตะนาวศรี กรุงศุโขไทย พิศนุโลกย์ สวรรคโลกย์ พิไชยแล้ว พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาก็สิ้นกำลังดุจสกุณาปีกหัก” เป็นคำกล่าวที่พระยาทะละ เจ้ามอญเมืองทะละทูลต่อพระเจ้าบุเรงนอง (พ.ศ. 2094-2124) แห่งกรุงหงสาวดีคราวเสด็จทำสงครามช้างเผือกในปี พ.ศ. 2106 ที่ถูกบันทึกอยู่ในมหาราชวงศ์พงษาวดารพม่า[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn1|[1]]] ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของเมืองต่างๆที่ถูกกล่าวถึงโดยเฉพาะเมืองมฤต (มะริด) ซึ่งเป็นเมืองท่าทางทะเลเมืองเดียวที่ถูกกล่าวถึงในที่นี้ ซึ่งจะต้องมีความสำคัญอย่างมากจนเป็นที่รับรู้ร่วมกันทั้งรามัญและสยามประเทศ ในที่นี้ผู้ศึกษาจะลำดับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่กรุงศรีอยุธยามีต่อเมืองมะริดโดยจะลำดับข้อมูลเป็นรายรัชกาลเพื่อการลำดับเป็นช่วงสมัยให้ง่ายขึ้นดังนี้
 
ในรัชสมัยก่อนหน้าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นั้น การเอ่ยชื่อถึงเมืองมะริด ยังไม่ปรากฏอยู่ในหน้าเอกสารทางประวัติศาสตร์มากนัก คงเกิดจากหลายเหตุปัจจัย ทั้งการจดบันทึกในสมัยนั้นที่หลงเหลือหลักฐานมาถึงปัจจุบันน้อยมาก หรือ ด้วยเมืองมะริดเองอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลจากกรุงศรีอยุธยาอย่างมาก ประกอบกับเป็นช่วงสร้างบ้านแปลงเมือง พระราชอำนาจยังไม่กว้างขวางมากนัก มะริดในฐานะชุมชนที่ห่างไกลจึงไม่ถูกกล่าวถึงในหน้าเอกสารทางประวัติศาสตร์
 
'''[[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2|รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2]] (พ.ศ. 2034-2072)'''
 
หลังจากรัชสมัยสมเด็นพระรามาธิบดีที่ 1 แล้วการกล่าวถึงเมืองตะนาวศรีอันมีเมืองมะริดเป็นเมืองท่าหรือแม้แต่ชื่อเมืองมะริด ไม่ถูกปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารทุกฉบับ จนกระทั่งในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิดีที่ 2 ที่แม้ว่าความในพระราชพงศาวดารจะไม่กล่าวถึงเช่นเดียวกันแต่ปรากฏเอกสารบันทึกชาวต่างชาติชาวอิตาลีคือนายลูโอริโด ดีวาร์เธมา (Ludouico de Varthema) ได้เขียนบันทึกจากการเดินทาง โดยเดินทางออกจากเมืองเวนิช ประเทศอิตาลี พ.ศ. 2045 และเดินทางถึงเมืองมะริดโดยแล่นเรือตัดผ่านอ่าวเบงกอลจากเกาะลังกาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2048 เขาได้บันทึกถึงเมืองท่าของเมือง[[ตะนาวศรี]] นั่นหมายถึงเมืองมะริดและบันทึกว่า “บริเวณนี้เป็นดินแดนของสยามเขาได้และพบว่ามีการทำสตี ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความเชื่อท้องถิ่น” และเมื่อเขาได้เดินทางกลับถึงประเทศอิตาลีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เขาได้รวบรวมบันทึกและตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ Itinerario de Ludouico de Varthema Bolognese[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn2|[2]]]
 
ในรัชสมัยของพระองค์เป็นยุคเริ่มต้นของการเดินเรือข้ามทวีป จากทวีปยุโรปสู่เอเชียเป็นครั้งแรก โดยมีนักเดินเรือชาวโปรตุเกสชื่อนายวาสโก ดากามา (Vasco da Gama) เป็นบุคคลแรกของโลกที่สามารถนำพาเรือโดยเริ่มต้นที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ผ่านแหลมกู๊ดโฮป (Cave Good hope) ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้วแหลมที่อยู่ทางใต้สุดของทวีปแอฟริกาคือแหลมอะกะลัส (Cape Agulhas) แต่แหลมกู๊ดโฮปมีความสำคัญในเชิงจิตวิทยาต่อนักเดินเรือในอดีต ด้วยเพราะหากเดินเรือด้วยชายฝั่งจากเส้นศูนย์สูตรแล้วแหลมกู๊ดโฮปจะเป็นจุดเริ่มต้นของการหันหัวเรือไปทางทิศตะวันออกมางกว่าการเดินทางต่อไปในทางทิศใต้และยังเป็นจุดบรรจบกันของมหาสมุทรอินเดียบรรจบกับมหาสมุทรแอตแลนติก สู่ชายฝั่งมะละบาร์ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของประเทศอินเดีย[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn3|[3]]] จึงทำให้โปรตุเกสเป็นชาติยุโรปชาติแรกที่สามารถเดินทางสู่ตะวันออกไกลได้เป็นชาติแรกและเป็นสิ่งที่ทำให้โปรตุเกสเริ่มแสวงหาทรัพยากรและเข้ายึดครองพื้นที่และเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเข้ารุกรานมะละกาในปี พ.ศ. 2052 ซึ่งแต่เดิมกรุงศรีอยุธยานั้นแสดงความเป็นเจ้าของ เมื่อโปรตุเกสทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเคยมีสิทธิ์ในบริเวณนี้มาก่อน จึงเป็นเหตุให้นายอะฟองซู ดือ อะบูแกร์ (Afonso de Albuquerque) ผู้รับอำนาจจากพระเจ้าอะฟองซูที่ 2 แห่งโปรตุเกสและผู้บัญชาการกองทัพโปรตุเกสซึ่งประจำอยู่ที่เมืองกัวร์ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย ได้ส่งนายดูอาร์ตือ เฟอร์นันเดส (Duarte Fernandes) เป็นผู้แทนนำคณะชาวโปรตุเกสเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ในปี พ.ศ. 2054 ซึ่งในขณะนั้นโปรตุเกสสามารถเอาชนะมะละกาได้แล้ว นายอะฟองซู ดือ อะบูแกร์ได้ส่งทรัพย์สินมีค่าเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีต่อพระเจ้ากรุงสยามเพื่อกระชับความสัมพันธ์ พระองค์ทรงตอบรับไมตรีจากโปรตุเกส ฉะนั้นโปรตุเกสจึงนับเป็นประเทศแรกในทวีปยุโรปที่เข้ามาในกรุงศรีอยุธยา เมื่อคราวคณะผู้แทนจะกลับมะละกานั้นพระองค์ทรงส่งคณะทูตเดินทางสมทบด้วยอีกท่านหนึ่งเพื่อให้อัญเชิญพระราชสาส์นถึงกษัตริย์แห่งโปรตุเกสพร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการตอบแทนโดยมอบผ่านนายอะฟองซู ดือ อะบูแกร์ เมื่อออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้วคณะผู้แทนเดินทางทางบกไปเมืองมะริดเพื่อล่องเรือกลับ ชาติโปรตุเกสได้ส่งคณะทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีอีก 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 3 นั้น ในปี พ.ศ. 2061 คณะราชทูตนำโดยนายดูอาร์ตือ คอเอลญู่ (Duarte Coellox) เป็นราชทูตพิเศษนำพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการของพระเจ้ามานูแอลที่ 1 เข้ามายังกรุงศีอยุธยาอีกครั้ง การเข้ามาของคณะราชทูตจากโปรตุเกสในครั้งนี้นอกจากจะมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นแล้วนั้น ยังมีผลทำให้เกิดสนธิสัญญาระหว่างโปรตุเกสกับสยามขึ้นในปี พ.ศ. 2062 นับเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สยามลงนามข้อตกลงกับชาติยุโรป โดยผลของการลงนามในสนธิสัญญานี้นั้นคืออนุญาตให้ชาติโปรตุเกสสามารถตั้งถิ่นฐานในกรุงศรีอยุธยาได้[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn4|[4]]] ทั้งนี้การเข้ามาของโปรตุเกสในสมัยนี้จะเป็นช่วงที่โปรตุเกสมุ่งสร้างมิตรภาพกับอาณาจักรรอบด้าน หากมองในทางทหารอยุธยาจะเป็นแหล่งเสบียงอาหารของกองทัพโปรตุเกสขนาดใหญ่แต่สำคัญไปกว่านั้นคือการเปิดตลาดการค้าแห่งใหม่ให้กับชาติโปรตุเกสเพื่อการติดต่อซื้อขายตลอดจนเป็นที่ระบายสินค้าด้วย
 
จากบันทึกของนายโตเม ปิเรส (Tomé Pires) ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกรรมชาวโรตุเกส เขาได้ออกเดินทางจากประเทศโปรตุเกส ในปี พ.ศ. 2055-2058 เขาได้เขียนบันทึกนี้เมื่อคราวพักอยู่ที่อินเดียและมะละกา เขาได้บันทึกรายละเอียดไว้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงที่โปรตุเกสเข้าครอบครองมะละกา[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn5|[5]]] และกล่าวถึงการค้าของสยามว่า “พ่อค้ามุสลิมที่เข้ามาค้าขายกับสยามมีอยู่หลายกลุ่ม ได้แก่ พวกมัวร์ อาหรับ เปอร์เซีย กลิงก์ ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก ทางฝั่งตะนาวศรี สยามค้าขายกับ ปาเซ เปดีร์ เคดะห์ พะโค เบงกอล ชาวคุชราตมายังเมืองท่าของสยามทุกปี พวกเขาค้าขายนอกประเทศอย่างมั่งคั่งและในประเทศอย่างเสรี”[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn6|[6]]] นักเดินทางชาวโปรตุเกสอีกคนหนึ่งชื่อนายดูอาร์เต บาร์โบซา (Duarte Barbosa) นักเดินทางชาวโปรตุเกสที่ตั้งถิ่นฐานในเมืองแคมเบย์ แคว้นคุชราตของอินเดียระหว่างปี พ.ศ. 2043-2059 กล่าวว่ามีเรือของแขกมัวร์จำนวนมากและเรือจากที่อื่นๆได้มาชุมนุมกันที่เมืองท่าตะนาวศรีและนำสินค้าต่างๆ มาขาย นอกจากนี้พวกแขกมัวร์ ได้เข้าไปค้าขายที่เคดะห์และปัตตานีด้วย[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn7|[7]]]
 
จากบันทึกของชาวต่างชาติเห็นได้ว่าเมืองมะริดในช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ชาวยุโรปเริ่มรู้จักมากยิ่งขึ้น ในฐานะเมืองท่าและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เองพระองค์ต้องทรงใส่พระทัยเมืองมะริดในฐานะเมืองท่าสำคัญ 1.ด้วยเพราะความล้มเหลวที่จะเข้าไปควบคุมมะละกาเพื่อควบคุมช่องแคบมะละกา 2.ความก้าวหน้าของการเดินเรือของชาติในฝั่งยุโรปและสามารถเดินเรือข้ามคาบสมุทรได้แล้ว ที่เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจและการค้า นำมาสู่การแลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับชาติอื่นๆที่หลากหลายต่อไปในอนาค
 
สาเหตุที่เมืองมะริดมีปัจจัยที่ได้เปรียบของการเป็นเมืองท่านั้น ทัศนะของข้าพเจ้ามองว่ากรุงศรีอยุธยาสามารถขนส่งสินค้าในปริมาณมากๆ ผ่านทางเรือ ก่อนไปเทียบท่าที่เมืองกุยบุรีหรือปราณบุรี ก่อนเดินทางโดยทางบกซึ่งเป็นเส้นทางข้ามคาบสมุทรสู่เมืองตะนาวศรีก่อนจะนำสินค้าขึ้นเรืออีกครั้งเพื่อไปยังเมืองมะริด ซึ่งมีความสะดวกมากกว่าหากเดินทางทางบกโดยตรงจากกรุงศรีอยุธยาไปทวาย ซึ่งใช้ระยะเวลานานหลายวันหรือขนส่งผ่านเรือซึ่งจะต้องไปอ้อมแหลมมลายูซึ่งนอกจจะต้องเสียค่าธรรมเนียมแล้วยังใช้ระยะเวลานานเช่นเดียวกัน
 
'''[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ|รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์]] (พ.ศ. 2091 - พ.ศ. 2111)'''
 
เมืองมะริดปรากฏขึ้นในพระราชศาวดารอีกครั้งในคราวสงครามปี พ.ศ. 2106-2107 หรือเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือสงครามช้างเผือก โดยปรากฏอยู่ในฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และ ฉบับความสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีความว่า “โปรดให้กองกำลังจาก 13 เมือง ได้แก่ 1.เมืองมะริด 2.เมืองชัยนาท 3.เมืองสุพรรณบุรี 4.เมืองลพบุรี 5.เมืองอินทรบุรี 6.เมืองเพชรบุรี 7.เมืองราชบุรี 8.เมืองนครนายก 9.เมืองสระบุรี 10.เมืองพรหมบุรี 11.เมืองสรรคบุรี 12.เมืองสิงห์บุรี 13.เมืองธนบุรี 14.เมืองนครชัยศรี ให้ตั้งกองกำลังอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะเมือง ให้ตั้งแต่กองตั้งแต่หอรัตนไชยไปถึงเกาะแก้ว โดยมีพระยาพระคลังเป็นนายกองใหญ่”[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn8|[8]]] ในการนั้นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาต้องพ่ายแพ้ให้กับพระจ้ากรุงหงสาวดี พระเจ้ากรุงหงสาวดีบุเรงนองทรงมอบเครื่องราชย์อิสริยาภรณ์แก่พระมหินทราธิราชในฐานะพระมหาอุปราชซึ่งครองราชย์ในฐานะรักษาการแทนพระราชบิดาซึ่งลาสิกขาบทในเพศบรรพชิตและให้ทรงครองราชย์ต่อไป เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกโดยมหาราชวงพงษาวดารพม่า[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn9|[9]]]แต่ไม่ถูกบันทึกในพระราชพงศาวดารฝั่งไทย นอกจากนี้พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้มีคำสั่งให้พระมหินทราธิราชจะต้องส่งส่วยปีหนึ่ง ช้างรบ 30 ตัว เงีน 300 ชั่ง กับภาษีทั้งหมดที่เก็บได้จากเมืองมะริดเละตะนาวศรีทุกๆปีเป็นเครื่องราชบรรณาการและหากปรองดองต่อกันแล้ว พระเจ้ากรุงสยามจะส่งช้างเผือกมาถวายอีก 2 ช้าง[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn10|[10]]] ในมุมของเอกสารไทยระบุไว้เฉพาะการส่งบรรณาการเพียงเท่านั้น[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn11|[11]]]
 
ช่วงระยะเวลาที่หายไปนั้นข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าคงเป็นผลมาจากการเมืองภายในของกรุงศรีอยุธยาที่ไม่มีเสถียรภาพในช่วงระยะเวลา 19 ปี กรุงศรีอยุธยาเผชิญกับการเปลี่ยนพระมหากษัตริย์หลายครั้ง ข้าพเจ้าเชื่อว่าเมืองมะริดต้องเติบโตมาอย่างต่อเนื่องอย่างแน่นอน ถึงขนาดที่มีกองกำลังทหารมาช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา แต่ถ้าจะถามว่าเป็นคนสยามหรือชาติใด เหล่านี้ไม่ได้กล่าวถึงเอกสาร แต่จากบันทึกชาวต่างชาติ เมืองมะริดมีการอยู่อาศัยที่หลากหลายของผู้คน ไม่มีเฉพาะเพียงชุมชนใดชุมชนหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้มะริดยังถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อรองระหว่างสยามกับพม่า นั่นแสดงว่าจากเดิมที่พม่ามองข้ามเมืองมะริด จะด้วยความห่างไกลหรือด้วยปัจจัยใดก็แล้วแต่ แต่ในเวลานี้พม่ามองเห็นความสำคัญของมะริดในฐานะฐานรายได้ที่จะได้อย่างมากมายอย่างแน่นอนหรือพม่าอาจจะมองว่าถ้าเพียงสามารถเข้าควบคุมเมืองมะริดแล้ว กรุงศรีอยุธยาก็เสมือนถูกปิดประตูทางการค้ากับโลกตะวันตกอย่างแน่นอน เหล่านี้แสดงว่าตั้งแต่ในยุคสมัยนี้เป็นต้นไปเมืองมะริดจะอยู่ในสายตาของกรุงศรีอยุธยาและพม่าด้วย
 
'''[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช|รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] (พ.ศ. 2133-2148)'''
 
เสถียรภาพทางการค้าของกรุงศรีอยุธยาที่มีต่อเมืองมะริดนั้นคงจะไม่มีเสถียรภาพมาตั้งแต่คราวสงครามช้างเผือกเรื่อยมาตลอดจนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2112-2127) เมื่อพระองค์ทรงประกาศอิสรภาพในปี พ.ศ. 2135 และเกิดสงครามยุทธหัตถีในปีเดียวกันระหว่างสมเด็จพระนเศวรกับพระมหาอุปราชมังกยอชวา เมื่อถึงเวลาสงครามขุนนางและกองทหารไม่สามารถติดตามคุ้มตามเสด็จได้ทันสมเด็จพระนเรศวรได้แต่พระองค์ก็มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชมังกยอชวา โดยตามกฎมณเฑียรบาลแล้วเหล่าขุนนางและกองทหารที่ไม่สามารถตามเสด็จในระหว่างสงครามโดยทันจะต้องโดนประหารชีวิตแต่ด้วยพระมหาเถรคันฉ่องทูลขอไว้ พระองค์จึงมีรับสั่งให้ขุนนางเหล่านั้นนำโดยพระยาจักรีนำทัพไปตีเมืองทวายและตะนาวศรี โดยทรงมีคำขู่ว่าหากแพ้จะสั่งให้จบเผาทั้งโคตร ความเหล่านี้ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา มีความสรุปว่า “จึงโปรดให้พระยาจักรีเข้าตีเมืองตะนาวศรีและให้พระยาคลังเข้าตีเมืองทวาย  โดยกำลังไพร่พลทัพละ 50,000 คน และได้รับชัยชนะในเวลาต่อมา” ในหนังสือไทยรบพม่า ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงให้การรบในครั้งนี้เป็นสงครามที่สยามรบกับพม่าครั้งที่ 11 จากจำนวนทั้งหมด 24 ครั้ง ซึ่งเมื่อพม่าทราบข่าวพระเจ้าบุเรงนองก็โปรดให้ยกทัพหลวงมารักษาป้องกันเมืองมะริด ทวาย ตะนาวศรี เช่นกัน ท้ายที่สุดทัพของพระยาจักรีชัยชนะเหนือกองทัพพระเจ้ากรุงสาวดี มีข้อความในพระราชพงศาวดารฉบับพพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันว่ากรุงศรีอยุธยามีอำนาจเหนือเมืองมะริด ทวาย ตะนาวศรีแล้วในคราวก่อนเสด็จยกทัพไปปราบเมืองละแวก ในปี พ.ศ. 2136 กล่าวถึง “มะริด ทวาย ตะนาวศรี เชียงใหม่เป็นของเราแล้วต่อไปจะยกทัพไปปราบละแวก”
 
8 ปีที่ผ่านมาไม่มีการกล่าวถึงเมืองมะริดเลย คงเป็นผลมาจากการที่อยุธยาไม่ได้มีอำนาจไปยังบริเวณนั้น แต่ภายหลังจากที่สมเด็จพระนเศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพและมีชัยชนะต่อพม่าได้สำเร็จ เป้าหมายแรกของพระองค์คือการเข้าไปมีอำนาจในเมืองชายฝั่งอ่าวเบงกอลอีกครั้งหนึ่ง โดยมีคำขู่ว่า “ถ้าไม่สามารถเอาชนะได้ก็ต้องตาย” นั่นแสดงให้เห็นว่าพระองค์ย่อมรู้ดีว่าผลประโยชน์ของอยุธยานั้นมาจากเมืองเหล่านี้ โดยยุคนี้เป็นยุคฟื้นฟูพระราชอาณาจักร นี่จึงเป็นความหวังที่พระองค์ปรารถนา แต่พม่าเองเมื่อทราบข่าวก็ม่ได้นิ่งอยู่เฉย ก็พยายามป้องกันด้วยเช่นเดียวแต่ด้วยกรุงหงสาวดีในเวลานั้นมีสภาพไม่พพร้อมในการทำสงครามจึงทำให้พ่ายแพ้ในที่สุด
 
ข้าพเจ้ามองว่าศักยภาพของเมืองมะริด เพิ่มมากขึ้นอีกครั้งในรัชกาลของพระองค์ ด้วยเพราะพระองค์ทรงปฏิรูปรูปแบบการปกครองหัวเมืองใหม่อีกครั้ง โดยทำการปฏิรูปการปกครองหัวเมือง ซึ่งแบ่งเมืองนอกเขตราชธานีเป็น หัวเมืองชั้นเอก, หัวเมืองชั้นโท, หัวเมืองชั้นตรี และมีเมืองขนาดเล็กกระจาตัวอยู่รอบๆเรียกหัวเมืองชั้นจัตวา โดยยกเลิกเมืองพระยามหานคร จากเดิมที่มีเมืองศูนย์กลางประจำภูมิภาค คอยดูแลและทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาให้กับกรุงศรีอยุธยา มาเป็นรูปแบบที่ทุกเมืองมีอิสระต่อกัน ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn12|[12]]] จึงทำให้เมืองมีเสถียรภาพมากขึ้นและกรุงศรีอยุธยาก็สามารถเข้าไปจัดการได้อย่างได้โดยตรง ส่งผลโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจอย่างแน่นอน เพราะเมื่อระบบการเมืองมีเสถียรภาพ ย่อมสามารถจัดการและจัดสรรสินค้าภายในพระราชชอาณาจักรได้หรือการเข้ามาของชาติตะวันตกที่มีมากขึ้น เพราะกรุงศรีอยุธยาสามารถจัดสรรสินค้าตามความต้องการได้
 
ในช่วงเวลาตั้งแต่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์จนถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในพระราชพงศาวดารจะกล่าวถึงเมืองมะริดมากเป็นพิเศษในด้านการปกครอง เป็นไปได้หรือไม่ว่าราชสำนักอยุธยามีความตื่นตัวมากขึ้น เพราะเป็นครั้งแรกที่พม่ายักทัพเพื่อทำสงครามมาถึงกรุงศรีอยุธยาและเป็นสงครามช่วงยาวๆที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
 
'''[[สมเด็จพระเอกาทศรถ|รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ]] (พ.ศ. 2148-2153)'''
 
อิทธิพลการค้าของชาติโปรตุเกสในทวีปเอเชียลดน้อยลงไปอย่างมาก ด้วยเพราะประเทศโปตุเกสถูกประเทศสเปนเข้ายึดครองระหว่างปี พ.ศ. 2123-2183 ทำให้ชาติฮอลันดาได้ก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก (The Dutch East India Company) หรือภาษาดัตช์ที่สะกดแบบเก่า (Vereenigde Oostindische Compagnie or VOC) หมายถึง United East Indian Company แปลว่า "สหบริษัทอินเดียตะวันออก") ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2145 เพื่อผูกขาดการค้าในแถบตะวันออกืบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาได้รับมอบเอกสิทธิ์ในการเจรจาทางการค้ากับเจ้าผู้ปกครองชาวพื้นเมืองต่างๆ และมีกองทหารและกองเรือรบเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ทางการค้าในที่สุดฮอลันดาสามารถตั้งสถานีการค้าขั้นที่เมืองปัตตาเวียเพื่อเป็นศูนย์กลางการดำเนินการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกทั้งหมด
 
ฮอลันดาเข้าติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกใน พ.ศ. 2147 และตั้งสถานีการค้าที่กรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2151-2308 โดยเริ่มต้นที่เมืองปัตตานีซึ่งเป็นหัวเมืองประเทศราชในขณะนั้น  เป้าหมายและสิ่งสำคัญที่ฮอลันดาคือต้องการซื้อสินค้าจากจีนและหาช่องทางเข้าไปค้าขายในประเทศจีน โดยอาศัยเรือสำเภาของไทย  แต่สยามอนุญาตให้ชาวฮอลันดาเข้ามาแลกเปลี่ยนค้าขายกับอยุธยาเท่านั้น ดังนั้นบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาจึงล้มเหลวที่จะอาศัยเรือสำเภาของอยุธยาเข้าไปค้าขายยังประเทศจีนได้  แต่ฮอลันดาก็ยังสนใจที่อยู่หาลู่ทางการค้าที่กรุงศรีอยุธยาต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากอยุธยามีสินค้ามากมายทั้งสินค้าประเภทของป่าและธัญญาหาร เช่น ไม้ยาง ไม้กฤษณา  ดีบุก หนังสัตว์  น้ำมันมะพร้าว และข้าว ชาวฮฮลันดาจึงเห็นประโยชน์ถึงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรจากการเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา
 
ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดากับราชสำนักอยุธยาในปลายพุทธศตวรรษที่ 22 รุ่งเรืองมาก  คณะทูตจากราชสำนักเดินทางไปกรุงเฮก และได้เข้าเฝ้าถวายพระราชสาสน์แด่กษัตริย์ฮอลันดาใน พ.ศ. 2151 ถือได้ว่าเป็นคณะทูตสยามชุดแรกที่เดินทางไปถึงทวีปยุโรป
 
จากบันทึกชาวฮอลันดาสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ถูกบันทึกขึ้นในปี พ.ศ. 2151-2163 และ พ.ศ. 2167-2185 นั้นระบุถึงการที่พระองค์ทรงยกการควบคุมการค้าที่เมืองมะริดและตะนาวศรีให้บริษัทอินเดียตะวันออกซึ่งเป็นบริษัทการค้าของชาวฮอลันดา[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn13|[13]]] เป็นไปได้ว่าการอนุญาตของพระองค์ในครั้งนี้ เพื่อให้ชาติฮอลันดาเข้ามาช่วยควบคุมผลประโยชน์และสอดคล้องกับชาติโปรตุเกสที่ดำเนินการค้ามาก่อนแต่ในช่วงนี้ถูกลดบทบาทความสำคัญลงไปแล้ว
 
เมืองมะริดถูกให้ความสำคัญอย่างเรื่อยมา ในรัชสมัยนี้พระองค์ทรงยกให้ฮอลันดาเข้าไปควบคุมท่าเรือ โดยหากอ่านเอกสารบันทึกขอชาวฮอลันดาจะพบว่าสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเสนอข้อเสนอนี้ด้วยพระองค์เองและฮอลันดาเองก็คิดทบทวนอยู่หลายครั้ง จนในที่สุดฮอลันดาก็กล่าวถึงการที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงยกเมืองมะริดให้ชาวฮอลันดาเข้าช่วยดูแลการค้า ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่าการต่อรองในครั้งเพื่อแลกกับการคุ้มครองที่จะได้รับ เพราะช่วงนั้นชาติโปรตุเกสลดบทบาทลงเนื่องจากสเปนเข้ายึดครองโปรตุเกส มหาอำนาจอย่างฮอลันดาจึงกลายเป็นผู้นำขึ้นมา นั่นแสดงว่ามูลค่าของเมืองมะริดนั้นต้องมากพอที่หยิบยกขึ้นมาเป็นสิ่งต่องรองได้อย่างแน่นอน และสัมพันธไมตรีระหว่างอยุธยากับฮอลันดา ต้องอยู๋ในระดับที่ดีอย่างแน่นอนเพราะมีการส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรด้วย ในส่วนนี้พระราชพงศาวดารไม่ได้กล่าวถึงเลย จะมีเพียงเอกสารชาวต่างชาติที่กล่าวถึงเท่านั้น เพราะอะไร
 
'''[[สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม|รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม]] (พ.ศ. 2154-2171)'''
 
ความสับสนของพระราชอำนาจที่มีต่อเมืองท่ามริดมีความขัดแย้งกันในช่วงนี้ กล่าวคือ[[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]] ความว่า ''“พม่ามอญล้อมตะนาวศรีแล้วกลายเป็นเมืองขึ้นของพม่ามอญไป”'' ถ้าดูจากพงศาวดารจะเห็นว่าเมืองมะริดตกไปอยู่ในพระราชอำนาจของอาณาจักรตองอู โดยสอดคล้องกับพระราชพงศาวดารพม่าที่กล่าวถึงในรัชกาลพระเจ้าอโนเพตลุนหรืออีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าอังวะมหาธรรมราชา ปี พ.ศ. 2158 โปรดให้ยกทัพหลวงไปเอาเมืองเมาะตะมะและให้พระราชอนุชายกทัพไปยึดเมืองทวายและแต่งกองทัพไปตีเมืองตะนาวศรี โดยที่เมืองนั้นมีทหารโปรตุเกสของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามตั้งรับต่อสู้ มีปืนใหญ่ 4 กระบอก ยิงผลาญพม่าล้มตายมากกว่าจะเข้าเมืองได้ นั่นแสดงว่าทัพของพระเจ้าอโนเพตลุน (พ.ศ. 2148-2171) ไม่สามารถเอาชนะกองทัพสยามที่เมืองตะนาวศรีได้  แต่ในเอกสารระบุว่าในปี พ.ศ. 2160 พม่าสามารถจัดการพื้นที่เหล่านี้ได้และมีการกล่าวถึงการตั้งเจ้าเมืองให้ปกครองดูแล นั้นแสดงว่าท้ายที่สุดแล้วเมืองมะริดตกอยู่ภายใต้พระราชอำนาจของพระองค์[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn14|[14]]] ในปี พ.ศ. 2161 อยุธยากับพม่าทำสัญญาเลิกทำสงครามต่อกันโดยอยุธยายกเมืองเมาะตะมะให้พม่า ส่วนพม่าก็ยกเชียงใหม่ให้อยุธยา[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn15|[15]]]
 
เอกสารอีกฉบับหนึ่งเป็นหนังสือขออนุญาตเข้ามาทำการค้าขอชาวต่างชาติ เขียนโดยออกญาไชยาเมืองตะนาวศรี ซึ่งเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่ออนุญาตให้พ่อค้าชาวเดนมาร์คเขามาค้าขายผ่านเมืองมะริดในปี พ.ศ. 2164 ซึ่งเป็นไปตามพระราชกำหนดที่ถูกออกไว้ในเมืองตะนาวศรีว่า “ลูกค้าต่างประเทศที่เข้ามาซื้อขายที่ท่าเมืองตะนาวศรี (มะริด) แล้วกลับออกไปก็ดีหรือจะเดินทางต่อไปกรุงศรีอยุธยาก็ดี ต้องให้ลูกค้าเหล่านั้นเดินทางโดยสะดวก โดยมีการเสียภาษีจังกอบ (ภาษีผ่านทางหรือภาษีปากเรือ) และค่ารีดหรือฤชา (ค่าธรรมเนียม) ในราคาพิเศษ”[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn16|[16]]] ในเอกสารมีคำว่า “เรธอธีลมาศ” คำนี้พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นภาษาโปรตุเกส คำว่า Rei de Dinamarca ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ค ซึ่งหากข้อสันนิษฐานดังกล่าวเป็นจริง จะหมายถึง พระเจ้าคริสเตียนที่ 4 (Christian IV) (ครองราชย์ระหว่างปีค.ศ. 1588-1648 ตรงกับ พ.ศ. 2131-2191) คำดังกล่าวปรากฏในเอกสารสมัยอยุธยาหลายแห่ง มีการสะกดแตกต่างกันไป บางฉบับเขียนว่า เรฎ่ดีลรามาศ หรือ เรฎดีลมาศ[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn17|[17]]]
 
หากมองในมุมของพม่าก็ไม่ลดละที่จะเข้ามาครอบครองเมืองมะริด ถึงขณะที่ช่วงหนึ่งก็สามารถเอาชนะและมีอำนาจเหนือพื้นที่บริเวณนั้น ในขณะที่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้ลดละที่จะมีอำนาจเหนือพื้นที่บริเวณนี้เลย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2261 ที่มีการทำสนธิสัญญาระหว่างกัน ในมุมของอยุธยาคงทำเพื่อการป้องกันเมืองท่าฝั่งตะวันตกให้ปลอดภัย เหตุที่ยอมแลกกับเมาะตะมะนั้นคงเป็นเพราะพื้นที่ส่วนนั้นอยู่ใกล้กับอาณาจักรของพม่า ถึงอยุธยามีสิทธิ์เหนือพื้นที่บริเวณนั้น แต่ไม่นานก็ต้องยกให้พม่าอยู่ดี เพราะการจะเข้าไปดูแลหรือป้องกันให้ทันท่วงทีในยามสงครามนั้นเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ในบันทึกของวันวลิต ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ยังกล่าวถึงการสร้างป้อมปราการใหม่และแนวป้องกันใหม่ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมด้วย แสดงว่าพระองค์รับรู้แล้วว่า เมืองมะริด จะต้องตกเป็นเป้าในเวลาต่อไป จึงหาแนวทางการป้องกันและการตั้งรับ ให้กับเมืองมะริด
 
'''[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง|รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]] (พ.ศ. 2173-2199)'''
 
ผู้อำนวยการคนใหม่ของ[[บริษัทดัตช์อีสต์อินเดีย]]ประจำกรุงศรีอยุธยานามว่านาย[[เยเรเมียส ฟาน ฟลีต]] ( [[Jeremias van Vliet]]) ในปี พ.ศ. 2176-2185 โดยเขาได้บันทึกเอกสารการพรรณาเรื่องราชอาณาจักรสยาม (Description of the Kingdom of Siam) ในปี พ.ศ. 2179 โดยเขาได้บันทึกเกี่ยวกับมะริดไว้ดังนี้ “พระราชอาณาจักรมีเมืองหลวงสำหรับภูมิภาคต่าง 18 หัวเมือง หนึ่งในนั้นคือเมืองตะนาวศรีอันมีมะริดเป็นเมืองท่ามะริดเป็นกุญแจและเป็นปากทางของพระราชอาณาจักร กำแพงรอบเมืองมะริดและตะนาวศรีนอกจากจะมีปราการที่เป้นธรรมชาติแล้วยังมีการสร้างค่ายคูประตูหอรบที่สร้างไว้เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเมืองตะนาวศรีมีไม้ฝางและข้าวเป็นของที่มีชื่อเสียง เป็นทางผ่านสำคัญที่พวกพ่อค้าต่างชาติซึ่งมาเยือนเข้ามาทางนี้ โดยอยู่ในทำเลที่เหมาะสมสำหรับเรือเดินทะเลและสำเภาจีนทั้งหลาย”[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn18|[18]]]
 
ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองมีการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองอยู่หลายครั้งซึ่งรวมไปถึงมะริดและตะนาวศรีได้ก่อกบฎขึ้น พระองค์ทรงใช้เวลานานหลายปีกว่าจะปราบปรามได้เรียบร้อย[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn19|[19]]]
 
การพูดถึงของนายเยเรเมียส ฟานฟลีต ข้าพเจ้ามองว่า การที่ฟานฟลีตสื่อถึงเมืองมะริดว่าเป็นกุญแจ เป็นไปได้หรือไม่ว่า ฟานฟลีตกล่าวถึงเพราะเมืองมะริดในตอนนั้น มีชาวฮอลันดาเป็นผู้ควบคุมอยู่
 
'''[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช|รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] (พ.ศ. 2199-2231)'''
 
ในช่วงนี้ปรากฏเอกสารชาวฮอลันดาซึ่งเป็นเอกสารจากบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาที่กล่าวถึงการถูกลดบทบาทในสมัยนี้เพราะชาติฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อราชสำนักอยุธยา ประกอบกับนโยบายทางการค้าของชาติ[[ฮอลันดา]]ที่ทำให้สยามเสียเปรียบดุลการค้าและการประพฤติตนที่ไม่เหมาะสมในกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเมื่อมองในมุมของฮอลันดาก็ไม่ได้ยินดีกับสิ่งที่กรุงศรีอยุธยาทำมากนัก ด้วยหัวใจของฮอลันดาคือการขยายการค้าจึงต้องการที่จะหาตลาดเพื่อกระจายสินค้า ด้วยหวังตั้งใจจะเปิดตลาดใหม่ที่เขมร แต่ในรัชสมัยก่อนหน้ามีปัญหาข้อขัดแย้งกับเขมร เมื่อฮอลันดาตั้งสถานีการค้าที่เขมรเมื่อปี พ.ศ. 2199 แล้วนั้นความสัมพันธ์ตกต่ำลงอย่างมาก[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn20|[20]]] ฝรั่งเศสจึงเป็นชาติที่พระองค์หวังให้เข้ามาคานอำนาจกับชาวฮอลันดาที่มีสิทธิ์ในเมืองท่ามะริดมาก่อนตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถซึ่งมีปัญหาระหว่างระหว่างราชสำนักสยามกับชาติฮอลันดา ครั้งในปี พ.ศ. 2228 คณะราชทูตฝรั่งเศสโดยมี[[เชอวาลิเยร์ เดอโชมองต์]] เข้าทำการเจรจาโดยมุ่งหมายให้พระนารายณ์หันไปนับถือศาสนาคริสต์และเจรจาทางการค้า โดยข้อเสนอหนึ่งที่ฝรั่งเศสต้องการอย่างยิ่ง คือขอเข้าควบคุมทางการค้าเมืองท่ามะริดจากเดิมที่จะเป็นเมืองสงขลา แสดงให้เห็นว่าชาติฝรั่งเศสเห็นแนวทางการค้าที่กว้างขวางกว่าของเมืองมะริดเพราะสามารถติดต่อกับรัฐที่อยู่ในบริเวณมหาสมุทรอินเดียและขนส่งสินค้ากลับฝรั่งเศสหรือยุโรปได้โดยตรง ผิดกับเมืองสงขลาที่มีระยะทางไกลกว่าและต้องแล่นเรือข้ามช่องแคบทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและใช้เวลาหลายวัน ในคราวนั้นพระองค์ทรงอนุญาตให้ชาติฝรั่งเศสมีสิทธิ์ค้าขายในเมืองตะนาวศรีซึ่งมีเมืองมะริดเป็นเมืองท่าได้โดยสะดวกและอนุญาตให้ชาติฝรั่งเศสสามารถตั้งกองกำลังทหารเพื่อควบคุมเมืองมะริดในฐานะเมืองท่าได้และยังได้เกาะหนึ่งของเมืองมะริดด้วย[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn21|[21]]]
 
ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันมีคณะเผยแพร่คริสต์ศาสนาจากฝรั่งเศสเข้ามาสยาม หนึ่งในคณะนั้นมีนายนิโกลาส์ แชร์แวส (Nicolas Gervaise) นักเดินทางชาวฝรั่งเศสได้ร่วมติดตามมาด้วย โดยเขาได้บันทึกการเดินทาง ประวัติศาสตร์ การเมืองและธรรมชาติวิทยา ไว้เป็นเอกสาร โดยเขาได้อาศัยอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2224-2229 ก่อนเดินทางกลับฝรั่งเศส โดยเขาได้บันทึกเกี่ยวกับเมืองมะริดความว่า “เมืองท่าสำคัญของราชอาณาจักรนี้คือ มะริด กับโยนสลัม (สันนิษฐานว่าเป็นเมือง[[จังหวัดภูเก็ต|ภูเก็ต]]) โดยเมืองท่าแรกนั้นได้ชื่อมาจากเกาะเล็กๆใกล้เคียงที่คนสยามเรียก Mygri แต่เราเรียก Myrguy เป็นทางกว้างกำบังลม ลางคนเรียกเทนนัสเซริม แต่ไม่มีหลักพิจารณาจะเป็นเช่นนั้นได้เพราะเทนนัสเซริมอยู่ไกลเข้าไปถึง 30 ลี้ อย่างไรก็ตามเมืองท่านี้งดงามและมั่นคงที่สุดในชมพูทวีป ทางเข้าสะดวกทุกเวลาและเข้าเทียบท่าได้หลายแห่ง เป็นทำเลเหมาะสมสำหรับซ่อมเรือและใบ มีไม้อันจำเป็นต่อการต่อเรือใหญ่ๆ ที่ซื้อขายกันด้วยราคาถูก ลางทีไปตัดไม้มาใช้เอง เมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีเรือเล็กลำหนึ่งของบริษัทการเดินเรือฝรั่งเศส ถูกพายุในทะเลาเสาหักและหลบเข้าไปในเมืองท่าแห่งนี้ ก็พบอุปกรณ์อันมากสามารถซ่อมแซมให้เดินทางต่อไปได้ โดยไม่ต้องซื้อหาแก่ประการใดเลย”       โดยเขายังกล่าวถึงความสำคัญของเมืองท่าที่นครศรีธรรมราช (Ligor) ว่าเป็นเมืองท่าขนาดเล็กไม่สำคัญเท่ามะริดและโยสลัมและยังกล่าวถึงผู้คนที่เมืองมะริดไว้ว่า “ราษฎรส่วนใหญ่มักเป็นคนต่างถิ่น ภาษาพม่าและภาษามอญยังใช้กันอยู่ที่นั่นมากกว่าภาษาสยาม”[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn22|[22]]]
 
คณะทูตฝรั่งเศสอีกชุดหนึ่งนำโดย [[ซีมง เดอ ลา ลูแบร์|ซิงมง เดอ ลา ลูแบร์]] ([[ซีมง เดอ ลา ลูแบร์|Simon de La Loubère]]) ซึ่งด้รับการแต่งตั้งโดยสมเด็จ[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าหลุยส์ที่ 14]] ให้เป็นหัวหน้าคณะทูตฝรั่งเศสร่วมกับนายโกลด เซเบอแร ดูว์ บูแล (Claude Céberet du Boullay) เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2230 เพื่อเจรจาในเรื่องศาสนาและการของฝรั่งเศส โดยการเดินทางมา ลาร์ ลู แบร์ เข้ามาทางเมืองมะริด โดยกล่าวถึงเมืองระริดว่า “เมืองมะริด (Merguy) นั้นตั้งอยู่ในแง่ด้าตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่(คาดัน) ที่มีผู้คนมากเกาะหนึ่ง ซึ่งปลายแม่น้ำอันสวยงามสายหนึ่งล้อมขนาดเป็บขอบคู อันชาวยุโรปเรียกเทนัสเซริม (Tenassrim) ตามชื่อเมืองๆหนึ่งตั้งอยู่ห่างจากฝั่งทะเลเข้าไป15ลี้(60KM.) แม่น้ำสายนี้ไหลลงมาจากทางเหนือหลังผ่านราชอาณาจักรอังวะและราชอาณาจักรพะโคแล้ว ก็ไหลผ่านลงมาในแว่นแคว้นการปกครองของสยามแล้วจึงไหลออกสู่เบ็งกะหล่อ เป็นทางน้ำสามแควโอบตัวกันเป็นเกาะใหญ่ ท่าเรือเมืองมะริดนั้นงดงามที่สุดในชมพูทวีป ตั้งอยู่ระหว่างเกาะนี้กับอีกเกาะหนึ่ง(คาดัน) ซึ่งไม่มีคนอาศัย”[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn23|[23]]] นากจากนี้เขายังกล่าวถึงตำแหน่งเจ้ากินเมืองมี 6 ตำแหน่ง คือ 1.พระยา 2.ออกญา 3.ออกพระ 4.ออกหลวง 5.ออกขุน 6.ออกหมื่น สำหรับเมืองตะนาวศรี อันมีเมืองมะริดเป็นเมืองท่า, นครศรีธรรมราช, นครราชสีมา เป็นเมืองขนาดออกญา และเมืองข้างปากใต้ หนึ่งในนั้นมีตะนาวศรีมีเมืองขึ้น 12 เมือง และสยามยังมีหัวเมืองทางใต้อีก 13 หัวเมืองที่เป็นเอกเทศ[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn24|[24]]]
 
ในรัชสมัยเป็นอีกยุคหนึ่งของปัญหาทางการที่ส่งผลต่อเมืองมะริดโดยตรง ด้วยแนวคิดของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ผู้ควบคุมการค้าของราชสำนักซึ่งในภายหลังจะได้รับตำแหน่งสมุหนายก ที่จะนำชาวต่างชาติเข้ามาเป็นตัวแทนการเดินเรือในนามของราชสำนัก เพื่อให้การค้ามีความเจริญมากยิ่งขึ้น จึงมีการเกลี้ยกล่อมชาวอังกฤษที่ไม่พอใจการทำงานของบริษัทการค้าอังกฤษ ให้เข้ามารับราชการในราชสำนักและอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถฝากของเพื่อการค้าขายไปบนเรือสำเภาหลวงได้ จึงที่ให้อังกฤษไม่พอใจเป็นอย่างมากต่อราชสำนักและเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ สอดคล้องกับกรุงศรีอยุธยามีปัญหากับหัวเมืองและเป็นช่วงเดียวกับการที่กรุงศรีอยุธยาส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ประกอบกับการค้ากับชาวฮอลันดาที่มีปัญหาจนเป็นเหตุให้ฮอลันดายกเรือรบมาปิดถลางและตะนาวศรี อันหมายถึงเมืองมะริด จึงเป็นเหตุให้สมเด็จพระนารายณ์ต้องทบทวนสนธิสัญญาการค้ากับฮอลันดาอีกครั้ง จึงเป็นแนวทางที่อังกฤษในฐานะผู้เสียประโยชน์ที่จะใช้กลวิธีเหล่านี้เพื่อเรียกร้องสิทธิทางการค้า อังกฤษยกเรือมาปิดที่เมืองมะริดและกองบัญชาการอังกฤษที่ป้อมเซนต์ยอร์ชได้ส่งสาส์นถึงพระเจ้ากรุงสยาม ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2230 ความว่า "อังกฤษได้ส่งเรือรบ 2 ลำ ชื่อคูร์ตานาหรือเคอร์ตานและเรือกำปั่นเจมส์ พร้อมด้วยกองทหาร 40 คน มาปิดล้อมเมืองท่ามะริดในเดือนมิถุนายนและจะควบคุมเรือในเมืองท่าทุกลำจนกว่าสยามจะชดใช้ค่าเสียหายกว่า 65,000 ปอนด์สเตอร์ลิง เนื่องจากบริษัทอินเดียตะวันออกถูกปล้นและคดโกง" โดยอังกฤษได้ยิงปืนใหญ่ใส่เมืองมะริด ซึ่งในเวลานั้นราชสำนักอยุธยาได้ตั้ง ริชาร์ด เบอร์นาบี ชาวอังกฤษให้เป็นเจ้าเมืองดูแลและตั้ง นายแซมมวล ไวท์ เป็นเจ้าท่าเมืองมะริด ในช่วงเวลาเดียวกันดังที่กล่าวไปแล้วว่าสมเด็จพระนารายณ์ได้ยกเมืองมะริดและบางกอกให้ฝรั่งเศสเข้าดูแล รัฐบาลอังกฤษจึงส่งกัปตันเวลท์เดนคุมเรือรบชื่อเพิร์ลเดินทางมายังมะริดเพื่อเตรียมบุกยึดป้อมต่างๆ ทั้งที่เมืองมะริดและรวมไปถึงเมืองตะนาวศรีด้วย ก่อนที่ฮอลันดาจะบุกเข้าโจมตีหรือชก่อนที่ฝรั่งเศสจะทำการเจรจาเสร็จ กัปตันเวลท์เดนบุกทำลายป้อมต่างๆและเข้ายึดเมืองมะริด จากนั้นได้ปักป้ายไว้รอบเมืองและประดับธงชาติอังกฤษด้วย จนกระทั่งวันที่  14 กรกฎาคม พ.ศ. 2230 เจ้าเมืองตะนาวศรีและชาวมอญพื้นพื้นเมืองตะนาวศรีได้เข้าปะทะกับชาวอังกฤษ เจ้าเมืองมะริดที่เป็นชาวอังกฤษถูกฆ่าตาย นายพลเวลท์เดน ผู้บัญชาการกองเรือและนายแซมมวล ไวท์ เจ้าท่าเมืองมะริดได้หลบหนีขึ้นเรือคูร์ตานา ส่วนกัปตันเรือเรสโซก็หลบหนีออกไปด้วยความทุกลักทุเลและแล่นเรือไปหลบภัยที่ปลอติกัทและบอมเบย์ ในประเทศอินเดีย เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วต่อมาสมเด็จพระนายราณ์ทรงประกาศสงครามกับอังกฤษเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2230 โดยมีราชสำนักฝรั่งเศสเป็นฝ่ายสนับสนุนเป็นผลมาจากการเจริญสัมพันธไมตรีและสนธิสัญญาการยกเมืองบางกอกและมะริดให้กับฝรั่งเศส[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn25|[25]]]  จากบันทึกของชาวฝรั่งเศสชื่อนายฟรังซัง อังรี ตุรแปง (François Henri Turpin) กล่าวว่า “ข้าหลวงแห่งปอนเดอชี่หรือปองดิเชอรี่ ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของประเทศอินเดีย จะส่งเรือหลายลำมายังประเทศสยามเป็นประจำปีและเรือลำหนึ่งเดินทางมายังเมืองมะริดแต่ลำพังเสมอ พวกเขาเหล่านั้นจะได้รับการยกเว้นในการเสียภาษีในราคาปกติ”[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn26|[26]]]
 
เมื่อเข้าสู่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ชาติฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลต่อราชสำนักอยุธยามากยิ่งขึ้นมีการเจริญความสัมพันธ์ทางการทูตหลาย ทั้งนี้คงเป็นเพราะต้องการให้ชาติฝรั่งเศสเข้ามาคานอำนาจกับชาติฮอลันดาที่มีสิทธิ์ในเมืองมะริดและตะนาวศรีมาก่อนตั้งแต่ในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถเพราะปัญหาระหว่างบริษัท VOC กับ ราชสำนักสยามซึ่งสะสมมานาน จึงทำให้ชาติฮอลันดาในรัชสมัยนี้ลดบทบาทความสำคัญในด้านการค้าที่เมืองมะริดลง
 
บันทึกชาวต่างชาติอีกฉบับหนึ่งเป็นบันทึกการเดินเรือของคณะราชทูตแห่งกษัตริย์สุไลมานแห่งราชวงศ์เศาะฟะวียะฮ (พ.ศ. 2211-2437) เพื่อเป็นการสนองพระเดชพระเดชคุณที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ส่งราชทูตไปก่อน โดยมีผู้บันทึกชื่อ อิบนิ มูฮัมมัด อิบรอฮิม โดยเริ่มเดินทางจากท่าบันดัรุอุบบาสเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2228 และกลับถึงท่านี้ตามเดิม 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2231 โดยมีการอัญเชิญพระราชสาส์นเข้ามาทางเมืองมะริด “ในที่สุดเราก็มาถึงเกาะอันดามัน เรือเกือบเกยหินโสโครกแตก แต่เราก็รอดจนมาถึงเมืองมะริด พอชาวเมืองได้ยินเสียงปืนใหญ่ของเรา ก็ออกมานำร่องพาเรือเข้าเทียบท่า พวกชาวเมืองประโคมมโหรีต้อนรับแขกเมือง มีเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งคล้ายหม้อทำด้วยโลหะและกระจกมีคันสายสีมีขลุ่ย มีกลอง เขาตีจนสนั่น เขาอัญเชิญพระราชสาส์นไว้บนเรืออีกลำหนึ่งมีผ้าแดงปูและอัญเชิญพระราชสาส์นไว้ด้านบนซึ่งต้องใช้เจ้าหน้าที่ยกถึง4 คน เวลาอัญเชิญคณะราชทูตต้องเดินตามหลัง ที่บนเนินดินใกล้ๆ วัดแห่งหนึ่ง เขาสร้างศาลาไว้เป็นที่สถิตของรูปสลักสักการะปิดทองจนอร่าม เข้าอัญเชิญสาส์นมาไว้ที่นี่ ” มีอาคารหลักหนึ่งชื่อ ซุลฟีกุอรุ ผู้สร้างคือชาวอิหร่านที่เข้ามาตั้งตัวจนร่ำรวย อาคารหลังนี้สวยงาม ปูด้วยพรมหนา นายมุฮัมมัดศอดิกุ-บุตรชายฮัจญีซะลีม จัดการหาและทำอาหารด้วยตนเองเพราะชาวสยามไม่เข้าใจการปรุง  เราอยู่ได้ 2-3 วัน จึงไปเมืองตะนาวศรีต่อไป[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn27|[27]]]
 
ในรัชสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่มีชาวยุโรปเข้ามายังกรุงศรีอยุธยามากที่สุด จึงทำให้มีความหลากหลายขึ้นมาอย่างมาก ทั้งนี้เพราะในรัชสมัยนี้เป็นยุคที่กรุงศรีอยุธยามีเสถียรภาพทางการค้าเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยฝรั่งเศสเป็นชาติที่เข้ามามีบทบาทในยุคสมัยนี้ เนื่องจากสมเด็จพระนารายณ์ต้องการกลุ่มอำนาจที่มากกว่าขุนนางสยามด้วยกัน นั่นแสดงให้เห็นว่าการเมืองอยุธยาในตอนนั้นไม่ค่อยมีเสถยรภาพมากนัก จึงเกิดการพึ่งพากับฝรั่งเศสขึ้น การที่พระองค์ทรงยกให้ฝรั่งเศสเข้ามาควบคุมดูแล ก็เพื่อการคุ้มครองและความปลอดภัยของกรุงศรีอยุธยา สำหรับบันทึกของชาวต่างชาตินั้นปรากฏอย่างแพร่หลายในสมัยนี้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นบันทึกของชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาพร้อมกับคณะราชทูตหรือคณะเผยแพร่ศาสนา โดยจะพรรณาถึงเมืองมะริดว่าเป็นเมืองงาม เหมาะสมแก่การการค้าและการแลกเปลี่ยนสินค้า
 
หลังจากสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว สถานะและบทบาทของฝรั่งเศสลดลงอย่างมาก เนื่องจากสมเด็จพระเพทราชาในฐานะขั้วการเมืองที่อยู่ตรงข้ามกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและฝรั่งเศส ได้ต่อต้านการมีกองกำลังทหารฝรั่งเศส จึงได้มีการทำสนธิสัญญาให้กองกำลังฝรั่งเศสออกจากกรุงศรีอยุธยาแต่ทรงอนุญาตให้บาทหลวง และพ่อค้าชาวฝรั่งเศสอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไปได้ โดยการกล่าวถึงเมืองมะริดในสมัยอยุธยาตอนปลายนั้น กลับไปถูกกล่าวถึงมากนัก อาจเป็นเพราะการปฏิรูปทางการต่างประเทศในสมัยนี้ที่ทำให้ชาวต่างชาติที่เดินทางน้อยลง และเป็นผลให้การรับรู้หรือจดบันทึกก็น้อยลงไปด้วย ในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2310 โดยในพระราชพงศาวดารพม่าฉบับฮมันนันได้ระบุสาเหตุสงครามในครั้งนี้เพราะเหตุว่า เนื่องด้วยเรือกำปั่นร่วมธงพม่าต้องพายุซัดไปติดตื้น ณ เมืองมะริด พวกสยามจับและริบสิ่งสินค้าเอาเสียอยุติธรรมและในพระราชพงศาวดารฉบับแฟยาพุ่งกล่าวว่าพระเจ้าพม่าพิโรธพระเจ้ากรุงสยามด้วยเหตุไม่ยกพระราชธิดาอภิเษกถวายสมพระราชหฤทัยประสงค์[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn28|[28]]]   กองทัพพม่าได้เลือกเดินทางลงมายังเมืองมะริดและเข้าสู่เมืองตะนาวศรี ก่อนข้ามเทือกเขาตะนาวศรีสู่ฝั่งอ่าวไทย[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn29|[29]]] เป็นไปได้ว่าเมืองมะริดและตะนาวศรีในเวลานั้น ยังคงมีความเจริญเติบโตอย่างมากโดยเป็นผลจากการค้า มีคนจำนวนมากและทรัพยากรที่พร้อมจะเป็นเสบียงที่เพียงพอต่อกองทัพ จึงทำให้กษัตริย์แห่งกรุงอังวะเลือกจะเข้าตีเป็นอันดับแรกทั้ง 2 ครั้ง เมืองมะริดในเวลานั้นยังคงเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของกรุงศรีอยุธยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจการค้า จึงทำให้กองทัพอังวะเลือกเข้าโจมตีก่อนใช้เส้นทางคาบสมุทรเพื่อไปยังกรุงศรีอยุธยา
 
== '''สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ค้าขายผ่านเมืองมะริด''' ==
สินค้าที่อยุธยาส่งออกโดยมีเมืองมะริดเป็นตลาดกลางแลกเปลี่ยนสินค้าที่มีความหลากหลายตั้งแต่ของป่าและแร่โลหะที่หาได้อย่างล้นเหลือภายในพระราชอาณาจักรไปจนถึงเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน จากบันทึกของนายนิโคโล ดิมอนติ (Nicolo di Monti) นักเดินทางชาวอิตาลีที่เข้ามายังเมืองท่าตะนาวศรี (มะริด) ในปี พ.ศ. 1968 และปี พ.ศ. 1973 บันทึกไว้ว่าตะนาวศรีเป็นแหล่งผลิตและส่งออกของป่าและไม้ฝาง ส่งไปค้าขายยังอินเดีย[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn1|[1]]] หรือ นายอาร์ตือ เฟอร์นันเดส (Duarte Fernandes) ผู้แทนที่นำคณะชาวโปรตุเกสเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้บันทึกเรื่องราวของสยามไว้ตอนหนึ่งถึงเรื่องการค้าว่า การส่งออกของสยามนั้น มีทั้ง ข้าว, ครั่ง, กำยาน, ไม้ฝาง, เงิน, งาช้างและเพชร โดยส่งไปขายที่จีน มะละกาและอินเดีย[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn2|[2]]] ตลอดจนเป็นพ่อค้าคนกลางที่นำสินค้าจากโลกตะวันออกมาขายได้แก่ กำยาน,ทองแดง,เงิน,เครื่องถ้วยชาม,งานหัตถกรรม,ดีบุก,เครื่องเคลือบ,เครื่องเทศชนิดต่างๆ, ผ้าชนิดต่างๆ อันได้แก่ ผ้ากำมะหยี่ จาก อารเบีย, ไหมและพรม จากอิหร่าน ซึ่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 มีการผลิตไหม ผ้าขนสัตว์ พรม ในอิหร่านและตุรกี มีการพัฒนาคุณภาพและส่งออกสินค้าดังกล่าว[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn3|[3]]], ผ้าฝ้ายทอและผ้าพิมพ์ลายจากแคว้นคุชราตของอินเดียหน้าที่ของพระคลังสินค้าสมัยอยุธยานอกจากจะควบคุมการค้าแล้ว ยังได้ทำการผูกขาดสินค้าทั้งสิ้น 9 ชนิด ได้แก่ งาช้าง,ไม้ฝาง,ตะกั่วนม ,ไม้ดำ,ไม้แดง,ชัน,รัก,ครั่ง,จันทร์ชะมด[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn4|[4]]]  โดยพระคลังสินค้าจะกำหนดให้มีการส่งส่วยสิ่งของเหล่านี้เพื่อทำการส่งขายต่างประเทศ นายเฟอร์เนา เมนเดส ปินโต (Fernao Mendes Pinto) ชาวโปรตุเกสที่เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2083-2088 กล่าวถึงสินค้าของสยามว่าสินค้าต่างๆของสยามประกอบไปด้วย ไม้สัก, เงิน, เหล็ก, ดีบุก, ดินประสิว, กำมะถัน, นอกจากนี้ยังมีผ้าฝ้าย, ผ้าไหม, ไม้เนื้อหอม, ครั่ง, ถ่านหิน, ผ้าฝ้าย, ทับทิม, ไพลิน, งาช้าง, ทอง และแต่ละอย่างมีปริมาณมาก[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn5|[5]]]สินค้าอีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจคือช้าง มีบันทึกเกี่ยวกับการค้าช้างว่า พระเจ้ากรุงสยามโปรดให้จับช้าง 300-400 ตัวเพื่อนำมาขายให้กับต่างชาติ โดยพ่อค้าจากมหาสมุทรอินเดียจะนำสิ่งของหรือสินค้าประเภทอื่นๆมาแลกกับช้างที่เมืองมะริด ในเอกสารฉบับหนึ่งของชาวอังกฤษที่เข้ามาทำการค้าที่เมืองมะริดระบุวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2225 เรือกษัตริย์อยุธยาบรรทุกช้างจากมะริด 22 เชือก ไปเมืองมาสุลิปะตะนัม[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn6|[6]]] ซึ่งปัจจุบันอยู่ทิศตะวันออกสุดของรัฐอานธรประเทศโดยทิศตะวันออกติดกับอ่าวเบงกอล แต่ในช่วงหลังปีพุทธศักราช 2228 ลงมา ความนิยมช้างจากเมืองมะริดลดลง สอดคล้องจากบันทึกของกษัตริย์สุไลมานซึ่งได้กล่าวถึงการซื้อช้างจากที่อื่น[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn7|[7]]]  ซึ่งกลุ่มรัฐในฝั่งโคโรเมนเดล นั้นจะนำสินค้าจำพวก ผ้าทอ,เครื่องประดับ,และสินค้าบางชนิดจากยุโรป เข้ามาแลกเปลี่ยนระหว่างกัน
 
== '''บทวิเคราะห์การเรียกชื่อของเมืองมะริด''' ==
การออกชื่อเรียกเมืองมะริดนั้นมีความแตกต่างกันไป ทั้งเมืองเมืองมะริด, เมืองปริศ, เมืองมฤต หรือเมืองท่าของเมืองตะนาวศรี หรือเมืองเทนัสเซริมที่ชาวต่างชาติเรียกนั้น ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าทุกชื่อที่เรียกมานั้นสื่อถึงเมืองมะริดอย่างแน่นอน โดยการออกกชื่อเมืองมะริดนั้น ปรากฏหลักฐานเก่าที่สุดคือในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ โดยถูกบันทึกลงในพระราชพงศาวดารด้วย แสดงว่าต้องมีการรับรู้และรู้จักเมืองแห่งนี้อย่างแน่นอน ซึ่งในสมัยก่อนหน้านั้นจะถูกเอ่ยถึงว่าเมืองท่าของเมืองตะนาวศรี โดยความจริงแล้ว เมืองมะริดอยู่ลึกจากชายฝั่งทะเลไปกว่า 60 กิโลเมตร โดยมีลำนำตะนาวศรีเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างเมือง ทั้งนี้ปลายทางของแม่น้ำตะนาวศรีคือเมืองมะริดอย่างแน่นอน เพราะเมืองท่าของเมืองตะนาวศรีมีเมืองเดียว สำหรับการเรียกชื่อเทนัสเซริมนั้น มีความเป็นไปได้ว่าในช่วงแรกของการเข้ายังพื้นที่บริเวณนี้ ชุมชนริมทะเลนี้ยังไม่มีชื่อที่ชัดเจนหรืออาจมีการตั้งเมืองตะนาวศรีมาก่อนแล้ว ชาวต่างชาติจึงเรียกดินแดนนี้ว่า เทนัสเซริม ซึ่งแปลว่า ตะนาวศรี นั่นเอง สำหรับชื่อเมืองมะริดนั้น มีแนวคิด 3 แนวคิดของที่มาของชื่อด้วยกันคือ 1.มะริดเพี้ยนมาจากคำว่า Myeik ในภาษาพม่า 2.มะริดเป็นชื่อของยักษ์หรือ Beloo ที่อยู่ในพื้นที่แห่งนี้ ยักษ์ในความหมายในที่นี้คงหมายถึงเทพพื้นเมืองซึ่งเป็นความเชื่อท้องถิ่นในการนับถือชนพื้นเมืองและธรรมชาติที่ปรากฏร่วมในอินเดียและศรีลังกา 3.มะริดเป็นสถานที่ผูกม้า ตามตำนานกล่าวว่า กษัตริย์หลงรักนางยักษ์ในร่างของสาวสวยและตั้งเธอให้เป็นพระสนม ต่อมานางยักษ์กลั่นแกล้งพระมเหสีทำให้พระนางตาบอด เมื่อลูกพระมเหสีทราบก็ทรงโกรธ นางยักษ์จึงให้เจ้าชายนำขวดใส่สารไปส่งอีกเกาะหนึ่ง เจ้าชายแวะพักผ่อนนอนหลับและผูกม้าไว้ที่หนึ่ง ซึ่งมะริดแปลว่าที่ผูกม้า ระหว่างกลางดึกเจ้าเห็นแสงจากเกาะอีกฝั่งหนึ่งจึงตามแสงไปพบฤๅษีและเกิดการแปลงสารขึ้นและให้ไปเอามะนาวที่พื้นที่แห่งหนึ่งซึ่งถูกตีความเป็นตะนาวหรือตะนาวศรี สุดท้ายเจ้าชายสามารถช่วยมารดาจากอาการตาบอดได้[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftn1|[1]]] เป็นที่น่าสนใจว่าตำนานที่กล่าวมานี้แนวคิดและการดำเนินเรื่องเดียวกันกับนิทานเรื่องพระรถ-เมรีแต่มีตัวละครและสถานที่แตกต่างกันไป ตำนานเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงการที่ตำนานพระรถ-เมรีเป็นตำนานร่วมที่พบในดินแดนอุษาคเนย์เพราะพบทั้งในประเทศลาว กัมพูชา แต่มีรายละเอียดแตกต่างกันไป
 
สำหรับแนวคิดที่ 3 ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นตำนานความเชื่อของชาวมะริดที่เล่าต่อเป็นนิทาน สืบมาจนถึงปัจจุบัน (ดูรายการทีวีก็เล่าแบบนี้) เป็นไปได้หรือไม่ว่าตำนานชุดนี้ถูกถ่ายทอดในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะรูปแบบนิทานที่คล้ายกับนิทานสยามและประกอบกับสยามมีอำนาจเหนือพื้นที่บริเวณนี้เป็นช่วงเวลานาน จึงเกิดการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนกันเกิด ซึ่งการเลือกนิทานเรื่องนี้ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่า สอดคล้องกับคำและความหมายของภาษาถิ่นพอดีเพราะคำว่า มะริด นั้น มะก็คือม้าที่ก่อนคำ และ ริด เป็นภาษาถิ่นแปลว่าผูกนั่นเอง
----[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref1|[1]]] Ivanoff Jacques, A journey through the Mergui Archipelago. (Bangkok: White Lotus Press 2002),
----[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref1|[1]]]
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref2|[2]]]
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref3|[3]]]
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref4|[4]]] อนันต์ อมรรตัย บรรณาธิการ, คำให้การชาวกรุงเก่า (กรุงเทพฯ: จดหมายเหตุ. 2544), 200.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref5|[5]]]
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref6|[6]]] กรมศิลปากร, บันทึกเรื่องสัมพันธภาพระหว่างกรุงสยามกับนานาประเทศในคริศตวรรษที่ 17 เล่ม 3 (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร .2522), 58.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref7|[7]]] วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ. หนังกวาง ไม้ฝาง ช้าง ของป่า การค้าอยุธยาสมัยพุทธศตวรรษที่ 22-23 (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. 2550), 32-35
----[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref1|[1]]] นายต่อ แปล, มหาราชวงศ์พงษาวดารพม่า (กรุงเทพฯ: มติชน 2545 ), 75.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref2|[2]]] Ludouico de Varthema, The Travel of Ludouico de Varthema (London: Hakluyt Society. 1863),
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref3|[3]]] Francis Chichester, Along the Clipper Way (Newyork: Ballantine Books. 1966), 78.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref4|[4]]] ไกรฤกษ์ นานา, 500 ปี สายสัมพันธ์สองแผ่นดินไทย-โปรตุเกส (กรุงเทพฯ: มติชน. 2553), 88-91.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref5|[5]]] ฝรั่งบันทึกสยาม
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref6|[6]]] กรมศิลปากร, 470 ปี แห่งความสัมพันธ์ไทยและโปรตุเกส (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2531), 43,46.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref7|[7]]] กรมศิลปากร, 470 ปี แห่งความสัมพันธ์ไทยและโปรตุเกส (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2531), 51.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref8|[8]]] รวี สิริอิสสระนันท์, บรรณาธิการ, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ พันจันทนุมาศ (เจิม) (กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย. 2553), 141.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref9|[9]]] นายต่อ แปล, มหาราชวงศ์พงษาวดารพม่า (กรุงเทพฯ: มติชน0 2545 ), 84.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref10|[10]]] กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์, พระราชพงศาวดารพม่า (นนทบุรี: ศรีปัญญา. 2550), 133.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref11|[11]]] กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, พระราชพงศาวดารไทยรบพม่า. (กรุงเทพฯ: มติชน . 2555), 39-53.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref12|[12]]] ขุนนางอยุธยา
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref13|[13]]] กรมศิลปากร, เอกสารของฮอลันดาสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2151-2163 และ พ.ศ. 2167-2185 (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2513), 24,25,44,57.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref14|[14]]] กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์, พระราชพงศาวดารพม่า (นนทบุรี: ศรีปัญญา. 2550), 224-225.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref15|[15]]]
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref16|[16]]] ออกญาไชยาธิบดีศรีณรงคฤๅไชย, หนังสือออกญาไชยาเมืองตะนาวศรี (2164).
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref17|[17]]] ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, <nowiki>http://www.sac.or.th</nowiki> [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2559
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref18|[18]]] กรมศิลปากร, รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิต) (กรุงเทพฯ: 2548), 15-16
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref19|[19]]] กรมศิลปากร, มรดกวัฒนธรรมไทยสมัยพระนครทวารวดีศรีอยุธยา (พ.ศ. 1890-2310) (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2543), 120.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref20|[20]]] อนงคณา มานิตพิสิฐกุล, ไทยกับชาติตะวันตกสมัยอยุธยา (กรุงเทพฯ: ปิรามิด. 2545), 44-45.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref21|[21]]] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, อยุธยา: ประวัติศาสตร์และการเมือง (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราฯ. 2548), 194-195.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref22|[22]]] นิโกลาส์ แชร์แวส, ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (พระนคร: ก้าวหน้า. 2506), 12-13,52.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref23|[23]]] ซิงมง เดอ ลา ลูแบร์, จดหมายเหตุลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม (นนทบุรี: ศรีปัญญา. 2552), 40.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref24|[24]]] เล่มเดียวกัน, 250.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref25|[25]]] ไกรภพ หมื่นแสนจันทร์ดำ, สยามรบฝรั่งเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา (กรุงเทพฯ: เจ้าพระยา. 2557), 209-217.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref26|[26]]] ฟรังซัวร์ อังรี ตุรแปง, ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2522), 217.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref27|[27]]] ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ แปล, บันทึกสำเภากษัตริย์สุลัยมาน (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราฯ. 2525), 9-10.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref28|[28]]] กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์, พระราชพงศาวดารพม่า (นนทบุรี: ศรีปัญญา. 2550), 266.
 
[[:ไฟล์:///C:/Users/Wanna/Downloads/ทบทวนวรรณกรรม.docx# ftnref29|[29]]] รวี สิริอิสสระนันท์, บรรณาธิการ, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ พันจันทนุมาศ (เจิม) (กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย. 2553), 372-373, 375-381
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มะริด"