ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมกเยล วังชุก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 8:
|พระราชอิสริยยศ = [[พระมหากษัตริย์]]แห่ง[[ประเทศภูฏาน|ภูฏาน]]
|พระราชบิดา = [[สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก]]
|พระราชมารดา = [[สมเด็จพระราชินีเชอร์ริง ยางดน วังชุก|สมเด็จพระบรมราชินีเชอร์ริง ยางดน วังชุก พระบรมราชชนนี]]
|พระบรมราชินี = [[เจตซุน เพมา|สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก]]<br>([[พ.ศ. 2554]] - ปัจจุบัน)
|พระราชสวามี =
|พระราชโอรส/ธิดา = [[เจ้าชายจิกมี นัมเกล วังชุก|เจ้าฟ้าชายจิกมี นัมเกล วังชุก]]
|ราชวงศ์ = [[รายพระนามพระมหากษัตริย์ภูฏาน|ราชวงศ์วังชุก]]
|ทรงราชย์ = [[16 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2549]]
|พิธีบรมราชาภิเษก = [[6 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2551]]
บรรทัด 22:
|}}
 
'''สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก''' ([[ภาษาซองคา]] : འཇིགས་མེད་གེ་སར་རྣམ་རྒྱལ་དབང་ཕྱུག་<ref name="gov-legacy">{{cite web|url=http://www.bhutan2008.bt/dz/node/529|accessdate=2008-11-06|title=A Legacy of Two Kings|publisher=Bhutan Department of Information Technology}}</ref>) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่ง[[ประเทศภูฏาน|ราชอาณาจักรภูฏาน]] รัชกาลรัชสมัยที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก<ref> {{cite web |last=Das |first=Biswajyoti |title=Bhutan's new king committed to democracy |publisher=''[[Boston Globe]]'' |date=2006-12-18 |url=http://www.boston.com/news/world/asia/articles/2006/12/18/bhutans_new_king_committed_to_democracy/?rss_id=Boston.com+%2F+News |accessdate=2008-11-06}}</ref> ทรงได้รับการยกย่องจากชาวภูฏานรวมถึงชาวไทยส่วนใหญ่ว่ามีพระจริยวัตรที่งดงาม และเป็นที่รักยิ่งของประชาชนชาวภูฏาน
 
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังซุก ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า จากการที่ทรงวางพระองค์อย่างเป็นกันเองในหมู่ประชาชน จึงสร้างความประทับใจแก่พสกนิกรอย่างสูง ถึงแม้ว่าพระองค์ไม่ต้องทรงรับพระราชภารกิจการบริหารประเทศ เนื่องจากสมเด็จพระบรมราชบิดาได้ทรงวางระบอบปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นมาอยู่ก่อนแล้ว แต่พระองค์เองก็ยังทรงเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ในการสร้างเอกภาพและเสถียรภาพ ในประเทศที่มีประชากรเพียง 650,000 คน โดยมุ่งเน้นด้านความสุขมวลรวมของประชากรภายในประเทศเป็นสำคัญ
 
== พระราชประวัติ ==
เสด็จพระราชสมภพเมื่อ [[21 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2523]] พระองค์เป็นพระราชโอรสใน [[สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก]] และ [[สมเด็จพระราชินีเชอร์ริง ยางดน วังชุก|สมเด็จพระบรมราชินี อาชิ เชอริง ยางดน วังชุก พระบรมราชชนนี]] ซึ่งทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีและสมเด็จพระมเหสีอัครมเหสีองค์ที่สามในบรรดาพระมเหสีอัครมเหสีทั้งสี่พระองค์ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงมีพระราชขนิษฐาและพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา ซึ่งมีพระนามว่า [[เจ้าหญิงอาชิ เดเชน ยังซัม|เจ้าฟ้าหญิงอาชิ เดเชน ยังซัม]] และพระราชอนุชามีพระนามว่า [[เจ้าชาย ดาโช จิกมี ดอร์จิ วังชุก|เจ้าฟ้าชาย ดาโช จิกมี ดอร์จิ วังชุก]]<ref name="bbc">{{cite web | url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/7700907.stm | last=Lawson | first=Alistair | publisher=[[BBC News]] | title=Profile: Jigme Khesar Namgyel Wangchung | date=2008-11-04}}</ref>
 
=== ด้านการศึกษา ===
ภายหลังทรงเจริญพระชันษาชนมพรรษา พระองค์ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่[[สหรัฐอเมริกา]] ในระดับมัธยมศึกษาที่ คัชชิง อคาเดมี (Cushing Academy) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ[[สหศึกษา]]ที่มีชื่อเสียงของ[[รัฐแมสซาชูเซตส์]] มีอายุกว่า 100 ปี และทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่[[วิทยาลัยวีตัน]] (Wheaton College) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยด้านศิลปศาสตร์ในรัฐเดียวกัน ก่อนที่จะเสด็จมาศึกษาต่อปริญญาโท ในสาขาการทูต (Foreign Service Programme) และสาขาวิชา[[การเมือง]]ที่ [[วิทยาลัยแม็กดาเลน]] (Magdalen College) [[มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด]] ใน[[สหราชอาณาจักร]]<ref> {{cite web |title=His Royal Highness Crown Prince Dasho Jigme Khesar Namgyel Wangchuck |publisher=RAOnline|url=http://www.raonline.ch/pages/bt/pol/bt_polpenlop01.html |accessdate=2008-11-06}}</ref>
 
นอกจากนี้ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินแทนพระราชบิดาไปยังต่างแดนในหลายโอกาส และทรงเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมต่างๆ รวมไปจนถึงการศึกษา และองค์กรเศรษฐกิจหลายแห่ง
 
=== การทูลเกล้าถวายปริญญา ===
* [[มหาวิทยาลัยรังสิต]]ได้ทูลเกล้าถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้กับสมเด็จพระราชาธิบดี (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นเจ้าเจ้าฟ้าชายองค์มกุฎราชกุมาร) ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2549<ref> {{cite web |last=Chang |first=Mai |title=Bhutan prince charms fans at floral expo |publisher=''[[The Nation (Thailand)|The Nation]]'' |date=2006-11-25 |url=http://www.nationmultimedia.com/2006/11/25/headlines/headlines_30019942.php |accessdate=2008-11-06}}</ref><ref> {{cite web |last=Pungkanon |first=Kupluthai |title=Prince, Thailand have mutual adoration |publisher=''[[The Nation (Thailand)|The Nation]]'' |date=2006-11-27 |url=http://www.nationmultimedia.com/2006/11/27/headlines/headlines_30020045.php |accessdate=2008-11-06}}</ref>
* [[มหาวิทยาลัยขอนแก่น]]ได้ทูลเกล้าถวายปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาส่งเสริมการเกษตร ให้กับสมเด็จพระราชาธิบดี นอกจากนี้พระองค์ยังส่งนักศึกษาและบุคคลสำคัญเข้ามาศึกษา ดูงาน และสัมมนาที่ [[คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น]] เป็นประจำ
 
=== เสด็จขึ้นครองราชย์ ===
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย นัมชุก พระราชบิดาของพระองค์ทรงสละราชสมบัติพระราชทานให้แก่เจ้าฟ้าชายจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก องค์มกุฎราชกุมาร พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยมีพระราชดำริในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จาก[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]]มาเป็น[[ระบอบประชาธิปไตย]] อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข<ref> {{cite web |title=Last National Assembly session begins |publisher=''[[Bhutan Observer]]'' |date=2008-01-19 |url=http://www.bhutanobserver.bt/2008/bhutan-news/01/last-national-assembly-session-begins.html |accessdate=2008-11-06}}</ref>
และได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอย่างแรกด้วยการพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันชาติของภูฎาน หลังจากนั้นประมาณสองปี ในวันที่ [[6 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2551]] พระองค์ได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการ ณ พระราชวังในกรุง[[ทิมพู]]
 
== พระราชพิธีราชาภิเษก ==
ในวันที่ 6 พฤศจิกายน [[พ.ศ. 2551]] สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกภายในพระราชวังทาชิโชซอง ในเมืองทิมพู โดย[[สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก]] ทรงเป็นผู้ประกอบพระราชพิธี โดย พระราชทานมงกุฎไหมสีแดงดำแด่พระองค์ นอกจากนี้ยังมีนางซอนยา คานธี ประธานรัฐสภาของอินเดียเข้าร่วมในพิธีด้วย ทั้งนี้พระองค์ได้สืบบัลลังก์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลรัชสมัยที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก และยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระเยาว์ที่สุดในโลก ด้วยพระชนมพรรษาเพียง 28 พรรษา และทรงปกครองประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตย
 
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงฉลองพระองค์สีแดงทองที่เป็นชุดคลุมยาวปิดพระชานุหรือเข่าอันเรียกกันว่า "โฆ" ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของชายชาวภูฏาน ทรงประทับนั่งบนบัลลังก์พระราชบัลลังก์ทองคำ พระพักตร์เคร่งขรึม แต่ก็ทรงแย้มพระสรวลเล็กน้อยขณะทรงรับเครื่องถวายแด่สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ ธิบดีองค์ใหม่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และยังมีพระบรมราโชวาทแก่พสกนิกรหลายพันคนที่มาเข้าเฝ้าพระองค์ในตอนบ่ายของวันเดียวกันว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการสิ่งใด" "สิ่งที่สำคัญสำหรับข้าพเจ้าคือความหวังและความมุ่งมาดปรารถนาของ ประชาชน และพระชนมายุอันยืนยาวและพระพลานามัยอันแข็งแรงสำหรับสมเด็จพระราชบิดา จิกมี ซิงเย วังชุก ของข้าพเจ้า" "ในโอกาสอันพิเศษยิ่งนี้ ขอให้ร่วมกันสวดมนต์และขออธิษฐานขอให้แสงตะวันเฉิดฉันแห่งความสุขจะสาดส่อง ลงมาที่ประเทศชาติของเราเสมอไป"
 
นอกจากประชาชนหลายพันคนที่มารวมตัวกันถวายพระพรแด่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ซึ่งประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ยังมีแขกสำคัญที่ร่วมในพิธีดังกล่าวคือ ประธานาธิบดีประติภา ปาติลแห่งอินเดีย และนางโซเนีย คานธี นักการเมืองคนสำคัญของอินเดียพร้อมด้วยบุตรธิดา เนื่องจากครอบครัวคานธีนั้นมีความสนิทชิดเชื้อกับราชวงศ์ภูฏาน<ref name=Coronation> {{cite web |title= Lavish coronation for Bhutan king |publisher=[[BBC]] |date=2008-11-06 |url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/7712301.stm |accessdate=2008-11-06}}</ref><ref name=Hello>{{cite web |title=Coronation fever in Bhutan as people's king bonds with subjects |date=208-11-10 |url=http://www.hellomagazine.com/royalty/2008/11/10/bhutan-coronation/}}</ref>
 
[[ซีเอ็นเอ็น]] ได้รายงานข่าวการเฉลิมฉลองพีธีพระราชาภิเษกนี้ โดยระบุว่า มีการร่วมเฉลิมฉลองตามถนนหนทาง เล่นดนตรี มีการประดับประดาดอกไม้ตามศูนย์ต่างๆเพื่อแสดงการเฉลิมฉลองในโอกาสที่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ตลอดจนมีการรายงานถึงความรู้สึกของพสกนิกรชาวภูฏานที่ทั้งต่างแสดงความดีใจ และสะเทือนใจในการสละราชสมบัติอย่างกะทันหันของพระราชบิดาไปพร้อมๆกัน<ref name="Himalayan nation of Bhutan crowns new king">{{cite news|url=http://edition.cnn.com/2008/WORLD/asiapcf/11/05/bhutan.coronation.ap/index.html?eref=edition_asia |title=Himalayan nation of Bhutan crowns new king|date=2008-11-06|publisher=[[CNN]]|accessdate=2008-11-06}}</ref>
 
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ได้ทรงประกาศหมั้นกับ [[สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก|นางสาว เจตซุน เพมา]] ซึ่งเป็นหญิงสาวสามัญชน โดยทั้งสองพระองค์ทรงอภิเษกสมรสในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554
 
== ด้านชีวิตส่วนพระองค์ ==
พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่าง '''[[สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก|สมเด็จพระราชาธิบดี]]''''และ'''[[สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก|สมเด็จพระราชินี]]'''แห่งภูฏาน จัดขึ้น ณ [[มณฑลพูนาคา]] [[ประเทศภูฏาน]]<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/world/20111013/413529/ภูฎานชื่นมื่นกษัตริย์จิกมีอภิเษกวันนี้.html ภูฎานชื่นมื่นกษัตริย์จิกมีอภิเษกวันนี้]</ref> ทรงมีพระราชโอรส 1 พระองค์ คือ [[เจ้าชายจิกมี นัมเกล วังชุก|เจ้าฟ้าชายจิกมี นัมเกล วังชุก องค์รัชทายาท]]
 
== พระราชกรณียกิจ ==
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเป็นหนึ่งใน[[พระราชอาคันตุกะ ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี|พระราชอาคันตุกะ]] ที่เสด็จพระราชดำเนินทรงร่วม[[พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี]] ของ[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช]] ระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่[[กรุงเทพมหานคร]] ในขณะที่พระองค์ยังทรงเป็น[[มกุฎราชกุมาร|องค์มกุฎราชกุมาร]] และทรงเป็นพระราชอาคันตุกะที่มีพระชนมายุชนมพรรษาน้อยที่สุด ในหมู่พระราชวงศ์ที่เสด็จมาร่วมงานในครั้งนั้น<ref>{{cite web |last=Denyer |first=Simon |title=Bhutan's charming king emerges from father's shadow |publisher=[[Reuters]] |date=2008-11-05 |url=http://www.reuters.com/article/worldNews/idUSTRE4A441H20081105 |accessdate=2008-11-06}}</ref>
 
*เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอีกครั้งเพื่อเสด็จเยี่ยมชมสวนดอกไม้ของภูฏาน ในงานพืชสวนโลกที่จัดขึ้นใน[[เชียงใหม่]] และทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ทูลเกล้าถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในช่วงเวลาต่อมา<ref>{{cite web |last=Chang |first=Mai |title=Bhutan prince charms fans at floral expo |publisher=''[[The Nation (Thailand)|The Nation]]'' |date=2006-11-25 |url=http://www.nationmultimedia.com/2006/11/25/headlines/headlines_30019942.php |accessdate=2008-11-06}}</ref><ref>{{cite web |last=Pungkanon |first=Kupluthai |title=Prince, Thailand have mutual adoration |publisher=''[[The Nation (Thailand)|The Nation]]'' |date=2006-11-27 |url=http://www.nationmultimedia.com/2006/11/27/headlines/headlines_30020045.php |accessdate=2008-11-06}}</ref>
 
*ทรงร่วมลงพระนามในสนธิสัญญามิตรภาพกับประเทศอินเดียในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 แทนฉบับเดิม ซึ่งคือฉบับ พ.ศ. 1949 <ref>{{cite web |title=Bhutan and India sign new treaty |publisher=[[BBC]] |date=2007-02-08 |url=http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/south_asia/6341143.stm |accessdate=2008-11-06}}</ref>
 
*เมื่อวันเสาร์ที่ 15 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 16.49 น. สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน และสมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรไทย เพื่อทรงร่วมบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และเสด็จพระราชดำเนินกลับในวันจันทร์ที่ 17 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 04.30 น.
 
== พระราชอิสริยยศ ==