ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ Gunhotnews (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย พุทธามาตย์
Gunhotnews (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6681796 สร้างโดย Horus (พูดคุย)
บรรทัด 234:
 
ขณะนั้น กองกำลังที่นิยมรัฐบาลได้เข้ายึดกรุงเทพมหานคร ทว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงปฏิเสธไม่รับรอง การก่อการครั้งนี้จึงกลายเป็นกบฏที่รู้จักในชื่อ "[[กบฏเมษาฮาวาย]]" และนำไปสู่ "[[กบฏทหารนอกราชการ]]" ในเวลาต่อมา<ref>Michael Schmicker, Asian Wall Street Journal, 23 December 1982</ref><ref>สุลักษณ์ ศิวรักษ์, "ลอกคราบสังคมไทย", กรุงเทพฯ: หนังสือไทย, 2528</ref> <ref>Anonymous, "The Chakri Dynasty and Thai Politics, 1782–1982", cited in {{cite book |author=Handley, Paul M. |title=The King Never Smiles |publisher=Yale University Press |year=2006 |pages=298 |isbn=0-300-10682-3}}</ref>
 
=== วันมหาวิปโยค ===
[[ไฟล์:พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสทางทีวีในวันที่_๑๔_ตุลาคม.JPEG|200px|thumbnail|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสทางทีวีในวันที่ ๑๔ ตุลาคม เพื่อยุติความรุนแรง]] ในเดือนตุลาคม ๒๕๑๖ ประชาชนมีความไม่พอใจในการปฏิรูปประชาธิปไตยซึ่งเป็นไปอย่างเชื่องช้า ประจักษ์ชัดว่ารัฐบาลต้องการจะผูกขาดการครองอำนาจ โดยถ่วงเวลาแก้รัฐธรรมนูญไปอีก ๓ ปี จึงเกิดความไม่พอใจในหมู่ประชาชน มีการเรียกร้องจากบุคคลหลายอาชีพรวมทั้งนักศึกษาและคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย ให้มีการร่าง[[รัฐธรรมนูญ]]โดยเร็ว แต่รัฐบาลกลับใช้วิธีจับกุมผู้เดินแจกใบปลิว ด้วยข้อหามั่วสุมทางการเมืองเกินกว่า ๕ คน พร้อมพ่วงข้อหาเป็น[[กบฏ]]และมีการกระทำอันเป็น[[คอมมิวนิสต์]] ทำให้เกิดปฏิกิริยาในหมู่ประชาชนและนักศึกษา เรียกร้องให้ปล่อยผู้ต้องหา แต่รัฐบาลไม่ยินยอม จึงเกิดการชุมนุมขึ้นที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ในวันที่ ๑๐ ตุลาคม ในวันนั้น [[จอมพลถนอม กิตติขจร]] นายกรัฐมนตรี ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อกราบบังคมทูลเกี่ยวกับเหตุการณ์และขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้รัฐบาลหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง และทรงแนะทางยุติความขัดแย้งอย่างสันติ แต่เหตุการณ์มิได้คลี่คลายไปได้โดยง่าย
 
ในวันที่ ๑๒ ตุลาคมจำนวนผู้ชุมนุมเพิ่มขึ้นเป็นแสน เมื่อรัฐบาลยังไม่ยินยอมตามข้อเรียกร้อง การเดินขบวนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์[[ชาติไทย]]ก็เกิดขึ้นในวันที่ ๑๓ ตุลาคม มีนักศึกษาประชาชนเข้าร่วมกว่า ๕ แสนคน เคลื่อนขบวนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปที่[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]]เป็นจุดแรก เพื่อรอคำตอบจากรัฐบาล ตอนค่ำวันนั้น รัฐบาลยอมปล่อย ๑๓ ผู้ต้องหา และรับว่าจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญในอีก ๑ ปีถัดไป นักศึกษาและประชาชนไม่เชื่อคำสัญญาชองรัฐบาล ตัวแทนนักศึกษาจึงขอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยบ้าง
 
เช้าตรู่ของวันที่ ๑๔ ตุลาคม ขบวนได้เคลื่อนไปยัง[[พระตำหนักสวนจิตรลดา]] เพื่อฟังผลที่ตัวแทนนิสิตนักศึกษาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เวลาประมาณ ๕ น. พ.ต.อ.[[วสิษฐ์ เดชกุญชร]] นายตำรวจประจำราชสำนัก อัญเชิญพระบรมราโชวาทมาอ่านให้ที่ประชุมฟัง ว่ารัฐบาลได้ยินยอมตามคำเรียกร้องของนิสิตนักศึกษาแล้ว ขอให้กลับคืนสู่สภาพปกติ เพื่อยังความสงบเรียบร้อยให้เกิดแก่ประชาชน ผู้ชุมนุมต่างเปล่งเสียงร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนแยกย้ายกันกลับ
 
แต่เมื่อนักศึกษาประชาชนส่วนหนึ่งจะกลับไปทางถนนพระราม ๕ จาก[[สี่แยกราชวิถี]] ตำรวจก็ปิดกั้นไม่ยอมให้ผ่าน เพราะเป็นเส้นทางที่ไปทางบ้านจอมพลถนอม จึงมีการผลักดันกันขึ้น ตำรวจได้ใช้แก๊สน้ำตายิงใส่กลุ่มประชาชนและนักศึกษา และใช้กระบองลุยตีไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย ทำให้กลุ่มนักศึกษาประชาชนต้องกระโดดหนีลงไปในคูน้ำรอบ[[พระตำหนักจิตรลดา]] มีผู้เสียชีวิต ๓ คนบาดเจ็บนับร้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาให้เปิดประตูพระตำหนักให้นิสิตนักศึกษาเข้าไปลี้ภัย และเสด็จออกมาเยี่ยมด้วยพระองค์เอง
 
ข่าวตำรวจทำร้ายนิสิตนักศึกษาแพร่สะพัดไปทั่ว ทำให้ผู้ชุมนุมที่สลายตัวไปแล้วกลับมาชุมนุมกันอีก และขว้างปากองบัญชาการตำรวจนครบาลที่ผ่านฟ้าอย่างโกรธแค้น มีการเผาป้อมตำรวจที่ท่าพระจันทร์หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ายึดกรมประชาสัมพันธ์ที่ออกข่าวว่านิสิตนักศึกษาเป็นผู้ก่อการร้ายบุกรุกเข้าพระตำหนักสวนจิตร จากนั้นก็ลามเข้ายึดกรมสรรพากรที่อยู่ติดกัน และล้อมโรงพักชนะสงคราม
 
รัฐบาลได้ส่งรถถังหลายคันออกปราบปรามนิสิตนักศึกษาและนักเรียนอาชีวะ มีเฮลิคอปเตอร์ทหาร ๓ ลำบินวน[[ถนนราชดำเนิน]]ยิงปืนกราดและทิ้งระเบิดน้ำตาลงมา นักศึกษาประชาชนต้องเสียชีวิตจำนวนมากที่โรงพักชนะสงครามและกองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า ซึ่งตำรวจยิงต้านทานอย่างเหนียวแน่น
 
๑๘.๐๐ น.ของวันนั้น [[วิทยุประเทศไทย]]ได้ออกข่าวว่า [[จอมพลถนอม กิตติขจร]] ได้ลาออกจากตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]]แล้ว และตอนค่ำ ๑๙.๑๕ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสทางวิทยุและโทรทัศน์ ทรงเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “[[วันมหาวิปโยค]]” ขอร้องให้ทุกฝ่ายยุติการต่อสู้ ใช้สติยับยั้งเพื่อประเทศชาติกลับคืนสู่ปกติ ทรงแจ้งว่าได้แต่งตั้งให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เหตุการณ์ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ผ่านฟ้าก็ยังไม่สงบ เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมอยู่ในอารมณ์คลั่งแค้นที่ตำรวจยิงผู้ชุมนุมตายเป็นจำนวนมาก ไม่ได้รับฟังข่าวสารใดๆ จะบุกกองบัญชาการของตำรวจแห่งนี้ให้ได้ และทำสำเร็จเมื่อ ๑๓,๐๐ น.ของวันที่ [[๑๕ ตุลาคม]] วางเพลิงเผาจนวอดรวมทั้งสถานีตำรวจนางเลิ้งที่อยู่ติดกัน ในเวลา ๑๘.๔๕ น.ของวันนั้น วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้ประกาศว่า จอมพลถนอม กิตติขจร [[จอมพลประภาส จารุเสถียร]] และ[[พันเอกณรงค์ กิตติขจร]] ได้ลาออกจากราชการและเดินทางออกไปต่างประเทศแล้ว
 
ในขณะที่สถาบันทางการเมืองล่มสลายไปหมดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง สมัชชาแห่งชาติ และสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนทุกสาขาอาชีพ
 
“เพื่อให้ได้มาซึ่ง[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] อันเป็นตัวแทนของผลประโยชน์ อาชีพ วิชาการ ตลอดจนทรรศนะ ความเห็นอันกว้างขวางในประเทศของเราอย่างแท้จริง”
 
ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก พระราชดำรัสเปิดประชุมแสดงให้เห็นพระราชประสงค์ที่จะให้เกิดรัฐประชาธิปไตยเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยแท้
 
“ข้าพเจ้ามีความพอใจมากที่ได้เห็นว่า ผลแห่งการคัดเลือกนั้น ได้ทำให้สภามีสมาชิกที่มาจากคนหลายกลุ่มหลายอาชีพ ซึ่งตามปกติอยู่ห่างไกลกัน แต่ได้มาร่วมประชุมกันในสภานิติบัญญัตินี้ เพื่อแลกเปลี่ยนและรับฟังความเห็นของกันและกัน แล้วร่วมกันตัดสินใจในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองที่รักของเราต่อไป”
 
หลังจากนั้น ประชาชนก็มีโอกาสใช้สิทธิของตนเองในการเลือกตั้ง กลไกของ[[ระบอบประชาธิปไตย]]ก็กลับคืนมาอย่างสมบูรณ์อีกครั้ง ทำให้ประชาชนเห็นชัดเจนว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่มั่นคง ซึ่งทุกคนหวังพึ่งได้ เมื่อใดที่บ้านเมืองเกิดวิกฤติจนประชาชนเห็นว่าหมดที่พึ่ง ก็จะหันไปพึ่งพระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว <ref name="manager">{{cite web |year=2016|url=http://manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9590000104641 |title=โลกตะลึง! ทรงหยุดสงครามกลางเมืองที่กำลังร้อนแรง ด้วยพระราชดำรัสไม่กี่ประโยค!คนเดียวในโลกที่ทำได้!|publisher=โรม บุนนาค |accessdate=19 ตุลาคม 2559}}</ref>
 
=== พฤษภาทมิฬ ===
{{บทความหลัก2|พฤษภาทมิฬ}}
[[ไฟล์:200535.jpg|thumb|200px|left|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง เข้าเฝ้า]]
ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ นายทหารคณะหนึ่งประกาศตัวเป็น [[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] (รสช.) เข้ายึดอำนาจการปกครองโดยอ้างเหตุผลเรื่อง[[ฉ้อราษฎร์บังหลวง]]ของรัฐบาลที่กำลังอื้อฉาว
รัฐประหารของคณะทหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 นำประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบเผด็จการทหารอีกครั้ง ซึ่งหลัง[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] (รสช.) ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2535 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปแล้ว พรรคการเมืองที่มีจำนวนผู้แทนราษฎรมากที่สุดคือพรรคสามัคคีธรรม จำนวนเจ็ดสิบเก้าคน ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และมีการเตรียมเสนอณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนราษฎรมากที่สุดขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่ามาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา ได้แถลงว่า ณรงค์เป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอหนังสือเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด<ref name="bloodymay">{{cite web |year = 2000|url = http://www.seameo.org/vl/92may/92may1.htm |title = Development Without Harmony |publisher = Southeast Asian Ministers of Education Organization |accessdate = 2007-09-26}}</ref> พลเอก [[สุจินดา คราประยูร]] หัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งเคยตกปากว่าจะไม่รับตำแหน่งใด ๆ ภายหลังจากเลือกตั้งอีกเพื่อตัดข้อครหาบทบาทของทหารในรัฐบาลพลเรือน กลับยอมรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และสร้างความไม่พอใจท่ามกลางประชาชนเป็นอันมาก นำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน โดยมีร้อยตรี [[ฉลาด วรฉัตร]] และพลตรี [[จำลอง ศรีเมือง]] หัวหน้าพรรคพลังธรรม เป็นแกนนำ ซึ่งรัฐบาลของพลเอก สุจินดาได้สั่งให้ปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงโดดเฉียบขาด กลายเป็นเหตุการณ์นองเลือดในที่สุด และมีผู้คนล้มลายหลายหลากเมื่อฝ่ายทหารเปิดการโจมตีผู้ชุมนุม เหตุการณ์ดิ่งสู่ความรุนแรงเรื่อย ๆ เมื่อกำลังทหารและตำรวจเข้าควบคุมกรุงเทพมหานครเต็มที่<ref name="bloodymay">{{cite web |year=2000|url=http://www.seameo.org/vl/92may/92may1.htm |title=Development Without Harmony |publisher=Southeast Asian Ministers of Education Organization |accessdate=26 September 2007}}</ref> และท่ามกลางเหตุการณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเข้าแทรกแซง โดยมีพระบรมราชโองการเรียกพลเอก สุจินดา คราประยูร และหัวหน้ากลุ่มผู้ประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ให้เฝ้า และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถ่ายทอดการนี้ออกอากาศสดได้ ในภาพทางโทรทัศน์ พระองค์ทรงขอให้คู่กรณียุติความรุนแรงและนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่สันติ ณ จุดสูงสุดของวิกฤติการณ์ ปรากฏภาพพลเอก สุจินดา คราประยูร และหัวหน้าผู้ประท้วง เฝ้าทูลละอองพระบาทโดยหมอบกราบ และที่สุดก็นำไปสู่การลาออกของพลเอก สุจินดา คราประยูร และการเลือกตั้งทั่วไป<ref name="srimuang">{{cite web |year=2000|url=http://www.rmaf.org.ph/Awardees/Biography/BiographySrimuangCha.htm |title=BIOGRAPHY of Chamlong Srimuang |work=The 1992 Ramon Magsaysay Award for Government Service|publisher=Ramon Magsaysay Award Foundation |accessdate=26 September 2007}}</ref>
 
รสช.ได้ตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้นโดยมี นาย[[อานันท์ ปันยารชุน]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] พร้อมกับจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น และร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งก่อนที่จะประกาศใช้ได้ในวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๓๕ ก็มีผู้เคลื่อนไหวไม่เห็นด้วยว่าเป็นรัฐธรรมนูญผูกขาดอำนาจของ รสช. [[พล.อ.สุจินดา คราประยูร]] ผบ.ทบ. หนึ่งในคณะ รสช. จึงยืนยันต่อผู้สื่อข่าวที่หอประชุมกองทัพบกว่า ทั้ง พล.อ.สุจินดา และ [[พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล]] ผบ.ทอ. จะไม่เป็นนายกฯสืบอำนาจ รสช.
 
หลังการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญ]] รัฐบาลได้จัดให้มีการเลือกตั้ง แต่ไม่มีพรรคไหนได้เสียงเกินครึ่งสภา [[พรรคสามัคคีธรรม]]ที่มี รสช.หนุนอยู่จึงเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และมีมติจะให้นาย[[ณรงค์ วงศ์วรรณ]] หัวหน้าพรรค เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่ทันจะทูลเกล้าฯ ก็มีมือดีปล่อยข่าวว่า นายณรงค์เป็นผู้หนึ่งที่ “ต้องห้าม”เข้าอเมริกา เพราะมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด
 
ในที่สุด พล.อ.สุจินดาก็หลั่งน้ำตายอม “เสียสัตย์เพื่อชาติ” เป็นนายกรัฐมนตรีเสียเอง โดยมี ๕ พรรคการเมืองสนับสนุน ซึ่ง ๓ พรรคหลังก็ถูกยึดอำนาจร่วมกับ [[พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ]] ทั้งยังมีรัฐมนตรีที่ถูกยึดทรัพย์ถึง ๓ คนร่วมคณะ
 
กระแสความไม่พอใจในหมู่ประชาชนที่มีความตื่นตัวทางการเมืองสูงได้โหมแรงขึ้น เรียกร้องให้ พล.อ.สุจินดาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคฝ่ายค้านมีมติแต่งดำไว้ทุกข์ จัดปราศรัยเพื่อคัดค้านนายกฯ มีประชาชนออกมาชุมนุมกันที่สนามหลวงกว่า ๕ แสนคน มีการติดต่อประสานงานกันด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่จนถูกเรียกกันว่า “ม็อบมือถือ” โดยมี [[พล.ต.จำลอง ศรีเมือง]] ผู้ที่มีคะแนนนิยมสูงในขณะนั้นเป็นผู้นำ
 
ในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนจาก[[สนามหลวง]]ไปตาม[[ถนนราชดำเนิน]] แต่ถูกรัฐบาลวางกำลังสกัดไว้ที่[[สะพานผ่านฟ้า]] เริ่มมีการปะทะ รัฐบาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม และสั่งปราบปรามการชุมนุมอย่างรุนแรงด้วยแผนไพรีพินาศ ผู้คนในถนนราชดำเนินบาดเจ็บล้มตายกันไปหลายคน และผู้ที่หลบภัยเข้าไปใน[[โรงแรมรัตนโกสินทร์]]ถูกลากตัวออกมาทุกห้อง สื่อมวลชนต่างประเทศได้แพร่ภาพการปราบปรามประชาชนนี้ออกไปทั่วโลก สร้างความสลดหดหู่ใจแก่ผู้พบเห็นความโหดร้าย และเรียกเหตุการณ์นี้ว่า“[[พฤษภาทมิฬ]]” เหตุการณ์รุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อ พล.ต.จำลองถูกชิงตัวไปจากที่ชุมนุมนำไปขังไว้ที่โรงเรียนพลตำรวจ บางเขน
 
แต่ก่อนที่เหตุการณ์จะบานปลายออกไปอีก ในเวลา ๕ ทุ่มครึ่งของวันที่ ๒๐ พฤษภาคม [[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ]]และสถานีวิทยุทุกแห่งได้ถ่ายทอดข่าวสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ พล.อ.สุจินดาและ พล.ต.จำลองเข้าเฝ้าที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ทรงเริ่มพระราชดำรัสด้วยพระสุรเสียงเรียบๆ แต่หนักแน่นว่า
 
“คงไม่เป็นที่แปลกใจ ทำไมจึงเชิญให้ท่านมาพบกันอย่างนี้”
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชาธิบายแก่บุคคลทั้งสองว่า แม้จะเป็นที่กระจ่างชัดตั้งแต่แรกว่า เหตุผลที่ทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากันคืออะไร แต่
 
“ก็มีความเสียหายในทางจิตใจ และในทางเศรษฐกิจของประเทศชาติอย่างที่จะนับคณนาไม่ได้” และ “ซึ่งเดี๋ยวนี้ประชาชนทั่วไปทุกหนทุกแห่ง มีความหวาดระแวงว่าจะเกิดอันตราย มีความหวาดระแวงว่าประเทศชาติจะล่มจม โดยที่จะแก้ไขลำบาก”
 
ทรงถามผู้นำทั้งสองฝ่ายด้วยคำถามที่คนทั้งชาติเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ว่า
 
“แล้วก็ใครจะชนะ ไม่มีทางชนะ อันตรายทั้งนั้น มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้ แล้วก็ที่แพ้ที่สุดก็คือประเทศชาติ”
 
ผู้นำทั้งสองฝ่ายต่างละทิษฐิมานะ ยอมปฏิบัติตามพระราชดำรัส
 
พล.อ.สุจินดาและ พล.ต.จำลองได้ออกแถลงทางโทรทัศน์ร่วมกัน พล.อ.สุจินดารับว่าจะปล่อยตัว พล.ต.จำลองและจะออกกฎหมาย[[นิรโทษกรรม]]ให้ผู้ชุมนุม ส่วน พล.ต.จำลองก็ขอให้ผู้ชุมนุมยุติความวุ่นวาย แม้ผู้ชุมนุมยังไม่พอใจที่ พล.อ.สุจินดาไม่ยอมลาออก แต่ก็พร้อมใจกันสนองพระบรมราโชวาท ยอมยุติการประท้วง การปราบปรามประชาชนที่ทำให้ชาวโลกสลดหดหู่ใจ ก็กลายเป็นเหตุการณ์ “โลกตะลึง” ที่ยุติลงทันทีทันใดด้วยพระราชดำรัสเพียงไม่กี่ประโยค ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีใครอีกแล้วที่สามารถจะหยุดสงครามการเมืองได้เช่นนี้ ประชาชนชาวไทยต่างเทิดทูนในพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโลกก็ได้รับรู้ในพระบารมีของพระองค์ <ref name="manager">{{cite web |year=2016|url=http://manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9590000104641 |title=โลกตะลึง! ทรงหยุดสงครามกลางเมืองที่กำลังร้อนแรง ด้วยพระราชดำรัสไม่กี่ประโยค!คนเดียวในโลกที่ทำได้!|publisher=โรม บุนนาค |accessdate=19 ตุลาคม 2559}}</ref>
 
=== ทรงยับยั้งการบุกสถานทูตเขมร ===
[[ไฟล์:ชุมนุมหน้าสถานทูตกัมพูชา.JPEG|200px|thumbnail|เหตุการชุมนุมหน้าสถานทูตไทยประจำกรุง[[พนมเปญ]]]]
ในวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๖ มีเหตุการณ์จลาจลที่ชาวเขมรกลุ่มหนึ่งถูกปั่นหัวให้บุกเข้าเผาสถานทูตไทยประจำกรุง[[พนมเปญ]] จน[[เอกอัครราชทูต]]และเจ้าหน้าที่สถานทูตต้องหนีตายไปได้อย่างฉิวเฉียด จากนั้นแก๊งมอเตอร์ไซด์ก็ตระเวนเผาโรงแรมและบริษัทธุรกิจของคนไทยวายวอดไปทั่วกรุง[[พนมเปญ]]
 
กลางดึกของคืนวันนั้น ทันทีที่ทีวีแพร่ภาพจากสำนักข่าว[[รอยเตอร์]] มีผู้หญิงกัมพูชาคนหนึ่งเหยียบย่ำพระบรมฉายาลักษณ์ คนไทยเลือดร้อนต่างก็มุ่งไปที่สถานทูตกัมพูชาที่[[ถนนราชดำริ]] และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆโดยไม่มีการนัดหมาย ยิ่งเมื่อภาพหมิ่นที่เคารพสักการะของคนไทยนี้ถูกแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ชาวเว็บหลายคนก็ถึงกับหลั่งน้ำตา และมุ่งไปที่สถานทูตกัมพูชาด้วยความเคียดแค้น แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกันไว้ไม่ให้เข้าใกล้รั้วสถานทูต
 
๑๓.๒๐ น.ของวันที่ ๓๐ มกราคม กลุ่มผู้ชุมนุมหน้า[[สถานทูต]][[กัมพูชา]]ได้เรี่ยไรกันซื้อโลงศพและ[[ธงชาติกัมพูชา]] เขียนข้างโลงว่า “แด่ฮุนเซน” เผาไปพร้อมกับธงชาติเขมร ท่ามกลางเสียงไชโยโห่ร้อง พร้อมกับร้อง[[เพลงชาติ]]และ[[เพลงสรรเสริญพระบารมี]]
 
ขณะที่ผู้ชุมนุมเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยอารมณ์ร้อนแรง มีการนำรูปผู้หญิงกัมพูชาที่กระทำไม่บังควรพิมพ์ออกมาจากอินเทอร์เน็ต แจกจ่ายแก่ผู้ชุมนุมและคนที่ขับรถผ่านไปมา ทำให้ความเคียดแค้นร้อนแรงยิ่งขึ้น ผู้ชุมนุมพยายามจะฝ่าแนวป้องกันของตำรวจเข้าไปทำลายสถานทูตกัมพูชาให้ได้
 
จนกระทั่งในเวลา ๑๗.๐๐ น. [[พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์]] ผบ.ตร.ได้เดินทางมาถึง และกล่าวกับผู้ชุมนุมทางเครื่องขยายเสียงว่า นายอาสา สารสิน เลขาธิการสำนักพระราชวังได้แจ้งมาว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า ทรงเป็นห่วงประชาชน เป็นห่วงบ้านเมือง เราเป็นพระเอกแล้วในสายตาชาวโลก เราเป็นฝ่ายถูก อย่าทำตัวให้กลายเป็นผู้ร้ายไปเลย ให้ประชาชนอยู่ในความสงบ อย่าทำอะไรรุนแรง ขอขอบใจในความจงรักภักดี
 
อารมณ์ของคนที่กำลังคลั่งแค้น และเหตุการณ์ที่กำลังจะลุกลามใหญ่โต ก็สงบลงทันที ผู้ชุมนุมต่างสลายตัวกลับ แต่ก็ยังมีผู้ไม่ทราบเรื่องทยอยมาชุมนุมอีก ๔๐๐-๕๐๐ คน จนกระทั่งสลายไปทั้งหมดหลังจากร่วมกันร้องเพลงชาติในเวลา ๐๘.๐๐ น.ของวันที่ ๓๑ มกราคม
 
การสลายตัวของผู้ชุมนุมหน้าสถานทูตกัมพูชาครั้งนี้ สำนักข่าวต่างประเทศประโคมไปทั่วโลกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ช่วยยุติวิกฤติการณ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาในครั้งนี้ ทรงขอร้องให้ผู้ชุมนุมหน้าสถานทูตกัมพูชาในกรุงเทพฯ สลายตัว [[เอเอฟพี]].รายงานด้วยว่า พระเจ้าอยู่หัวของไทยเคยทรงเข้าช่วยคลี่คลายวิกฤติเหตุการณ์ “[[พฤษภาทมิฬ]]” ซึ่งทหารยิงประชาชนผู้เรียกร้อง[[ประชาธิปไตย]]เสียชีวิตอย่างน้อย ๕๒ ศพในเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕
 
คนไทยที่ไปชุมนุมอยู่หน้า[[สถานทูต]]กัมพูชาในครั้งนั้น ได้แสดงให้โลกประจักษ์ถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันสูงสุดอีกครั้งหนึ่ง ทรงสยบผู้ชุมนุมที่กำลังคลั่งแค้นให้เย็นลงได้เพียงพระราชดำรัสเพียงไม่กี่ประโยค เหมือนที่ทรงระงับสงครามกลางเมืองเมื่อครั้งเหตุการณ์ “[[พฤษภาทมิฬ]]”
 
ในวันนี้ หวังว่าคนไทยเราคงจะรำลึกถึงพระราชดำรัสในวันนั้นกันอีกครั้ง
 
“เราเป็นพระเอกแล้วในสายตาชาวโลก เราเป็นฝ่ายถูก อย่าทำตัวให้กลายเป็นผู้ร้ายไปเลย” <ref name="manager">{{cite web |year=2016|url=http://manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9590000104641 |title=โลกตะลึง! ทรงหยุดสงครามกลางเมืองที่กำลังร้อนแรง ด้วยพระราชดำรัสไม่กี่ประโยค!คนเดียวในโลกที่ทำได้!|publisher=โรม บุนนาค |accessdate=19 ตุลาคม 2559}}</ref>
 
=== รัฐประหาร พ.ศ. 2549 ===
เส้น 261 ⟶ 335:
อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงตอบรับข้ออ้างของพระธิดาต่อสาธารณชนว่าเป็นจริงหรือเท็จ
นอกจากนี้ พระองค์ก็ตรัสถึงการเมืองบ้างเล็กน้อยในบางโอกาส<ref>อุดมพร อมรธรรม, พระเจ้าอยู่หัวกับการเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 1:2550 ISBN : 9789747316759</ref>
 
หลัง[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557]] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมี[[:s:ประกาศแต่งตั้งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗|ประกาศแต่งตั้ง]]พลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] เป็นหัวหน้า[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]]
 
== พระพลานามัยปลายพระชนม์และสวรรคต ==