ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gunhotnews (คุย | ส่วนร่วม)
Gunhotnews (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 236:
 
=== วันมหาวิปโยค ===
[[ไฟล์:พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสทางทีวีในวันที่_๑๔_ตุลาคม.JPEG|200px|thumbnail|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสทางทีวีในวันที่ ๑๔ ตุลาคม เพื่อยุติความรุนแรง]] ในเดือนตุลาคม ๒๕๑๖ ประชาชนมีความไม่พอใจในการปฏิรูปประชาธิปไตยซึ่งเป็นไปอย่างเชื่องช้า ประจักษ์ชัดว่ารัฐบาลต้องการจะผูกขาดการครองอำนาจ โดยถ่วงเวลาแก้รัฐธรรมนูญไปอีก ๓ ปี จึงเกิดความไม่พอใจในหมู่ประชาชน มีการเรียกร้องจากบุคคลหลายอาชีพรวมทั้งนักศึกษาและคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย ให้มีการร่าง[[รัฐธรรมนูญ]]โดยเร็ว แต่รัฐบาลกลับใช้วิธีจับกุมผู้เดินแจกใบปลิว ด้วยข้อหามั่วสุมทางการเมืองเกินกว่า ๕ คน พร้อมพ่วงข้อหาเป็น[[กบฏ]]และมีการกระทำอันเป็น[[คอมมิวนิสต์]] ทำให้เกิดปฏิกิริยาในหมู่ประชาชนและนักศึกษา เรียกร้องให้ปล่อยผู้ต้องหา แต่รัฐบาลไม่ยินยอม จึงเกิดการชุมนุมขึ้นที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ในวันที่ ๑๐ ตุลาคม ในวันนั้น [[จอมพลถนอม กิตติขจร]] นายกรัฐมนตรี ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อกราบบังคมทูลเกี่ยวกับเหตุการณ์และขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้รัฐบาลหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง และทรงแนะทางยุติความขัดแย้งอย่างสันติ แต่เหตุการณ์มิได้คลี่คลายไปได้โดยง่าย
 
ในวันที่ ๑๒ ตุลาคมจำนวนผู้ชุมนุมเพิ่มขึ้นเป็นแสน เมื่อรัฐบาลยังไม่ยินยอมตามข้อเรียกร้อง การเดินขบวนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์[[ชาติไทย]]ก็เกิดขึ้นในวันที่ ๑๓ ตุลาคม มีนักศึกษาประชาชนเข้าร่วมกว่า ๕ แสนคน เคลื่อนขบวนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปที่[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]]เป็นจุดแรก เพื่อรอคำตอบจากรัฐบาล ตอนค่ำวันนั้น รัฐบาลยอมปล่อย ๑๓ ผู้ต้องหา และรับว่าจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญในอีก ๑ ปีถัดไป นักศึกษาและประชาชนไม่เชื่อคำสัญญาชองรัฐบาล ตัวแทนนักศึกษาจึงขอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยบ้าง
 
เช้าตรู่ของวันที่ ๑๔ ตุลาคม ขบวนได้เคลื่อนไปยัง[[พระตำหนักสวนจิตรลดา]] เพื่อฟังผลที่ตัวแทนนิสิตนักศึกษาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เวลาประมาณ ๕ น. พ.ต.อ.[[วสิษฐ์ เดชกุญชร]] นายตำรวจประจำราชสำนัก อัญเชิญพระบรมราโชวาทมาอ่านให้ที่ประชุมฟัง ว่ารัฐบาลได้ยินยอมตามคำเรียกร้องของนิสิตนักศึกษาแล้ว ขอให้กลับคืนสู่สภาพปกติ เพื่อยังความสงบเรียบร้อยให้เกิดแก่ประชาชน ผู้ชุมนุมต่างเปล่งเสียงร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนแยกย้ายกันกลับ
 
แต่เมื่อนักศึกษาประชาชนส่วนหนึ่งจะกลับไปทางถนนพระราม ๕ จาก[[สี่แยกราชวิถี]] ตำรวจก็ปิดกั้นไม่ยอมให้ผ่าน เพราะเป็นเส้นทางที่ไปทางบ้านจอมพลถนอม จึงมีการผลักดันกันขึ้น ตำรวจได้ใช้แก๊สน้ำตายิงใส่กลุ่มประชาชนและนักศึกษา และใช้กระบองลุยตีไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย ทำให้กลุ่มนักศึกษาประชาชนต้องกระโดดหนีลงไปในคูน้ำรอบ[[พระตำหนักจิตรลดา]] มีผู้เสียชีวิต ๓ คนบาดเจ็บนับร้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาให้เปิดประตูพระตำหนักให้นิสิตนักศึกษาเข้าไปลี้ภัย และเสด็จออกมาเยี่ยมด้วยพระองค์เอง
 
ข่าวตำรวจทำร้ายนิสิตนักศึกษาแพร่สะพัดไปทั่ว ทำให้ผู้ชุมนุมที่สลายตัวไปแล้วกลับมาชุมนุมกันอีก และขว้างปากองบัญชาการตำรวจนครบาลที่ผ่านฟ้าอย่างโกรธแค้น มีการเผาป้อมตำรวจที่ท่าพระจันทร์หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ายึดกรมประชาสัมพันธ์ที่ออกข่าวว่านิสิตนักศึกษาเป็นผู้ก่อการร้ายบุกรุกเข้าพระตำหนักสวนจิตร จากนั้นก็ลามเข้ายึดกรมสรรพากรที่อยู่ติดกัน และล้อมโรงพักชนะสงคราม
 
รัฐบาลได้ส่งรถถังหลายคันออกปราบปรามนิสิตนักศึกษาและนักเรียนอาชีวะ มีเฮลิคอปเตอร์ทหาร ๓ ลำบินวน[[ถนนราชดำเนิน]]ยิงปืนกราดและทิ้งระเบิดน้ำตาลงมา นักศึกษาประชาชนต้องเสียชีวิตจำนวนมากที่โรงพักชนะสงครามและกองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า ซึ่งตำรวจยิงต้านทานอย่างเหนียวแน่น
 
๑๘.๐๐ น.ของวันนั้น [[วิทยุประเทศไทย]]ได้ออกข่าวว่า [[จอมพลถนอม กิตติขจร]] ได้ลาออกจากตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]]แล้ว และตอนค่ำ ๑๙.๑๕ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสทางวิทยุและโทรทัศน์ ทรงเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “[[วันมหาวิปโยค]]” ขอร้องให้ทุกฝ่ายยุติการต่อสู้ ใช้สติยับยั้งเพื่อประเทศชาติกลับคืนสู่ปกติ ทรงแจ้งว่าได้แต่งตั้งให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เหตุการณ์ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ผ่านฟ้าก็ยังไม่สงบ เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมอยู่ในอารมณ์คลั่งแค้นที่ตำรวจยิงผู้ชุมนุมตายเป็นจำนวนมาก ไม่ได้รับฟังข่าวสารใดๆ จะบุกกองบัญชาการของตำรวจแห่งนี้ให้ได้ และทำสำเร็จเมื่อ ๑๓,๐๐ น.ของวันที่ [[๑๕ ตุลาคม]] วางเพลิงเผาจนวอดรวมทั้งสถานีตำรวจนางเลิ้งที่อยู่ติดกัน ในเวลา ๑๘.๔๕ น.ของวันนั้น วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้ประกาศว่า จอมพลถนอม กิตติขจร [[จอมพลประภาส จารุเสถียร]] และ[[พันเอกณรงค์ กิตติขจร]] ได้ลาออกจากราชการและเดินทางออกไปต่างประเทศแล้ว
 
ในขณะที่สถาบันทางการเมืองล่มสลายไปหมดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง สมัชชาแห่งชาติ และสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนทุกสาขาอาชีพ
 
“เพื่อให้ได้มาซึ่ง[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] อันเป็นตัวแทนของผลประโยชน์ อาชีพ วิชาการ ตลอดจนทรรศนะ ความเห็นอันกว้างขวางในประเทศของเราอย่างแท้จริง”
 
ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก พระราชดำรัสเปิดประชุมแสดงให้เห็นพระราชประสงค์ที่จะให้เกิดรัฐประชาธิปไตยเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยแท้
บรรทัด 258:
“ข้าพเจ้ามีความพอใจมากที่ได้เห็นว่า ผลแห่งการคัดเลือกนั้น ได้ทำให้สภามีสมาชิกที่มาจากคนหลายกลุ่มหลายอาชีพ ซึ่งตามปกติอยู่ห่างไกลกัน แต่ได้มาร่วมประชุมกันในสภานิติบัญญัตินี้ เพื่อแลกเปลี่ยนและรับฟังความเห็นของกันและกัน แล้วร่วมกันตัดสินใจในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองที่รักของเราต่อไป”
 
หลังจากนั้น ประชาชนก็มีโอกาสใช้สิทธิของตนเองในการเลือกตั้ง กลไกของ[[ระบอบประชาธิปไตย]]ก็กลับคืนมาอย่างสมบูรณ์อีกครั้ง ทำให้ประชาชนเห็นชัดเจนว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่มั่นคง ซึ่งทุกคนหวังพึ่งได้ เมื่อใดที่บ้านเมืองเกิดวิกฤติจนประชาชนเห็นว่าหมดที่พึ่ง ก็จะหันไปพึ่งพระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว <ref name="manager">{{cite web |year=2016|url=http://manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9590000104641 |title=โลกตะลึง! ทรงหยุดสงครามกลางเมืองที่กำลังร้อนแรง ด้วยพระราชดำรัสไม่กี่ประโยค!คนเดียวในโลกที่ทำได้!|publisher=โรม บุนนาค |accessdate=19 ตุลาคม 2559}}</ref>
 
=== พฤษภาทมิฬ ===