ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bill-RUANG (คุย | ส่วนร่วม)
Bill-RUANG (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 25:
 
=== การตรวจเลือด ===
นอกจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้ว การวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดจะใช้การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาสารที่บ่งชี้ถึงความเสียหายของ[[กล้ามเนื้อหัวใจ|เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ]] (cardiomyocyte) สารพวกนี้เรียกว่า [[ไบโอมาร์คเกอร์|ไบโอมาร์กเกอร์]]ของหัวใจ (cardiac biomarker) ปัจจุบัน ตัวชี้วัดความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจที่ใช้บ่อยคือระดับโปรตีน[[โทรโปนิน]] (troponin) T และ I รวมถึงสัดส่วน[[ครีเอตินไคเนส]]-เอ็มบี (creatine kinase-MB; CK-MB) ในเลือด
 
โทรโปรนินเป็นโปรตีนที่มีความจำเพาะสูงแต่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ การตรวจพบระดับโทรโปนินที่สูงขึ้นกว่าปกติจึงมักตีความได้ว่ากล้ามเนื้อหัวใจนั้นเกิดความเสียหายและได้ปล่อยโปรตีนโทรโปนินเข้าสู่กระแสเลือด อย่างไรก็ตาม ความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจนั้นไม่จำเป็นต้องเกิดจากการขาดเลือด (MI) เสมอไป อาการใดๆ ที่ทำอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจก็ย่อมทำให้ระดับของโทรโปนินสูงขึ้นได้เช่นกัน อาทิ [[ไตวาย|ภาวะไตวาย]] (renal failure)<ref>http://circ.ahajournals.org/content/112/20/3036</ref> [[ภาวะหัวใจวาย]] (heart failure) หรือ[[กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ|การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ]] (myocarditis) ด้วยเหตุนี้การวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดจึงต้องทำร่วมกับการซักประวัติผู้ป่วย และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย เพื่อให้ได้ผลสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
 
= การรักษา =