ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดิอิมพอสซิเบิ้ล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Stelios (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Stelios (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 32:
 
=== โด่งดัง ===
ช่วงหลังจากชนะเลิศในปีแรก ความนิยมได้พุ่งสูงอย่างมากมาย วงดิอิมดิ อิมพอสซิเบิ้ล ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมแสดงและบรรเลงรับการชักชวนจาก[[เปี๊ยก โปสเตอร์]] ซึ่งเป็น[[ผู้กำกับภาพยนตร์]]ชื่อดัง ให้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง[[โทน (ภาพยนตร์)|โทน]] (วงดิ อิมพอสซิเบิ้ล จึงได้บันทึกเสียงงานเพลงของตัวเองครั้งแรกในปลายปี พ.ศ. 2512 ในเพลงเริงรถไฟ ,ชื่นรัก และ ปิดเทอม) ของผู้กำกับเพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้

หลังจากภาพยนตร์เรื่องโทน ออกฉายในปี พ.ศ. 2513 และประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้ค่ายหนังสุวรรณ ฟิล์ม ได้ออกอัลบั้มชุด[[เปี๊ยกเพลงประกอบภาพยนตร์โทน]] โปสเตอร์ในเวลาต่อมา ซึ่งอัลบั้มดังกล่าวถือเป็นอัลบั้มที่มีการบันทึกเสียงเสียงครั้งแรกของวงดิ อิมพอสซิเบิ้ล และทำเป็น[[แผ่นเสียง]] ทำให้ดิอิมโดยมีเพลงของทางวงอยู่ 3 เพลง

ดิ อิมพอสซิเบิ้ล ได้รับความสำเร็จอย่างท่วมท้น ในขณะเดียวกันก็เกิดความเปลี่ยนแปลง สุเมธ แมนสรวง ได้ลาออกไป และได้สิทธิพร อมรพันธุ์ จากวงฟลาวเวอร์กับ ปราจีน ทรงเผ่า จากวงเวชสวรรค์ ได้เข้าร่วมวงแทน ระยะเวลานั้นดิอิม เล่นประจำอยู่ที่ศูนย์การค้าเพลินจิต แห่งเดียว ส่วนการแสดงตามโรงภาพยนตร์ในรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์ไทย หรือการแสดงในรอบเช้า 6.00 นาฬิกา ร่วมกับการฉายภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่นิยมมากในยุคนั้น (ภาพยนตร์ไทยเรื่อง [[เก๋า..เก๋า]] พ.ศ. 2549 ได้นำเสนอบรรยากาศของเรื่องการแสดงรอบเช้าของดิอิมด้วย ถึงจะไม่เหมือนไปทุกอย่าง แต่ก็ทำได้ใกล้เคียงและทำให้เห็นบรรยากาศในยุคนั้นได้ดีทีเดียว) ได้รวมถึงการแสดงตามเวทีลีลาศทั้งที่สวนลุมพินี สวนอัมพร ซึ่งมีขึ้นประจำทุกวันศุกร์หรือเสาร์ ช่วงปี 2511-2515 กลายเป็นปีทองของวงดิอิมอย่างแท้จริงราวปี พ.ศ. 2516-2518
 
=== ออกแสดงต่างประเทศครั้งแรกและความเปลี่ยนแปลงในวง ===