ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 100:
สภาความมั่นคงแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์จะให้มีการพิจารณางาน ในภารกิจทางด้านการทหารเพื่อการป้องกันประเทศ เป็นไปอย่างละเอียดรอบคอบ มีประสิทธิภาพ และมีการประสานงานซึ่งกันและกัน จึงได้ทรงโปรดเกล้าให้มีสภาเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวขึ้นเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ แต่เดิมนั้นยังไม่มีชื่อเรียกเป็นการเฉพาะ แต่เรียกเป็นการทั่วไปว่า “สภาเกี่ยวกับการป้องกันพระราชอาณาจักร” โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประธานฯ
 
ได้มีการปรับปรุงและแก้ไของค์ประกอบของสภามาเป็นลำดับ กล่าวคือในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้มีการแก้ไขปรับปรุงทั้งในด้านองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ และเรียกชื่อใหม่ว่า “สภาป้องกันพระราชอาณาจักร” จนกระทั่งถึงเดือนกรกฎาคม ๒๔๗๕ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการจัดระเบียบการป้องกันราชอาณาจักรขึ้นใหม่ สภาป้องกันพระราชอาณาจักรจึงถูกยกเลิกไป ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ได้มีการจัดตั้ง “สภาการสงคราม” ขึ้น โดย ออกเป็นพระราชบัญญัติชื่อว่าพระราชบัญญัติสภาการสงคราม ซึ่งนับเป็น พระราชบัญญัติฉบับแรกที่เกี่ยวกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพราะได้การ กำหนดให้สภาการสงครามมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินสงครามทั้งใน ทางทหาร ทางเศรษฐกิจ และการเมือง ตลอดจนสวัสดิภาพของประชาชน สภาการสงครามมีอายุได้เพียง ๘ เดือน ก็ยกเลิกไป เนื่องจากได้มีการจัดตั้ง “สภาป้องกันราชอาณาจักร” ขึ้นแทน โดยออกเป็นพระราชบัญญัติชื่อว่า พระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักร เมื่อ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๗ หลังจากนั้นเมื่อ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้มีพระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักรออกมาใหม่ ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม และใช้อยู่จนกระทั่งได้มีการการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ คือ การยกเลิกพระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๔๙๙ และประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงจาก “สภาป้องกันราชอาณาจักร” เป็น “สภาความมั่นคงแห่งชาติ” มาจนกระทั่งทุกวันนี้<ref>http://www.nsc.go.th/Pages/history.aspx</ref>ต่อมาในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/085/1.PDF</ref>โดยใจความสำคัญคือให้มีสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ 11 คนจำนวนมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ตั้งแต่มีสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานสภา รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธานสภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ
 
== รายนามเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ==