ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางพิเศษอุดรรัถยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
| image_notes =
| length_km = 32
| established = [[พ.ศ. 2541]] <!--เปิดให้บริการ-->
| direction_a = ใต้
| terminus_a = {{ป้ายทางหลวง|E|ศรีรัชส่วน C}}{{ป้ายทางหลวง|H|304}} [[ทางพิเศษศรีรัช]]ส่วน C / [[ถนนแจ้งวัฒนะ|ถ.แจ้งวัฒนะ]] ใน [[อ.ปากเกร็ด]] [[จ.นนทบุรี]]
บรรทัด 23:
}}
 
'''ทางพิเศษอุดรรัถยา''' หรือ '''ทางด่วนสายบางปะอิน–ปากเกร็ด''' <!--หรือ ทางด่วน 2 (ส่วนนอกเมือง)-->เป็น[[ทางด่วน]]ของ[[การทางพิเศษแห่งประเทศไทย]] ระยะทางรวม 32 กิโลเมตร มีปลายทางทิศใต้ที่ปลายทางทิศเหนือของ[[ทางพิเศษศรีรัช]]ส่วน C บริเวณจุดตัดกับ[[ถนนแจ้งวัฒนะ]] ใน[[อำเภอปากเกร็ด]] [[จังหวัดนนทบุรี]] และมีปลายทางทิศเหนือบน[[ถนนกาญจนาภิเษก|ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก]] ใน[[อำเภอบางไทร]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม [[พ.ศ. 2541]] ทางพิเศษอุดรรัถยามีวัตถุประสงค์การก่อสร้างเพื่อรองรับ[[เอเชียนเกมส์ 1998|การแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13]]<ref name="udon">{{cite web|url=http://www.exat.co.th/index.php/th_TH/news/article/view/5/11/ |title=ทางพิเศษอุดรรัถยา |publisher=การทางพิเศษแห่งประเทศไทย |date= |accessdate=22 มิถุนายน 2559}}</ref> และเพื่อให้ระบบทางพิเศษในตอนบนของ[[กรุงเทพมหานคร]]สมบูรณ์ขึ้น
 
== รายละเอียดของเส้นทาง ==
บรรทัด 30:
== ประวัติการก่อสร้าง ==
ทางพิเศษอุดรรัถยาแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ระยะ ดังนี้
* '''ระยะที่ 1 แจ้งวัฒนะ–เชียงราก''' รวมระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร เริ่มต้นที่ปลาย[[ทางพิเศษศรีรัช]]บริเวณจุดตัดกับ[[ถนนแจ้งวัฒนะ]] ไปถึงบางพูน ก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร และจากบางพูนไปถึงเชียงราก เป็นทางระดับดินขนาด 4 ช่องจราจร (ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร) รวมทั้งทางต่อเชื่อมจากเชียงรากไปถนนทางเข้า[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ศูนย์รังสิต ก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร (ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร) ก่อสร้างแล้วเสร็จเดือนตุลาคม [[พ.ศ. 2541]] เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม [[พ.ศ. 2541]]
 
* '''ระยะที่ 2 เชียงราก–บางไทร''' รวมระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็นทางระดับดินขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมต่อกับระยะที่ 1 ที่เชียงราก และมีแนวสายทางมุ่งไปทางทิศเหนือ ไปสิ้นสุดที่[[ถนนกาญจนาภิเษก|ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก]] ใน[[อำเภอบางไทร]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน [[พ.ศ. 2542]]
 
<!--== วิธีการเก็บค่าผ่านทาง ==
ผู้ใช้ทางพิเศษทางฝั่งขาออก (ไปบางปะอิน) ชำระค่าผ่านทางบริเวณทางลง ส่วนผู้ใช้ทางพิเศษฝั่งขาเข้า (ไปแจ้งวัฒนะ-บางนา-ดาวคะนอง) ชำระค่าผ่านทางบริเวณทางขึ้นเช่นเดียวกับทางพิเศษสายอื่นๆ-->
 
== โครงการก่อสร้างในอนาคต ==
ปัจจุบัน การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีโครงการทางพิเศษสายอุดรรัถยา–พระนครศรีอยุธยา (ทางพิเศษอุดรรัถยาส่วนต่อขยาย)<ref name="udon-ayutthaya">{{cite web|url=http://udornratthaya-ayutthaya.com/home/ |title=โครงการทางพิเศษสายอุดรรัถยา–พระนครศรีอยุธยา |publisher=การทางพิเศษแห่งประเทศไทย |date= |accessdate=8 มีนาคม 2558}}</ref> เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร แนวสายทางเริ่มจากด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษบางปะอิน สิ้นสุดที่[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32]] [[อำเภอบางปะหัน]] จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 35 กิโลเมตร ทั้งนี้ ได้มีโครงการทางเชื่อมต่อศูนย์ศิลปาชีพบางไทรในโครงการ และยังมีโครงการปรับปรุงทางพิเศษอุดรรัถยา ช่วงบางพูน-บางไทรจากทางระดับดินขนาด 4 ช่องจราจรเป็นทางยกระดับอีกด้วย