ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 15:
 
ต่อมาในปี[[พ.ศ. 2538]][[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]ทรงพระประชวรและเสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่[[โรงพยาบาลศิริราช]]หลายครั้ง ระหว่างประทับรับการรักษาได้มีพระราชดำริหลากหลายประการเกี่ยวกับปัญหาจราจร รวมทั้งการสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายถนนจตุรทิศ
[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุยเดช]]อดุยเดชพระราชทานแนวพระราชดำริให้สร้างทางคู่ขนานยกระดับคร่อมเหนือสะพานข้ามสี่แยกอรุณอัมรินทร์และสะพานข้ามสี่แยกบรมราชชนนีเพื่อให้การจราจรคล่องตัวยิ่งขึ้น ช่วยระบายรถออกนอกเมืองได้เร็วที่สุด บรรเทาปัญหาจราจรที่ติดขัดในถนนราชดำเนินต่อเนื่องถึงถนนหลานหลวง และได้พระราชทานแผนผังลายพระหัตถ์แก่[[กรุงเทพมหานคร]]นำไปศึกษาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน [[พ.ศ. 2538]]มีพระราชประสงค์ให้[[กรุงเทพมหานคร]]และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาจราจรร่วมมือกัน เช่น [[กรมทางหลวง]] [[กระทรวงคมนาคม]] [[กรมตำรวจ]] [[กระทรวงมหาดไทย]]และกรุงเทพมหานคร<ref>[http://job.haii.or.th/wiki84new/index.php/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2 สารานุกรมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี]</ref>
 
[[บรรหาร ศิลปอาชา|นายบรรหาร ศิลปอาชา]] นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เชิญผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ( [[กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา|ร้อยเอกกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา]] ) และปลัดกรุงเทพมหานคร ( [[ประเสริฐ สมะลาภา|นายประเสริฐ สมะลาภา]] ) มาประชุมร่วมกันเพื่อสนองพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาการจราจรให้ได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผลการประชุมสรุปได้ว่า[[กรุงเทพมหานคร]]เป็นผู้รับผิดชอบก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าจากแยกอรุณอัมรินทร์ถึงคลองบางกอกน้อย ระยะทางประมาณ 3.2 กิโลเมตร และกรมทางหลวงรับผิดชอบก่อสร้างจากคลองบางกอกน้อยไปจนถึงแยกพุทธมณฑลสาย 2 โดยให้รูปแบบสะพาน เสาและคานมีลักษณะเป็นรูปแบบเดียวกันหมด เป็นระยะทางประมาณ 9.4 กิโลเมตรและจากบริเวณทางยกระดับสิรินธรไปจนเลยทางแยกพุทธมณฑลสาย 2 อีก 1 กิโลเมตร นอกจากนี้[[กรมทางหลวง]]ยังจะได้ก่อสร้างขยายช่องจราจรระดับพื้นราบจากเดิมที่มี 8 ช่องจราจร เพิ่มขึ้นเป็น 12 ช่องจราจรพร้อมทั้งมีการปลูกต้นไม้ที่เกาะกลาง[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]ทรงเห็นชอบตามคำกราบบังคมทูลและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงวางศิลาฤกษ์เริ่มโครงการดังกล่าวในวันที่ 16 เมษายน [[พ.ศ. 2539]]<ref>[http://www.doh.go.th/web/kingproject/kpj5.html โครงการในพระราชดำริ โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี]</ref>