ผลต่างระหว่างรุ่นของ "น้ำมันหอมระเหย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
การใช้ประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหยขึ้นอยู่กับความต้องการและความสะดวกของผู้ใช้
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{สั้นมาก}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''น้ำมันหอมระเหย''' ({{lang-en|essential oil}}) เป็น[[น้ำมัน]]ที่สกัดได้มาจาก[[พืช]]เช่น ส่วนดอก ใบ ผล ลำต้น มาใช้ในการบำบัดตามศาสตร์[[สุคนธบำบัด]] ซึ่งแปลว่าการบำบัดโดยการใช้กลิ่นหอม กลิ่นหอมส่วนใหญ่ได้มาจากน้ำมันหอมระเหย มีลักษณะเป็นของเหลวใส กลิ่นหอมระเหยง่ายที่อุณหภูมิห้อง สามารถสกัดได้จากพืชหอม โดยพืชเหล่านี้จะมีเซลล์พิเศษเป็นต่อมหรือท่อเพื่อสร้างและเก็บสะสมน้ำมันหอมระเหย
 
โดยทั่วไปน้ำมันหอมระเหยจะถูกสกัดด้วยการกลั่น และถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรม[[น้ำหอม]] [[เครื่องสำอาง]] [[สบู่]] [[ธูป]]และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อเพิ่มความหอม และบางครั้ง ทำให้คนผ่อนคลายผ่นคลายได้ด้วย
 
== วิธีการผลิตผลิด ==
=== การกลั่น ===
ปัจจุบัน น้ำมันหอมระเหยส่วนใหญ่ เช่น ลาเวนเดอร์ เปปเปอร์มินต์ น้ำมันต้นชาและยูคาลิปตัส มาจากการกลั่น โดยใส่วัตถุดิบพืช ซึ่งประกอบด้วยดอก ใบ ไม้ เปลือกไม้ ราก เมล็ดหรือเปลือกใส่ถ้วยกลั่นเหนือน้ำ เมื่อน้ำร้อนแล้ว ไอน้ำจะผ่านวัตถุดิบพืช เกิดเป็นไอสารประกอบระเหยง่าย ไอไหลผ่านขด ที่ซึ่งจะควบแน่นกลับเป็นของเหลว แล้วมีการเก็บรวบรวมในภาชนะบรรจุ
โดยส่วนใหญ่จะกลั่นโดนใช้น้ำร้อนหรือไอน้ำ เพื่อต้องแยกน้ำมันหอมระเหยออกจากพืช เช่น ส่วนดอก ใบ ผล และลำต้น ในการสกัดโดยใช้ความร้อนจะทำให้สารละลายจากพืชออกมา กลายเป็นไอซึ่งจะปนอยู่กับน้ำร้อนหรือไอน้ำ ส่วนการสกัดด้วยความเย็นจากเครื่องควบแน่น ไอน้ำที่ได้จากน้ำมันหอมระเหยจะควบแน่นกลายเป็นของเหลว ทำให้น้ำมันหอมระเหยและน้ำเกิดการแยกชั้นกัน การกลั่นน้ำมันหอมระเหยที่ใช้โดยทั่วไปมี 3 วิธี ได้แก่
1.การกลั่นด้วยน้ำร้อน (Water distillation & Hydrodistillation)
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการกลั่นน้ำมันหอมระเหย วิธีการคือ บรรจุพืชลงในหม้อกลั่น เติมน้ำจนท่วมพืช และต้มจนน้ำเดือด เมื่อน้ำเดือดจะเกิดการระเหยเป็นไอ ไอน้ำจะช่วยพาน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในพืชออกมาพร้อมกัน ซึ่งส่วนที่ใช้ในการสกัดจะใช้พืชสด เพราะในพืชสดจะมีชั้นน้ำอยู่ เมื่อสกัดจะได้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยมากกว่าการสกัดพืชที่แห้ง
 
2.การกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ (Water and Steam distillation)
วิธีนี้เป็นการกลั่นโดยเอาน้ำผสมกับพืช เมื่อต้มน้ำให้เดือดไอน้ำจะผ่านส่วนผสมของพืช ทำให้น้ำมันหอมระเหย เกิดการระเหยกลายเป็นไอน้ำ เมื่อกลายเป็นไอน้ำก้จะถูกทำให้เย็นลง เพื่อจะนำไปแยกน้ำมันหอมระเหยออกจากน้ำ วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกและง่ายสุดในการสกัด อีกทั้งคุณภาพที่ได้ยังออกมาดีอีกด้วย นิยมใช้มากในด้านการค้า
 
3.การกลั่นด้วยไอน้ำ (Direct Steam distillation)
้วิธีนี้จะนำพืชไปต้มแยกกับน้ำ หรือให้ไอน้ำเข้าไปยังพืชที่ต้องการสกัด เมื่อพืชได้รับความร้อนจะได้สารหอมระเหยอออกมาพร้อมกับไอน้ำ ผ่านเครื่องควบแน่นจะกลั่นตัวออกมาเป็นของเหลวได้น้ำมันหอมระเหยและน้ำ เกิดการแยกชั้น 2 ชั้น
 
 
==การใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อสุคนธบำบัด==
 
1.การนวด(Message) เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุด เพราะด้วยสรรพคุณของน้ำมันหอมระหยแต่ละชนิด จะสามารถช่วยบำบัดรักษาโรคได้ ตัวยาซึมผ่านผิวหนังด้วยการนวดส่วนกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยจะช่วยให้ประสาทสัมผัสรับกลิ่นปรับอารมณ์ให้รู้สึกสบายขึ้นไปพร้อมๆกัน
 
2.การอาบ(Baths) เป็นวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำเองได้ คือผสมน้ำอุ่นในอ่างสำหรับลงแช่ได้ แล้วหยดน้ำมันหอมระเหยประมาณ 6-8 หยด ลงในอ่างน้ำ แล้วลงแช่ทั้งตัวสักประมาณ 20นาที ไอระเหยจากอ่างน้ำอุ่นและการซึมทางผิวหนังด้วยการแช่จะช่วยให้รู้สึกสดชื่นขึ้น
 
3.การประคบ(Compresses) ใช้ผ้าขนหนูสะอาดๆ ชุบน้ำที่ผสมน้ำมันหอมระเหย แล้วประคบบริเวณที่ต้องการ (ห้ามประคบบริเวณดวงตา) จะใช้น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยด
 
4.การสูดดม(Inhalations) เป็นการใช้กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยอย่างเดียว ไม่มีการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดดมกลิ่นหอมทำได้2วิธี คือ ใส่น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดในชามที่เตรียมน้ำอุ่นไว้แล้ว ก้มลงสูดดมสัก2-3นาที และอีกวิธีคือ หยดน้ำมันหอมระเหย 1-2 หยดในผ้าเช็ดหน้าแล้วสูดดม(ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำมันหอมระเหยโดยตรง)
 
5.การสูดไอน้ำ(Vaporization) น้ำมันหอมระเหยบางชนิด Antiseptic ฆ่าเชื้อโรคได้ เมื่อสูดดมไอน้ำจากน้ำมันหอมระเหยชนิดนี้เข้าไปจะช่วยกำจัดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจได้
 
6.การเผา/อบแห้ง เป็นการอบห้องให้หอม หลักการอบห้องเพื่อฆ่าเชื้อโรคในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ก็ใช้หลักการนี้ เพราะน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจะถูกอบอวล ในห้องที่ปิดมิดชิดสามารถฆ่าเชื้อโรคได้
 
7.ใช้ผสมกับเครื่องหอมและน้ำมันหอมระเหย ส่วนมากเครื่องหอม เช่น บุหงา และน้ำหอมจะมีส่วนผสมจากกลิ่นไม้หอม หรือกลิ่นจากดอกไม้นานาพันธุ์ผสมอยู่ การใช้เครื่องหอมและน้ำมันหอมส่วนมากจะมีจุดประสงค์ให้เกิดความสบายใจ สะอาด สดชื่น
 
8.การใช้การเครื่องสำอาง ครีม โลชั่น น้ำมันหอมระเหยสามารถช่วยให้เครื่องสำอาง ครีม และโลชั่นต่างๆ ที่เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย ผิวหน้า เส้นผม มีความสะอาดและยังสร้างความสมดุลให้ผิว
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เส้น 41 ⟶ 13:
* [http://libertynatural.com/lists/essentia.htm C of A's and MSDS's for Essential Oils]
* [http://www.healthyfragrance.com/blog/Natural-Fragrances-vs-Synthetic-Fragrances/ Differences between Natural and Synthetic Fragrances]
 
*[http://www.yesspathailand.com/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2.html]
[http://www.neutron.rmutphysics.com/teaching-glossary/index.php?Itemid=25&id=8831&option=com_content&task=view]
http://www.thainipponsupply.com/article/2/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3
http://www.yesspathailand.com/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2-%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B5.html
[[หมวดหมู่:น้ำมัน]]