ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชวังจันทน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{สั้นมาก}}
'''พระราชวังจันทร์จันทน์''' ใน[[เมืองพิษณุโลก]] เป็นสถานที่ประทับขององค์[[พระมหากษัตริย์]] [[พระมหาอุปราช]] และเจ้านายชั้นสูงแห่ง[[กรุงสุโขทัย]]และ[[กรุงศรีอยุธยา]] (ปัจจุบัน คือ [[โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม]])
 
== ประวัติ ==
 
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) เป็นพระราชโอรสใน พระยาเลอไท พระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง เจ้ากรุงสุโขทัย พระราชโอรสใน พ่อขุนรามคำแหง ทรงครองกรุงสุโขทัยระหว่าง พ.ศ. 1890 -1904 ทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 6 ของราชวงศ์พระร่วง พระมหาธรรมราชาที่ 1 เสด็จครองราชสมบัติ กรุงสุโขทัย ณ เมืองพิษณุโลก และทรงครองเมืองพิษณุโลกระหว่าง พ.ศ. 1905 - 1912 เป็นเวลา 7 ปี พระองค์ทรงสร้างพระราชวังจันทน์บนเนินดินบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน และสันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงอยุธยา ภายหลังจึงร้างลงปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุระยะทางไปพิษณุโลกของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เสด็จตรวจราชการเมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ.2444 โปรดให้ขุนศรเทพบาล สำรวจรังวัดจัดทำผังพระราชวังจันทน์ ฯลฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสังเวยเทพารักษ์ วันที่ 17 ตุลาคม 2444 มีพราชหัตถเบขา ไว้ว่ามีซากพระราชวังก่อด้วยอิฐ สูงพ้นดิน 2-3 ศอกเศษ มีพระที่นั่งคล้ายพระที่นั่งจันทรพิศาล ในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ลพบุรี มีกำแพงวัง 2 ชั้น มีสระสองพี่น้องอยู่นอกกำแพงวัง ภายหลังปรักหักพังเป็นป่ารกในสงครามอะแซหวุ่นกี้ตีเมืองพิษณุโลก ในปีพ.ศ.2475 โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ได้ย้ายมาจากบริเวณ วัดนางพญา มาตั้งในพื้นที่พระราชวังจันทน์ จึงมีการปรับพื้นที่ก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ มาเป็นลำดับ ในปีพ.ศ.2535 โรงเรียนจะก่อสร้างอาคารเรียน 4 ชั้นที่บริเวณสนามบาสเกตบอลใกล้ต้นโพธิ์ใหญ่ ขณะที่คนงานก่อสร้างขุดหลุมเสาฐานรากได้พบซากอิฐเก่า กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2536 มีพื้นที่ 128 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา
พระราชวังจันทร์นี้ [[พระมหาธรรมราชา]]และ[[พระนเรศวร]] ประทับที่นั้น
 
== อ้างอิง ==
หนังสือ ตามรอยบรรพกษัตริย์ไทย ใต้เบื้องพระยุคลบาท ในเมืองพิษณุโลก
 
{{ต้องการอ้างอิง}}