ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเซ็นเซอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EuChinnabuat (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 23:
[[ไฟล์:The Commissar Vanishes 2.jpg|thumb|right|250px|ภาพถ่ายที่ถูกตัดแต่งและเผยแพร่โดยรัฐบาลแสดงให้เห็นเพียงแต่สตาลินเนื่องจาก[[นิโคไล เยชอฟ]] ขัดแย้งกับสตาลินเขาจึงถูกสังหารและถูกตัดออกจากภาพโดยกองตรวจพิจารณาโซเวียต]]
 
การตรวจพิจารณาที่เข้มงวดมีให้เห็นตั้งแต่กลุ่มคนในสมัยประเทศ[[คอมมิวนิสต์]] รัฐมนตรีต่างๆ เป็นผู้ควบคุมเหล่านักเขียน ผลผลิตทางวัฒนธรรมเหล่านั้นแสดงให้เห็นถึงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ความต้องการของรัฐ ในสมัยนั้นพรรคการเมืองเป็นผู้ตรวจเช็คและควบคุมก่อนที่จะเผยแพร่ ในสมัยของ[[โจเซฟ สตาลิน]] (Stalinist period) แม้กระทั่งการพยากรณ์อากาศยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ถ้าหากรัฐบาลต้องการบอกว่าพระอาทิตย์จะไม่ส่องสว่างในวันที่ [[1 พฤษภาคม]] ภายใต้การปกครองของ [[นิโคไล เชาเชสกู|ประธานาธิบดีนิโคไล เชาเชสกู]]แห่ง[[โรมาเนีย]] การรายงานสภาพอากาศก็ถูกควบคุมอุณหภูมิจะได้ไม่ดูว่าขึ้นลงหรือเปลี่ยนแปลงมากจนถึงจุดที่ต้องออกคำสั่งหยุดงาน ใน[[สหภาพโซเวียต]]เราไม่สามรถพบนักข่าวอิสระได้จนกระทั่ง[[มิฮาอิล กอร์บาชอฟ]]ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำแห่งสหภาพโซเวียต การรายงานข่าวทุกชิ้น[[การตรวจพิจารณาในสหภาพโซเวียต|จะต้องถูกควบคุม]]โดยพรรคคอมมิวนิสต์หรือองค์การที่เกี่ยวข้อง ปราฟดาคือหนังสือพิมพ์มีที่เอกสิทธิ์ผูกขาดและมีบทบาทมากในสหภาพโซเวียต หนังสือพิมพ์ต่างชาตินั้นมีให้เห็นแต่จะต้องเป็นฝ่ายเดียวกับพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้น
 
การครอบครองและการใช้เครื่องทำสำเนาล้วนถูกควบคุมเพื่อยับยั้งการผลิตและการเผยแพร่ของ[[หนังสือต้องห้าม]]ในโซเวียต (samizdat) หนังสือและนิตยสารที่ตีพิมพ์เองจะผิดกฎหมาย การครอบครองแม้กระทั่งหนังสือเพียงเล่มเดียวของ [[อันเดร ซินยาฟสกี]] ถือเป็นอาชญากรรมอันร้ายแรงและอาจมีการตรวจค้นจาก[[หน่วยตำรวจลับของสหภาพโซเวียต|หน่วยตำรวจลับแห่งสหภาพโซเวียต]]หรือเคจีบี ผลงานอื่นๆ ที่ไม่ได้สนับสนุนรัฐบาลต่างถูกตีพิมพ์ในต่างประเทศ [[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]ซึ่งยังใช้กฎหมายทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ว่าจ้างตำรวจ[[อินเทอร์เน็ต]]กว่าสามหมื่นคน เพื่อตรวจสอบการใช้อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์เสิร์ชเอนจินที่เป็นที่นิยม เช่น [[กูเกิล]] และ [[ยาฮู!]] และในประเทศ[[อิรัก]]ภายใต้การปกครองของ[[ซัดดัม ฮุสเซน]] มีการตรวจพิจารณาข่าวสารเช่นเดียวกับในประเทศโรมาเนียภายใต้[[นิโคไล เชาเชสกู|ประธานาธิบดีนิโคไล เชาเชสกู]]แต่มีความรุนแรงทางการเมืองมากกว่า ส่วนสื่อในประเทศ[[คิวบา]]ดำเนินการภายใต้การตรวจการของพรรคคอมมิวนิสต์ หน่วยงานการกำหนดทิศทางของการปฏิวัติ (Department of Revolutionary Orientation) ซึ่งทำหน้าที่พัฒนาและประสานงานกลยุทธ์ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ซึ่งการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย