ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2:
'''เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย''' (ตัวย่อ: คปท.) เป็นขบวนการทางการเมืองภาคประชาชน มีบทบาทในช่วง[[วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557]]
 
คปท.ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556 โดยเป็นการแตกตัวแยกออกมาจาก [[กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ]] (กปท.) ซึ่งก่อนหน้านั้นในวันที่ 7 ตุลาคม ปีเดียวกัน กปท.ได้เคลื่อนย้ายที่ชุมนุมจาก[[สวนลุมพินี]] แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน มาล้อมรอบ[[ทำเนียบรัฐบาล]] แขวงดุสิต เขตดุสิต จนกระทั่งถึงวันที่ 10 ตุลาคม ที่ทางรัฐบาลได้ประกาศพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงฉุกเฉินภายในราชอาณาจักร (พ.ร.บ.มั่นคงฯความมั่นคง) ครอบคลุมพื้นที่[[เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย]], [[เขตพระนครดุสิต]] และ[[เขตดุสิตพระนคร]] พร้อมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รุกคืบเข้ามาเพื่อขอคืนพื้นที่ ที่สุดทางแกนนำกปท.ก็ได้ยินยอมที่จะกลับไปชุมนุมยังสวนลุมพินีที่เดิม ยังความไม่พอใจแก่ผู้ชุมนุมบางส่วนที่อยู่นอกรอบและกำลังเสริมกันเข้ามา จึงพร้อมใจกันที่จะแยกตัวออกมาชุมนุมต่างหากที่[[แยกอุรุพงษ์]] แขวงทุ่งพญาไท [[เขตราชเทวี]] ซึ่งเป็นพื้นที่นอกเขตพ.ร.บ.ความมั่นคง และประกาศจัดตั้งเป็นกลุ่มใหม่ขึ้นมา โดยปฏิเสธว่ามิได้มีความขัดแย้งกับทางกปท.<ref>{{cite web|url=http://www.thairath.co.th/content/375216|title= งัดกม.มั่นคงคุมม็อบกปท.ปิดล้อมทำเนียบ|date=10 October 2013|accessdate=26 April 2015|publisher=ไทยรัฐ}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9560000131035|title='อุทัย ยอดมณี ' เมื่อนักศึกษาเป็นแกนนำ คปท. |date=19 October 2013|accessdate=26 April 2015|publisher=ไทยรัฐ}}</ref>
 
คปท. มีแกนนำ คือ นาย[[อุทัย ยอดมณี]] นายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อศ.มร.) และนาย[[นิติธร ล้ำเหลือ]] ทนายความแห่งสภาทนายความแห่งประเทศไทย ที่เคยเข้าร่วมการชุมนุมกับ[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] (พธม.) มาแล้วในปี[[การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง|พ.ศ. 2549]] และ [[การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551|พ.ศ. 2551]] โดยทั้งคู่ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน<ref>{{cite web|url=http://www.thairath.co.th/content/375566|title=ม็อบยังปิดแยกอุรุพงษ์ เปลี่ยนชื่อใหม่'คปท.' จี้ ตร.เร่งหาคนร้าย |date=10 October 2013|accessdate=26 April 2015|publisher=ไทยรัฐ}}</ref><ref name="นิติธร"/>
บรรทัด 8:
การชุมนุมของ คปท.ปักหลักอยู่ที่แยกอุรุพงษ์ บริเวณ[[ถนนพระราม 6]] ฝั่งขาเข้าและขาออก โดยหลายต่อหลายครั้งได้ถูกลอบโจมตีจากระเบิดที่ถูกโยนลงมาจากบน[[ทางพิเศษศรีรัช]]ที่อยู่ด้านบน และถูกโรยผง[[หมามุ่ย]]เข้าใส่ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายคนจนต้องนำส่งเข้าโรงพยาบาล<ref>{{cite web|url=http://news.sanook.com/1265998/|title=คปท.บุกทางด่วนจี้ดูCCTVหาคนโรยหมามุ่ย |date=26 October 2013|accessdate=26 April 2015|publisher=สนุกดอตคอม}}</ref> <ref>{{cite web|url=http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1383121041|title=ขว้างระเบิดปิงปองจากทางด่วนใส่ม็อบ คปท. โชคดีไม่มีเจ็บ-ตาย|date=30 October 2013|accessdate=26 April 2015|publisher=มติชนออนไลน์}}</ref>
 
จนกระทั่งถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน หลังจากกลุ่มต่อต้านพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม (พ.ร.บ.นิรโทษกรรม) ของ[[พรรคประชาธิปัตย์]] ได้เคลื่อนย้ายที่ชุมนุมจาก[[สถานีรถไฟสามเสน]] แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท มาปักหลักที่[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]] แขวงเสาชิงช้า แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร [[ถนนราชดำเนินกลาง]]แล้ว คปท.ก็ได้ย้ายสถานที่ชุมนุมมาปักหลักที่เชิง[[สะพานมัฆวานรังสรรค์]]จนถึง[[สะพานชมัยมรุเชษฐ์]] ใกล้กับทำเนียบรัฐบาล แขวงดุสิต เขตดุสิตในที่สุด<ref>{{cite web|url=http://www.dailynews.co.th/article/193102/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%207%E0%B8%9E.%E0%B8%A2.56|title=เกาะติดม็อบต้านนิรโทษกรรม 7พ.ย.56|date=7 November 2013|accessdate=26 April 2015|publisher=เดลินิวส์}}</ref> และต่อมาในวันที่ [[29 พฤศจิกายน]] ปีเดียวกัน เมื่อมีการจัดตั้ง [[กปปส.]] (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ขึ้นที่[[ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550]] [[ถนนแจ้งวัฒนะ]] แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ ทางแกนนำ คปท.ก็ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการเหมือนกับแกนนำกลุ่มอื่น ๆ ด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000148378|title=“เทือก” ตั้ง กปปส.เผด็จศึก “ระบอบแม้ว” 1 ธ.ค.วันแห่งชัย-ยึดศูนย์ราชการเบ็ดเสร็จตั้งแต่คืนนี้ ก่อนรุกคืบยึดทำเนียบรัฐบาล-สตช.|date=29 November 2013|accessdate=26 April 2015|publisher=ผู้จัดการออนไลน์}}</ref>
 
บทบาทของ คปท. จะเป็นไปในลักษณะของการชุมนุมที่เป็นเชิงรุก โดยหลายต่อหลายครั้งเสี่ยงต่ออันตราย ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เช่น การปิดล้อมหน้า[[สนามกีฬาศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)]] แขวงดินแดง เขตดินแดง]] เพื่อไม่ให้มีการรับสมัครเลือกตั้งในวันที่ 26 ธันวาคม ปีเดียวกัน หรือการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาขอคืนพื้นที่ ๆ เชิง[[สะพานผ่านฟ้าลีลาศอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]] แขวงเสาชิงช้า แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557<ref name="นิติธร">{{อ้างหนังสือ
|ผู้แต่ง=กองบรรณาธิการคมชัดลึก
|ชื่อหนังสือ=บันทึกมวลมหาประชาชน