ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผนลับ 20 กรกฎาคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thanit.pex (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 60:
 
=== โอกาสสุดท้าย "ไม่ว่าต้องเสียอะไรก็ตาม" ===
เมื่อย่างเข้าฤดูร้อน ค.ศ. 1944 เกสตาโปสืบใกล้ถึงกลุ่มคบคิด ในเวลานั้น มีความรู้สึกว่าเวลากำลังหมดลง ทั้งในสมรภูมิ ซึ่งทหารใน[[แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)|แนวรบด้านตะวันออก]]กำลังถอยเต็มรูปแบบ และฝ่ายสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกในประเทศฝรั่เศสฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน และในประเทศเยอรมนี ซึ่งพื้นที่ดำเนินกลยุทธของผู้ก่อการหดลงอย่างรวดเร็ว ผู้ก่อการเชื่อว่าการลงมือปฏิบัติหนนี้เป็นโอกาสสุดท้าย ถึงขณะนี้ แกนนำผู้คบคิดเริ่มคิดว่าพวกตนชะตาขาด และการกระทำนั้นเป็นในเชิงสัญลักษณ์มากกว่าเกิดผลจริง บางคนเริ่มมองความมุ่งหมายของการคบคิดว่าเป็นการรักษาเกียรติยศของตนเอง ครอบครัว กองทัพและประเทศเยอรมนีผ่านท่าทีอันสง่างาม แต่ไร้ผล มากกว่าเปลี่ยนทิศทางของประวัติศาสตร์จริง ๆ
 
ความเชื่อที่ว่า ผู้ก่อการประสบความสำเร็จสำคัญในต้นเดือนกรกฎาคมเมื่อสามารถชักชวน[[เออร์วิน รอมเมล]] "จิ้งจอกทะเลทราย" ผู้มีชื่อเสียง เข้าร่วมคณะได้ เป็นเรื่องเข้าใจผิด รอมเมลเป็นนายทหารที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปรเทศประเทศเยอรมนีและไม่เคยให้การสนับสนุนแผนลับนี้ (วิทเซลเบินปลดประจำการตั้งแต่ ค.ศ. 1942) แม้รอมเมลรู้สึกว่าเขาจำเป็นต้อง "มาช่วยประเทศเยอรมนี"แต่เขาเชื่อว่าการฆ่าฮิตเลอร์ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง และสมควรนำตัวฮิตเลอร์ขึ้นศาลอาชญากรรมมากกว่าการลอบสังหาร <ref name="RiseFall">William Shirer, ''The Rise and Fall of the Third Reich'' (Touchstone Edition) (New York: Simon & Schuster, 1990)</ref>
 
เมื่อชเตาฟ์เฟนแบร์กส่งสารถึงเทรสคอว์ผ่านร้อยโท [[:en:Heinrich Graf von Lehndorff-Steinort|ไฮนริช กรัฟ ฟอน เลนดอร์ฟฟ์-สไทนอร์ท]] ถามว่ามีเหตุผลที่พยายามลอบฆ่าฮิตเลอร์อ่นหรือไม่หากไม่มีความมุ่งหมายทางการเมือง เทรสคอว์ตอบว่า "ต้องพยายามลอบสังหาร ไม่ว่าต้องเสียอะไรก็ตาม แม้มันล้มเหลว เราต้องลงมือปฏิบัติการในกรุงเบอร์ลิน เพราะความมุ่งหมายเชิงปฏิบัตินั้นไม่สำคัญอีกแล้ว สิ่งสำคัญตอนนี้ คือ ขบวนการต่อต้านเยอรมันต้องตัดสินใจเบื้องหน้าสายตาชาวโลกและประวัติศาสตร์ เมื่อเทียบกับสิ่งนั้นแล้ว สิ่งอื่นก็ไม่สำคัญ"<ref>Joachim Fest, ''Plotting Hitler’s Death: The German Resistance to Hitler 1933–1945'', 236</ref>
 
ฮิมม์เลอร์เคยสนทนากับผู้ต่อต้านที่ทราบแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1943 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังปรัสเซีย โยฮันเนส โพพิทซ์ ซึ่งเกี่ยวข้องในเครือข่ยของเกอร์เดแลร์เครือข่ายของเกอร์เดแลร์ มาพบข่าวและเสนอการสนับสนุนของเขาหากให้เขาแทนที่ฮิตเลอร์และรับประกันว่าสงครามยุติลงด้วยการเจรจา<ref>Joachim Fest, ''Plotting Hitler's Death'', 228</ref> การประชุมนี้ไม่มีผล แต่โพพิทซ์มิได้ถูกจับกุมทันที (แม้ภายหลังเขาถูกประหารชีวิตใกล้สงครามยุติ) และปรากฏว่าฮิมม์เลอร์มิได้ดำเนินการตามล่าเครือข่ายต่อต้านแต่อย่างใดซึ่งเขาทราบว่าปฏิบัติการอยู่ในระบบข้าราชการ เป็นไปได้ว่าฮิมม์เลอร์ ซึ่งปลาย ค.ศ. 1943 ทราบว่าสงครามนี้ไม่อาจเอาชนะได้ จึงปล่อยให้แผนลับดำเนินไปโดยทราบว่าหากแผนนั้นสำเร็จ เขาจะเป็นผู้สืบทอดของฮิตเลอร์ จากนั้นจะสามารถนำมาซึงข้อตกลงสันติภาพได้
 
โพพิทซ์ไม่ใช่ผู้เดียวที่มองฮิมม์เลอร์ว่ามีศักยะเป็นพันธมิตร พลเอก ฟอน บอคแนะนำเทรสคอว์ให้แสวงการสนับสนุนของเขา แต่ไม่มีหลักฐานว่าเขาทำเช่นนั้น เกอร์เดแลร์ดูเหมือนว่าติดต่อกับฮิมม์เลอร์โดยอ้อมผ่านคนที่ทั้งสองรู้จัก คือ คาร์ล ลังเบน ไฮนซ์ เฮอเนอ นักชีวประวัติวิลเฮล์ม คานาริส เสนอว่า คานาริสและฮิมม์เลอร์กำลังร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงระบอบ แต่การอ้างดังกล่าวเป็นเพียงการคาดคะเน<ref>Himmler's contacts with the opposition and his possible motives are discussed by Peter Padfield, ''Himmler'', 419–424</ref>