ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันอีด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
 
วันอีดมี 2 วันในแต่ละปีคือ
# '''อีดุลฟิฏริ''' ภาษามลายูปัตตานีเรียก '''ฮารีรายอปอซอ''' มุสลิมภาคกลางเรียก '''วันอีดเล็ก''' ในวันที่ 1 เดือน[[เชาวาล]] เป็นเฉลิมฉลองที่ได้ถือ[[ศีลอด]]ในเดือน[[เราะมะฎอน]] จะมีการละหมาดที่มัสยิด หากใครมีฐานะดีก็จะบริจาคเงินแก่เด็กและคนชรา และขออภัยญาติมิตรหากเคยล่วงเกินต่อกัน<ref>{{cite book | author = แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง | title = ทักษะวัฒนธรรม| url = http://www.sac.or.th/main/uploads/userfiles/image/taksawattanatam/p_referp_4.pdf | publisher = ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร | location = กรุงเทพฯ | year = 2552 | page = 84}}</ref>
# '''อีดุลอัฎหา''' ภาษามลายูปัตตานีเรียก '''ฮารีรายอฮายี''' มุสลิมภาคกลางเรียก '''วันอีดใหญ่''' ในวันที่ 10 เดือน[[ซุลหิจญะฮฺ์]] จะมีกิจกรรมใกล้เคียงกับอีดุลฟิฏริ แต่เพิ่มเติมการเชือดสัตว์พลีเพื่ออัลลอฮ์ ([[กุรบาน]]) โดยสัตว์นั้นอาจเป็นแพะ แกะ วัว หรืออูฐก็ได้<ref>{{cite book | author = แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง | title = ทักษะวัฒนธรรม| url = http://www.sac.or.th/main/uploads/userfiles/image/taksawattanatam/p_referp_4.pdf | publisher = ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร | location = กรุงเทพฯ | year = 2552 | page = 86}}</ref>
 
ในวันอีดจะมีการประกอบศาสนกิจ (จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล เป็นส่วนใหญ่ และจังหวัดอื่น ๆ ตามกันไป มีหลักการว่า[[พระราชพิธีตรุษอีด]] จะประกอบใน[[ประเทศไทย]] [[ประเทศมาเลเซีย]] [[บรูไน]] [[ซาอุดีอาระเบีย]] [[กาตาร์]] [[โอมาน]] และประเทศอื่น ๆ ที่มีประชากรมุสลิมจำนวนมาก โดยมี[[พระมหากษัตริย์]]ในประเทศนั้นเสด็จเป็นองค์ประธานด้วยพระองค์เอง สำหรับ [[อินโดนีเซีย]] ก็มีการเฉลิมฉลองเช่นเดียวกัน โดยทางรัฐบาลกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการต่อเนื่องกันนานหลายวัน เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่นายจ้างจะให้โบนัสแก่ลูกจ้างในเทศกาลนี้ และอนุญาตให้เดินทางกลับภูมิลำเนาได้
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/วันอีด"