ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชอาณาจักรอียิปต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Samhanin (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 89:
ก่อนหน้าสมัยราชอาณาจักร ประเทศอียิปต์ได้ถูกยึดครองและควบคุมโดย[[สหราชอาณาจักร]]นับตั้งแต่ [[ค.ศ. 1882]] เมื่อมหาอำนาจยุโรปได้ส่งกองทัพเข้ามาสนับสนุนการปกครองระบอบ[[เคดีฟ]]เพื่อต่อต้านการลุกฮือของขบวนการ[[ชาตินิยม]] เหตุการณ์ดังกล่าวได้เป็นจุดเริ่มต้นให้สหราชอาณาจักรเข้าควบคุมอียิปต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[จักรวรรดิออตโตมัน]]แต่เพียงในนาม ในปี [[ค.ศ. 1914]] ผลจากการประกาศสงครามต่อจักรวรรดิออตโตมันได้ทำให้สหราชอาณาจักรต้องประกาศให้อียิปต์เป็นรัฐในอารักขาและถอดถอนเคดีฟออกจากตำแหน่ง พร้อมทั้งแต่งตั้ง[[ฮุสเซน กามิล]] พระญาติของเคดีฟ ขึ้นเป็น[[สุลต่านแห่งอียิปต์]]แทน
 
อียิปต์ได้รับการสถาปนาและได้รับการยอมรับโดยสหราชอาณาจักรในปี [[ค.ศ. 1922]] โดยมี[[พระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์]] ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ และได้ต่อสู้ทางการเมืองกับ[[พรรควาฟด์]] (Wafd) อันเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่แนวทางชาตินิยมที่ต่อต้านทั้งอิทธิพลของสหราชอาณาจักรและประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งพรรคดังกล่าวต้องการจะให้อียิปต์เข้าควบคุม[[คลองสุเอซ]]โดยตรง นอกจากนั้นยังมีขบวนการทางการเมืองอื่นๆ ที่เคลื่อนไหวในยุคนี้ เช่น [[พรรคคอมมิวนิสต์อียิปต์]] (ก่อตั้ง [[ค.ศ. 1925]]) และ[[ขบวนการภราดรภาพมุสลิม]] (Muslim Brotherhood - ก่อตั้ง [[ค.ศ. 1928]]) ซึ่งขบวนการหลังนี้เป็นขบวนการที่ทรงอำนาจทั้งทางการเมืองและศาสนา
 
พระเจ้าฟูอัดที่ 1 เสด็จสวรรคตในปี [[ค.ศ. 1936]] ราชสมบัติจึงตกอยู่กับเจ้าชายฟารุกซึ่งขณะนั้นมีพระชนม์ได้ 16 พรรษา [[การรุกรานเอธิโอเปียโดยอิตาลี]]ในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน เป็นสัญญานเตือนให้พระองค์ต้องลงพระนามใน[[สนธิสัญญาอังกฤษ-อียิปต์ ค.ศ. 1936|สนธิสัญญาอังกฤษ-อียิปต์]] เพื่อให้สหราชอาณาจักรถอนทหารออกไปจากอียิปต์ทั้งหมด โดยยกเว้นเพียงบริเวณคลองสุเอซ ซึ่งสหราชอาณาจักรได้ตกลงถอนทหารในปี [[ค.ศ. 1949]]