ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 80:
การส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย เริ่มเกิดนโยบายดังกล่าวในปี พ.ศ. 2497<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/A/064/1503.PDF พระราชบัญญัติส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๔๙๗]</ref> ในรัฐบาลของ[[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] ซึ่งมีพลโท [[บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา]] เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้วยเหตุที่รัฐวิสาหกิจของไทยประสบปัญหารายได้จากการส่งออกลดลง จึงมีแนวคิดที่จะส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่ในระหว่างที่มีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว มีกิจการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพียง 9 ราย และได้รับอนุมัติเพียง 6 ราย ดังนั้นในรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงได้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายส่งเสริมการลงทุนใหม่ โดยยกเลิกพระราชบัญญัติเดิมและตราพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2503 ขึ้นมาแทน และมีการแต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม" มีอำนาจหน้าที่ให้การส่งเสริมการลงทุน มีกรรมการทั้งหมด 36 คน โดยมีนาย[[ทวี บุณยเกตุ]] เป็นประธาน
 
ในระยะแรกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม ไม่มีบุคลากรประจำ ต้องยืมตัวข้าราชการจากหน่วยต่างๆ มาทำงาน ต่อมาจึงมีการแก้ไขกฎหมายและจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ [[21 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2509]] มีฐานะเทียบเท่ากรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีที่ทำการอยู่ที่[[ถนนราชดำเนินกลาง]] และในวันที่ [[21 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2515]] ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน" และ "สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน" ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๒๗ ลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/AD/159/1.PDF ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๒๗ (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๐๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม)] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙ ตอน ๑๕๙ ก พิเศษ หน้า ๑ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ </ref>
 
ใน พ.ศ. 2546 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้โอนไปเป็นส่วนราชการภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และในปี พ.ศ. 2557 จึงได้มีคำสั่ง[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] ให้มาสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีดังเดิม<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/143/6.PDF ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๐/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมและกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน]</ref><ref>[http://www.thairath.co.th/content/437912 ประกาศ คสช. ดึง 'บีโอไอ' ขึ้นตรงนายกรัฐมนตรี]</ref>