ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แท่งทอง เกียรติทวีสุข"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 30:
แท่งทอง เริ่มฝึกชกมวยครั้งแรกในแบบ[[มวยไทย]]ตั้งแต่ยังเด็ก ๆ อายุราว 8-9 ขวบ ในชื่อ "แดงน้อย เดชทวี" โดยฝึกมวยครั้งแรกจากอารักษ์ ภูตระกูล จากนั้นจึงได้เข้าเรียนต่อที่[[โรงเรียนตราษตระการคุณ]] จึงย้ายไปอยู่ค่ายศิษย์ตราษตระการของ สมชาย โพธิสุวรรณ เจ้าของค่ายเป็นผู้ดูแล จนสามารถพัฒนาฝีมือได้อย่างรวดเร็ว ด้วยอายุเพียง 16-17 ปี ก็ได้ขึ้นชกใน[[สนามมวยเวทีลุมพินี]] ในชื่อ "ชัยชนะ เดชทวี" เคยเป็นแชมป์มวยในรุ่น[[สตอร์วเวท|มินิฟลายเวท]]ของสนามมวยเวทีลุมพินีมาก่อน รวมถึงเป็นแชมป์[[มวยไทย 7 สี]]<ref>[http://www.thairath.co.th/content/region/263593 สลด 'แท่งทอง' อดีตแชมป์มวย]</ref>และเป็นนัก[[มวยสากลสมัครเล่น]]ในระดับทีมชาติชุด B มาก่อน ในขณะที่เกณฑ์ทหาร โดยได้เหรียญเงินการแข่งขันกีฬา[[ซีเกมส์ 2005]] ที่[[ประเทศฟิลิปปินส์]] แต่หลังจากนั้นไม่อาจเบียดแทรกขึ้นมาเป็นทีมชาติชุดจริงได้ จึงหันมาชกมวยสากลอาชีพแทน
 
แท่งทอง ชกมวยสากลอาชีพครั้งแรก ในปี [[พ.ศ. 2550]] โดยชนะน็อก เอกชัย โพทองยิม ในยกที่ 2 จนกระทั่งทำฟอร์มชนะรวดอีก 5 ครั้ง โดยเป็นการชนะคะแนน 1 ครั้ง ก็ได้ชิงแชมป์แพนแปซิฟิก [[สหพันธ์มวยนานาชาติ|IBF]] รุ่น[[แบนตั้มเวท]] กับ คิม อี ฮอน นักมวยชาว[[เกาหลีเหนือ]] เมื่อวันที่ [[23 พฤศจิกายน]] ปีเดียวกัน ที่[[สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ]] (จตุจักร) แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทหมหานคร ปรากฏว่าแท่งทองสามารถเอาชนะคะแนน 12 ยกไปได้ รวมแล้วสามารถป้องกันแชมป์ในรุ่นนี้ไว้ได้ทั้งหมด 10 ครั้ง
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2553]] แท่งทองได้ชิงแชมป์ว่างในรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท อินเตอร์เนชั่นแนล [[สภามวยโลก|WBC]] กับ นิค โอเทียโน นักมวยชาว[[เคนยา]] ปรากฏว่าเป็นฝ่ายเอาชนะคะแนนไปได้ที่[[จังหวัดราชบุรี]] และต่อมาในปี [[พ.ศ. 2554]] ได้ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 15 ในรุ่น[[แบนตั้มเวท]] แพนแปซิฟิก IBF กับ ริชาร์ด ซาโมเซียร์ นักมวยชาวอินโดนีเซีย ปรากฏว่าแท่งทองเป็นฝ่ายเอาชนะน็อกไปได้ในยกที่ 3 ที่[[จังหวัดระยอง]]