ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏแมนฮัตตัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
เหตุที่เลือกเอาวันนี้เป็นวันลงมือ เพราะก่อนหน้านั้นเพียงหนึ่งวัน มีการปล่อยกำลังทหารกองหนุนกลับสู่ภูมิภาค ทำให้จำนวนทหารในพระนครเหลือน้อย เรียกกลับมาประจำการไม่ทัน อีกทั้งพื้นที่บริเวณนี้ก็เป็นเขตของทหารเรือด้วย จึงลงมือได้ง่ายกว่า
 
ในเหตุการณ์กบฏ หัวหน้าคณะก่อการ คือ [[อานนท์ ปุณฑริกกาภา|น.อ.อานนท์ ปุณฑริกกาภา]] สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง [[ชื้น จารุวัสส์|พระยาสารสาสน์ประพันธ์]] ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของ[[กรมการรักษาดินแดน]] (ร.ด.) โดยได้ให้[[นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) |นายวรการบัญชา]] ประธาน[[สภาผู้แทนราษฎร]] รักษาการนายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่[[ทำเนียบรัฐบาล]] (ในขณะนั้นคือ [[พระที่นั่งอนันตสมาคม]]) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ ซึ่งตามแผนการของผู้ก่อการแล้ว ฝ่ายก่อการต้องยึดโรงไฟฟ้าและสถานีโทรศัพท์กลาง ที่หน้าวัดราชบุรณะ (วัดเลียบ) ให้ได้ โดยเรือรบหลวงศรีอยุธยาจะต้องแล่นผ่าน[[สะพานพระพุทธยอดฟ้า]] ซึ่งเปิดรอ เพื่อไปตั้งกองบัญชาการที่ฝั่งพระนคร และมีกำลังทหารจากต่างจังหวัดยกเข้ามาสมทบทั้งทหารเรือและทหารบก แต่เมื่อลงมือจริง ๆ แล้วกลับไม่เป็นไปตามนั้น สะพานพระพุทธยอดฟ้าก็ไม่เปิด และในที่สุดเครื่องยนต์เรือก็เสียจากการถูกโจมตีหนัก โดยในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ใช้กำลังทหารเพื่อปราบจลาจล<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/041/1.PDF</ref> และในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เวลา 10.00 น. นายวรการบัญชา รัฐมนตรีได้รับสนองพระบรมราชโองการประกาศกฎอัยการศึกในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/041/3.PDF</ref>
 
ในส่วนของกองบัญชาการฝ่ายรัฐบาลที่ตั้งขึ้น ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ฝ่ายกองทัพเรือ โดย พล.ร.อ.[[สินธุ์ กมลนาวิน]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารเรือ|ผู้บัญชาการทหารเรือ]] ได้ส่งผู้แทนหลายคนเข้าพบนายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชการระดับสูงของทางรัฐบาล เพื่อยืนยันว่า กรณีนี้ทางฝ่ายทหารเรือส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย เป็นเพียงการกระทำการของนายทหารชั้นผู้น้อยไม่กี่นายเท่านั้น เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดระหว่างกองทัพ แต่กระนั้น ทาง พล.อ.[[ผิน ชุณหะวัณ]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารบก|ผู้บัญชาการทหารบก]] รวมถึง พล.ท.[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] แม่ทัพภาคที่ 1 ได้ยืนยันว่า การกระทำเช่นนี้นับว่าอุกอาจมาก เพราะเป็นการกระทำต่อหน้าทูตต่างชาติหลายประเทศ รวมทั้งจะให้ทางฝ่ายทหารเรือแอบขึ้นเรือรบหลวงศรีอยุธยาในยามวิกาลเพื่อบุกชิงตัวจอมพล ป. กลับคืนมาให้ได้ภายในเวลา 05.00 น. ของวันที่ [[30 มิถุนายน]] พ.ศ. 2494 ไม่เช่นนั้นจะยิงทุกจุดที่มีทหารเรืออยู่ เพราะถือว่าเป็นการถ่วงเวลาเพื่อรอกำลังฝ่ายกบฏมาสมทบ แต่ทางฝ่ายทหารเรือไม่กล้าที่จะทำเช่นนั้น โดยให้เหตุผลว่าหากทำเช่นนั้น เกรงว่าจอมพล ป. จะได้รับอันตรายได้
บรรทัด 33:
ในส่วนของ น.ต.มนัส จารุภา ร.น. ผู้ทำการจี้จอมพล ป. ได้หลบหนีไปพม่าได้สำเร็จ แต่ถูกจับกุมได้หลังจากลักลอบกลับเข้าประเทศเมื่อปี [[พ.ศ. 2495]]
 
การดำเนินคดีมีการจับกุมผู้ต้องหาร่วม 1,000 คน ซึ่งควบคุมตัวไว้ที่สนามกีฬาแห่งชาติ เนื่องจากมีจำนวนมาก ในที่สุดก็ต้องปล่อยตัวเพราะหาหลักฐานไม่เพียงพอจนเหลือฟ้องศาลประมาณ 100 คน ภายหลังนักโทษคดีนี้ส่วนใหญ่ได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อปี [[พ.ศ. 2500]] เนื่องในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ ในส่วนของ[[กองทัพเรือไทย|กองทัพเรือ]] แม้ทหารที่ก่อการจะไม่ใช่ทหารระดับสูงและทหารเรือส่วนใหญ่ก็ไม่เกี่ยวข้องด้วย กระนั้น พล.ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือ และนายทหารเรือระดับสูงหลายคน ก็ยังต้องโทษตัดสินจำคุกนานถึง 3 ปี โดยที่ไม่มีความผิด และได้มีการปรับลดอัตรากำลังพลของกองทัพเรือลงไปมาก เพราะถือเป็นความพยายามก่อรัฐประหารเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันของทหารเรือ ต่อจาก[[กบฏวังหลวง]] ที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้นเพียง [[พ.ศ. 2492|2 ปี]] โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น ยุบกรมนาวิกโยธินกรุงเทพ, ยุบกองการบินกองทัพเรือไปรวมกับ[[กองทัพอากาศไทย|กองทัพอากาศ]], ย้ายกองสัญญาณทหารเรือที่[[ถนนวิทยุ]] ที่ต่อมากลายเป็นที่ตั้งของ[[โรงเรียนเตรียมทหาร]] ซึ่งในปัจจุบันคือที่ตั้งของ [[สวนลุมไนท์บาซ่าร์]] นั่นเอง<ref>{{cite news|url=http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=326&contentID=75395|title= 29 มิถุนายน |first=นรนิติ|last=เศรษฐบุตร|date=July 2, 2012|work=เดลินิวส์}}</ref><ref>{{อ้างหนังสือ
| ผู้แต่ง=[[วินทร์ เลียววาริณ]]
*| ชื่อหนังสือ[[=ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน]] โดย [[วินทร์ เลียววาริณ]], ISBN 9748585476
| URL= http://www.winbookclub.com/bookdetail.php?bid=2
| จังหวัด=กรุงเทพฯ
| พิมพ์ที่=ดอกหญ้า
| ปี= พ.ศ. 2537
| ISBN=974-8585-47-6
| หน้า=
| จำนวนหน้า=
}}
 
{{วิกิซอร์ซ|บันทึกของ น.ต.มนัส จารุภา รน.}}
เส้น 42 ⟶ 52:
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* หนังสือ[[ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน]] โดย [[วินทร์ เลียววาริณ]], ISBN 9748585476
* [http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=326&contentID=75395 29 มิถุนายน ]คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย จากหนังสือพิมพ์[[เดลินิวส์]]ฉบับที่ 22,177 ประจำ[[วันศุกร์]]ที่ [[2 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2553]] แรม 6 ค่ำ เดือน 8 [[ปีขาล]] โดย [[นรนิติ เศรษฐบุตร]]
 
{{รัฐประหารในไทย‎}}