ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เดอะบลิตซ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''เดอะบลิตซ์''' ({{lang-en|The Blitz}}) หมายถึงการทิ้งระเบิดเกือบทุกเมืองทั้งใหญ่และเล็กในสหราชอาณาจักรโดยนาซีเยอรมันอย่างหนักและต่อเนื่องในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ระหว่างวันที่ 7 กันยายน [[พ.ศ. 2483]] และวันที่ 16 พฤษภาคม [[พ.ศ. 2484]] โดย[[ลุฟท์วัฟเฟอ|กองทัพอากาศเยอรมัน]] (Luffwaffe) การเน้นหนักอยู่ที่นคร[[ลอนดอน]] เดอะบลิตซ์ ทำให้คนตาย 43,000 คน บ้านเรือนถูกทำลายมากกว่าหนึ่งล้านหลัง แต่ก็ไม่บรรลุเป้าหมายที่ต้องการให้[[สหราชอาณาจักร]]หมดความสามารถในการทำสงคราม หรือหมดขีดความสามารถในการต่อต้านการรุกรานของ[[นาซี]]
 
ถึงแม้ว่าคำว่า '''"บลิตซ์"''' (Blitz) เป็นคำย่อของ 'blitzkrieg' ซึ่งแปลว่า "[[การโจมตีสายฟ้าแลบ]]" แต่ยุทธการ'''เดอะบลิตซ์'''กลับไม่ตรงความหมายคือรวดเร็วอย่างฟ้าแลบ แต่ได้กลายเป็นแบบอย่างของ "[[การทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์]]" (strategic bombing)ที่ใช้ทุกฝ่ายนำไปใช้ในเวลาต่อมา
 
การโจมตีทางอากาศของนาซีต่อสหราชอาณาจักรได้เบาบางลงและทิ้งช่วงไประยะหนึ่ง มาเริ่มต้นใหม่ในปี พ.ศ. 2487 โดยการโจมตีด้วย[[จรวด วี 1]] และ [[วี 2]]
บรรทัด 12:
ฝ่ายเยอรมันสร้างความเสียหายได้อย่างมหาศาล บริเวณถูกระเบิดที่มีแต่กองซากปรักหักพังขนาดใหญ่ ล้วนเป็นที่ที่เคยมีอาคารตั้งอยู่ (หลายแห่งยังคงเหลือปรากฏให้เห็นจนถึงช่วงประมาณ พ.ศ. 2525) การโจมตีของเยอรมันทำให้ต้องถ่ายเททรัพยากรทั้งหมดไปทางด้านกลาโหมยังผลให้เกิดปัญหาการดำเนินชีวิตอย่างหนักไปทั้งประเทศ นอกจากการล้มตาย 43,000 คนแล้วยังมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 139,000 คนท่ามกลางบ้านที่ถูกทำลายนับล้านหลัง ส่วนการสูญเสียของฝ่ายเยอรมันในยุทธการเดอะบลิตซ์ครั้งนี้มีน้อยมาก เยอรมันเสียเครื่องบินทิ้งระเบิดไปเพียง 600 ลำ เทียบได้เท่ากับร้อยละ 1.5 ต่อเที่ยวบินที่เข้ามาทิ้งระเบิดทั้งหมดและเกือบทั้งหมดเป็นอุบัติเหตุจากการลงจอดที่ฐานขาบินกลับ
 
สำหรับอังกฤษแล้ว การที่เยอรมันทำความเสียได้แก่อังกฤษมายมายสุดประมาณด้วยการ แต่ฝ่ายเยอรมันสูญเสียต่ำอย่างไม่น่าเชื่อได้นี้น้อย ถือว่าเป็นความล้มเหลวของอังกฤษ ประเทศไม่ได้เตรียมพร้อมการโจมตีทิ้งระเบิดเชิงยุทธศาสตร์ในลักษณะนี้มาก่อน หลุมหลบภัยไม่เพียงพอ รัฐบาลต้องใช้สถานีรถใต้ดินถึง 80แห่งเป็นที่หลบภัยและใช้เป็นที่อยู่อาศัยพักพิงสำหรับประชาชนมากถึง 177,000 คน ตรงกันข้ามกับฝ่ายเยอรมันที่ได้เตรียมตัวรับการทิ้งระเบิดเชิงยุทธศาสตร์ของฝ่ายพันธมิตรในช่วงหลังของสงครามไว้เป็นอย่างดีโดยใช้ลอนดอนเป็นบทเรียน แต่ถึงกระนั้นจำนวนผู้เสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดเชิงยุทธศาสตร์ของฝ่ายพันธมิตรในภายหลังมีจำนวนสูงกว่าการทิ้งระเบิดอังกฤษในอังกฤษครั้งนั้นมากมาย และการทิ้งระเบิดในเยอรมันของโดยฝ่ายพันธมิตรก็ยังมากมายมีมากและหนักหน่วงกว่าเดอะบลิตซ์ในอังกฤษหลายเท่าตัว อาจกล่าวได้ว่าเดอะบลิตซ์ได้หวนกลับมาทำลายเมืองเบอร์ลิน แฮมเบิร์กและเมืองอื่น ๆ ของเยอรมันราบเป็นหน้ากลอง
 
เดอะบลิตซ์ทำให้อังกฤษหันมาปรับปรุงระบบป้องกันภัยทางอากาศเป็นการใหญ่ ซึ่งเป็นการช่วยให้อังกฤษรับมือกับการโจมตีทางอากาศของเยอรมันในรูปแบบต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งจรวดระเบิดวี 1 และ วี 2 ในช่วงปลายสงคราม
บรรทัด 18:
[[หมวดหมู่:การทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ในสงครามโลกครั้งที่สอง]]
{{โครง}}
 
[[nl:Blitzkrieg#Blitz op Londen]]