ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยไดมารู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ไทยไดมารู''' เป็น[[ห้างสรรพสินค้า]]จาก[[ประเทศญี่ปุ่น]] ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้าราชประสงค์ (เซ็นทรัลเวิลด์ในปัจจุบัน)<ref>[http://www.komchadluek.net/detail/20100421/56314/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C.html เมื่อวานและวันนี้ที่ราชประสงค์]</ref> ต่อมา ห้างก็ได้ย้ายไปอยู่ที่ราชดำริอาเขต ที่ตั้งปัจจุบันคือบริเวณ[[บิ๊กซี]] ราชประสงค์ เปิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2507 โดยบริษัทไทยไดมารู จำกัด มีทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท ถือเป็นห้างสรรพสินค้าที่ประสบความสำเร็จแห่งหนึ่งในสมัยนั้น มีแนวความคิดแบบห้างสรรพสินค้าจากญี่ปุ่นที่เปิดขึ้นเพื่อรองรับคนชาวญี่ปุ่น ที่เข้ามาทำงานใน[[ประเทศไทย]]เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ในบริเวณ[[ราชดำริ]]ที่มีสำนักงานบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่นจำนวนมาก ไทยไดมารูยังเป็นห้างสรรพสินค้าที่มีบันไดเลื่อนแห่งแรกของไทย รวมถึงเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของไทยด้วยที่มีการติดตั้ง[[เครื่องปรับอากาศ]]<ref>{{cite web|title=แฟนพันธุ์แท้ 2003 : ห้างสรรพสินค้า|url= https://www.youtube.com/watch?v=I85VyluqsjI|work=[[แฟนพันธุ์แท้ 2003]]|date=May 28, 2014|author=Herehor2009}}</ref> ไทยไดมารูเปิดสาขา 2 ย่านพระโขนงเมื่อปี พ.ศ. 2524
 
ในวงการเมืองแง่ของประวัติศาสตร์ ห้างไทยไดมารู เคยเป็นจุดที่นิสิตนักศึกษา ใช้เป็นจุดรณรงค์ต่อต้านสินค้าจากต่างประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2516 ก่อนที่จะขยายตัวเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย จนเกิดความรุนแรงใน[[เหตุการณ์ 14 ตุลา|วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม]]
 
ในปี พ.ศ. 2537 เมื่อไทยไดมารู ที่อยู่บริเวณศูนย์การค้าราชดำริ อาเขต หมดสัญญาลงได้ย้ายมาอยู่ที่ศูนย์การค้า[[เสรีเซ็นเตอร์]] [[ถนนศรีนครินทร์]] (ปัจจุบันคือ [[พาราไดซ์ พาร์ค]]) ดำเนินการในนาม บริษัทไทยดีเอ็มอาร์ รีเทล จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท มีบริษัทไดมารู อิงค์ จากญี่ปุ่น เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ถึงแม้ว่าเสรีเซ็นเตอร์จะอยู่ใกล้กับโครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่ หลายโครงการ และเป็นย่านที่มีกำลังซื้อสูง แต่ไม่ตรงกับความคิดที่รองรับคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะ และยังมีคู่แข่งจำนวนมาก โดยเฉพาะ[[ซีคอนสแควร์]]และ[[เซ็นทรัลพลาซา บางนา]] ห้างไทยไดมารูที่[[เสรีเซ็นเตอร์]] จึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
บรรทัด 17:
[[หมวดหมู่:ห้างสรรพสินค้าในอดีตในประเทศไทย|ท]]
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2507|ท]]
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ ค.ศ. 1964|ท]]