ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมพระเทพามาตย์ (นกเอี้ยง)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 54:
เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก ประชาชนทั้งหลายก็ต่างพากันหลบหนีพม่า ครั้งนั้นกรมพระเทพามาตย์เองได้หนีไปพำนักในแขวงเมืองเพชรบุรี ซึ่ง[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|นายสุดจินดา (บุญมา)]] ก็เป็นธุระจัดการนำพระองค์มาจากเพชรบุรี เพื่อมาส่งให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในค่ายที่ชลบุรี<ref>ปรามินทร์ เครือทอง, หน้า 67</ref>
 
ภายหลังเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชชนนี ขึ้นดำรงอิสริยยศเป็น '''กรมพระเทพามาตย์''' ตามโบราณราชประเพณีในปี พ.ศ. 2312<ref name="เอี้ยง"/><ref>{{cite book|title=Thailand: A Short History|author=David K. Wyatt|publisher=Yale University Press|pages=140|isbn=0300035829}}</ref> ต่อมาพระองค์ประชวรพระยอดอัคเนสัน และได้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2317<ref name="เอี้ยง"/> โดยมีการสร้าง[[พระโกศโถ]] หรือ ลองโถ สำหรับพระราชมารดาในปี พ.ศ. 2318 และสันนิษฐานว่าพระโกศดังกล่าวสร้างเพื่อพระศพเจ้านายที่ทรงศักดิ์ชั้นสูงสุดในสมัยนั้น<ref>ศุภฤกษ์ แก้วมณีชัย. "เล่าขานงานพระเมรุ : พระโกศและพระลอง". ''ศิลปวัฒนธรรม.'' 30:2 (ธันวาคม 2551), หน้า 132</ref> โดยให้เจ้าพระยาจักรี (ต่อมาคือ [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]) เป็นแม่กองทำพระเมรุ ณ [[วัดบางยี่เรือใต้]]<ref name="พระ">ปรามินทร์ เครือทอง, หน้า 65</ref>
 
แต่ในงานพระเมรุดังกล่าวถูกเร่งให้จัดขึ้นในช่วงฤดูฝน ด้วยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงห่วงใยในการศึกของพม่าอยู่ซึ่งมักเข้ามาในช่วงฤดูแล้งของทุกปี ซึ่งตามธรรมเนียมเดิมนั้นงานพระเมรุจะถูกจัดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง<ref name="พระ"/> เจ้าพระยาจักรีจึงปรึกษากับเจ้านายทั้งปวงว่าจะใช้ดีบุกบางเคลือบทองน้ำตะโก แล้วทาด้วยแป้งเปียกติดเข้ากับเนื้อไม้จนสำเร็จในเดือนเก้า แต่ก่อนจึงถึงวันเชิญพระศพมาในพระเมรุนั้นฝนได้ตกชะทองน้ำตะโกที่ปิดประดับพระเมรุหลุดร่วงลงมาทั้งหมด เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทอดพระเนตรเห็นทองน้ำตะโกที่ติดประดับพระเมรุหลุดร่วงก็ทรงพิโรธ<ref name="พระ"/> มีพระราชดำรัสว่า