ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Delicious (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อมูลในบทความ
Delicious (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อมูลในบทความ
บรรทัด 94:
| before_party =
| after_election = [[สุจินดา คราประยูร|พลเอกสุจินดา คราประยูร]]
| after_party =
}}
'''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535''' หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า '''35/1''' นับเป็น '''[[การเลือกตั้ง]]ครั้งที่ 18 ของ[[ประเทศไทย]]''' มีขึ้นเมื่อ[[วันอาทิตย์]]ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/004/1.PDF พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2535 (กำหนดวันเลือกตั้ง ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 และกำหนดระยะเวลารับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 10 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535)]</ref> หลังการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534]] โดยก่อนการเลือกตั้ง มีพรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้น คือ [[พรรคสามัคคีธรรม]]
บรรทัด 101:
[[พรรคสามัคคีธรรม]] เป็นพรรคการเมืองที่รวบรวมนักการเมืองมาจากหลายพรรค และมีบุคคลใกล้ชิดกับ[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] (รสช.) ดำรงตำแหน่งสำคัญคือ [[ฐิติ นาครทรรพ|นาวาอากาศตรีฐิติ นาครทรรพ]] ที่เป็นเลขาธิการพรรค
 
หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม คือ [[ณรงค์ วงศ์วรรณ|นายณรงค์ วงศ์วรรณ]] อดีตหัวหน้า[[พรรครวมไทย]] และอดีตหัวหน้า[[พรรคเอกภาพ]] พรรคสามัคคีธรรมถูกตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนแกนนำของคณะ รสช. และอาจจะกล่าวได้ว่าแกนนำของ คณะ รสช. บางคน มีส่วนสนับสนุนพรรคนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษาสืบทอดอำนาจ หลังการเลือกตั้ง พรรคสามัคคีธรรม จึงเป็นพรรคที่มาคล้ายกับ [[พรรคเสรีมนังคศิลา]] ที่เคยสนับสนุน [[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] และ [[พรรคสหประชาไทย]] ที่เคยสนับสนุน [[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]] ในการรักษาอำนาจหลังการรัฐประหาร นอกจากนี้นักการเมืองบางคนในสังกัด พรรคสามัคคีธรรม ยังเคยสังกัดใน พรรคเสรีนังคศิลา และพรรคสหประชาไทย อีกด้วย
 
== ผลการเลือกตั้ง ==
บรรทัด 186:
ในชั้นแรกพรรคเสรีธรรมประสบความสำเร็จ ในการหนุน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ส.ส.พรรคสามัคคีธรรม ขึ้นเป็น [[รายนามประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย|ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญเพราะมีสถานะเป็น [[รายนามประธานรัฐสภาไทย|ประธานรัฐสภา]]โดยตำแหน่ง ซึ่งก็คือเป็นผู้นำรายชื่อนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ และเป็นผู้ลงนาม รับสนองพระบรมราชโองการฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี นั่นเอง
 
ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ มีสื่อมวลชนไปสัมภาษณ์ [[สุจินดา คราประยูร|พล.อ.สุจินดา คราประยูร]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุด|ผู้บัญชาการสูงสุดทหารสูงสุด]] และ[[ผู้บัญชาการทหารบก]] ผู้นำคณะ รสช. หลายครั้งว่าจะเป็น นายกรัฐมนตรีหรือไม่ ซึ่ง พล.อ.สุจินดา ได้ตอบปฏิเสธอย่างชัดเจนว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี<ref>พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, 2535: หน้า 31</ref> ซึ่งทำให้[[ณรงค์ วงศ์วรรณ|นายณรงค์ วงศ์วรรณ]] หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมที่ได้คะแนนเสียงสูงสุด มีโอกาสที่จะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏข่าวว่า[[สหรัฐอเมริกา]]เคยปฏิเสธที่จะออกวีซ่า ให้กับนายณรงค์ เนื่องจากสงสัยมีการพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด<ref>พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, 2535: หน้า 3</ref>ซึ่งกรณีดังกล่าว นายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง และว่าข่าวนี้เป็นการจงใจสร้างเรื่องขึ้นเพื่อกีดกันไม่ให้ตนขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี<ref>[http://www.pamook.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&Category=pamookcom&thispage=29&No=176382 ชนะคดีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ขอปรึกษาฟ้องแพ่งค่ะ]</ref>
 
พรรคสามัคคีธรรมได้ที่นั่งมากที่สุด คือ 79 ที่นั่ง จากจำนวนที่นั่งทั้งหมด 360 ที่นั่ง ทำให้ต้องจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยได้รับการสนับสนุนจากอีก 4 พรรค รวมเป็น 5 พรรคร่วมรัฐบาล คือ พรรคสามัคคีธรรม (ส.ส. 79 คน) พรรคชาติไทย (ส.ส. 74 คน) พรรคกิจสังคม (ส.ส. 31 คน) พรรคประชากรไทย (ส.ส. 7 คน) และพรรคราษฎร (ส.ส. 4 คน) รวมเป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 195 คน