ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มะละกอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 47:
 
== ประโยชน์ ==
.....
นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น [[ส้มตำ]] [[แกงส้ม]] ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า [[พาเพน]] (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้<br />
:สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้
{|class="wikitable"
|+'''เนื้อมะละกอสุก'''
|-
|'''สารอาหาร'''||'''ปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม'''
|-
|โปรตีน||0.5 กรัม
|-
|ไขมัน||0.1 กรัม
|-
 
|แคลเซียม||24 มิลลิกรัม
|-
|ฟอสฟอรัส||22 มิลลิกรัม
|-
|เหล็ก||0.6 มิลลิกรัม
|-
|โซเดียม||4 มิลลิกรัม
|-
|ไทอะมีน||0.04 มิลลิกรัม
|-
|ไรโบฟลาวิน||0.04 มิลลิกรัม
|-
|ไนอะซิน||0.4 มิลลิกรัม
|-
|กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี)||70 มิลลิกรัม
|}
 
สรรพคุณของมะละกอ
สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้
1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
 
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
 
สรรพคุณ มะละกอ :
 
เปลือกมะละกอ - ทำน้ำยาขัดรองเท้าได้
ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
 
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
 
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
 
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
 
เป็นยาช่วยย่อย:
1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป็นผักจิ้ม
2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain
 
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
 
เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
 
แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
 
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
 
คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
 
เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
 
ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
 
แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้
 
 
 
<br />
<br />
ประโยชน์ของพาเพน
# ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เบียร์ ไวน์และเครื่องดื่มอื่น ๆ โดยปาเปนจะทำหน้าที่ละลายโปรตีนในผลิตภัณฑ์ และให้สารละลายใสไม่ขุ่นเมื่อเก็บไว้นานหรือที่อุณหภูมิต่ำ
# ในโรงงานผลิตเนื้อสัตว์และปลา จะทำให้เนื้อสัตว์นั้นนุ่มเปื่อยเมื่อนำมาประกอบอาหาร
# ในอุตสาหกรรมยาและใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยใช้เป็นองค์ประกอบของยาช่วยย่อยอาหาร นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาพวกแผลติดเชื้อ เนื่องจากปาเปนมีคุณสมบัติให้เลือดแข็งตัวและยังสามารถใช้ฆ่าพยาธิในลำไส้ ด้วย
# ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง โดยผสมปาเปนในน้ำยาแช่หนังจะทำให้หนังเรียบ และนุ่ม
# ในอุตสาหกรรมทอผ้า จะใช้ปาเปนฟอกไหมให้หมดเมือก
# ในอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มะละกอ"