ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าแก้วนวรัฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
กันต์ กรัณย์กร (คุย | ส่วนร่วม)
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 105:
ผลงานที่สำคัญ ได้แก่
 
* [[พ.ศ. 2420]] เจ้าอินทวิชยานนท์ โปรดให้คุมราษฎรจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ประมาณ 300 ครัวเรือน ขึ้นไปตั้งภูมิลำเนาที่เมือง[[เชียงแสน]]ซึ่งเป็นเมืองร้าง<ref name="อดีตลานนา">บุญเสริม ศาสตราภัย และสังคีต จันทนะโพธิ. (2520) '''อดีตลานนา''' กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์</ref>
* [[พ.ศ. 2429]] เจ้าอินทวิชยานนท์ โปรดให้เป็นผู้แทนพระองค์ควบคุม[[เครื่องราชบรรณาการ]]และ[[ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง]] ไปทูลเกล้าถวายแด่[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ณ กรุงเทพฯ
* [[พ.ศ. 2433]] ปราบกบฏพญาผาบ<ref name="อดีตลานนา"/> นายแคว้นสันทรายที่ก่อกบฏขึ้น โดยรวบรวมชาวบ้านติดอาวุธโดยว่าจะเข้ามาฆ่านายอากรชาวจีนและข้าราชการชาวไทย อันเนื่องมาจากไม่พอใจที่ราษฏรถูกขูดรีดเรื่องภาษีจนถึงขั้นทำร้ายราษฏร
* [[พ.ศ. 2445]] ทรงนำกำลังจับกุมผู้ร้ายปล้นที่ว่าการอำเภอหางดง และระงับเหตุ[[เงี้ยว]]เมืองฝางก่อจลาจล
* [[พ.ศ. 2453]] รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และได้เดินทางไปร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
* [[พ.ศ. 2464]] ดำริให้มีการขุดบ่อกักเก็บน้ำมันที่อำเภอฝาง และเป็นจุดเริ่มต้นของการถือกำเนิดบ่อน้ำมันฝาง<ref>[npdc.mod.go.th/เรองเลาเมอวนวาน/ความเปนมาของกจการนำมนฝาง.aspx ความเป็นมาของบ่อน้ำมันฝาง]</ref>
* พ.ศ. 2469 เจ้าแก้วนวรัฐ ทรงนำเสด็จ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 7 ครั้งเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ
* [[พ.ศ. 2476]] เป็นนายกองสร้างถนนหลายสาย เพื่อเชื่อมการคมนาคมอำเภอรอบนอกกับในเมือง ถนนสายสำคัญที่ท่านมีส่วนร่วม ได้แก่ ถนนสายสันทราย-ดอยสะเก็ด ปัจจุบันเรียก [[ถนนแก้วนวรัฐ]] ถนนสายขึ้นดอยสุเทพร่วมกับ[[ครูบาศรีวิชัย]] ซึ่งท่านเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ และเป็นผู้ขุดเป็นปฐมฤกษ์<ref name="อดีตลานนา"/> เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477
* [[พ.ศ. 2477]] ทรงสร้าง[[สะพานนวรัฐ]] ขึ้นเป็นสะพานไม้เพื่อเชื่อมสองฝั่งแม่น้ำปิง