ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนอิสรภาพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ถนนอิสรภาพ''' ({{lang-roman|Thanon Itsaraphap}}) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งทาง[[ฝั่งธนบุรี]] [[กรุงเทพมหานคร]]
'''ถนนอิสรภาพ''' ({{lang-roman|Thanon Itsaraphap}}) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งทาง[[ฝั่งธนบุรี]] [[กรุงเทพมหานคร]] มีลักษณะเป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 21–23.50 เมตร ระยะทางยาวประมาณ 4.18 กิโลเมตร<ref>กองนโยบายและแผนงาน. สำนักผังเมือง. กรุงเทพมหานคร. '''รายงานการศึกษา เรื่อง โครงข่ายถนนและทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร.''' [ม.ป.ท.], 2551.</ref> เริ่มต้นจาก[[แยกลาดหญ้า|สามเหลี่ยมลาดหญ้า]]ซึ่งเป็นจุดตัดกับ[[ถนนลาดหญ้า]]และ[[ถนนท่าดินแดง]]ในพื้นที่[[เขตคลองสาน]] มุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับ[[ถนนประชาธิปก]]และผ่านแนวคลองวัดน้อยที่[[แยกบ้านแขก|ทางแยกบ้านแขก]] เข้าพื้นที่[[เขตธนบุรี]] ผ่านแนวคลองสมเด็จเจ้าพระยา ข้าม[[สะพานเจริญพาศน์]] ([[คลองบางกอกใหญ่]]) และเข้าพื้นที่[[เขตบางกอกใหญ่]] ตัดกับ[[ถนนวังเดิม]]ที่[[แยกโพธิ์สามต้น|ทางแยกโพธิ์สามต้น]] ผ่านแนวคลองวัดอรุณ ข้าม[[คลองมอญ]]และเข้าพื้นที่[[เขตบางกอกน้อย]] เมื่อผ่านกองบัญชาการกองทัพเรือจึงเริ่มโค้งขึ้นไปทางทิศเหนือ ตัดกับซอยอิสรภาพ 39 (วัดดงมูลเหล็ก) และซอยอิสรภาพ 44 (แสงศึกษา) ที่ทางแยกวัดดงมูลเหล็ก ตัดกับ[[ถนนพรานนก]]และ[[ถนนวังหลัง]]ที่[[แยกพรานนก|ทางแยกพรานนก]] ไปสิ้นสุดที่[[แยกบ้านเนิน|ทางแยกบ้านเนิน]]ซึ่งเป็นจุดตัดกับ[[ถนนรถไฟ (เขตบางกอกน้อย)|ถนนรถไฟ]]และ[[ถนนสุทธาวาส]]
 
== ลักษณะ ==
'''ถนนอิสรภาพ''' ({{lang-roman|Thanon Itsaraphap}}) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งทาง[[ฝั่งธนบุรี]] [[กรุงเทพมหานคร]] มีลักษณะเป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 21–23.50 เมตร ระยะทางยาวประมาณ 4.18 กิโลเมตร<ref>กองนโยบายและแผนงาน. สำนักผังเมือง. กรุงเทพมหานคร. '''รายงานการศึกษา เรื่อง โครงข่ายถนนและทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร.''' [ม.ป.ท.], 2551.</ref> เริ่มต้นจาก[[แยกลาดหญ้า|สามเหลี่ยมลาดหญ้า]]ซึ่งเป็นจุดตัดกับ[[ถนนลาดหญ้า]]และ[[ถนนท่าดินแดง]]ในพื้นที่[[เขตคลองสาน]] มุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับ[[ถนนประชาธิปก]]และผ่านแนวคลองวัดน้อยที่[[แยกบ้านแขก|ทางแยกบ้านแขก]] เข้าพื้นที่[[เขตธนบุรี]] ผ่านแนวคลองสมเด็จเจ้าพระยา ข้าม[[สะพานเจริญพาศน์]] ([[คลองบางกอกใหญ่]]) และเข้าพื้นที่[[เขตบางกอกใหญ่]] ตัดกับ[[ถนนวังเดิม]]ที่[[แยกโพธิ์สามต้น|ทางแยกโพธิ์สามต้น]] ผ่านแนวคลองวัดอรุณ ข้าม[[คลองมอญ]]และเข้าพื้นที่[[เขตบางกอกน้อย]] เมื่อผ่านกองบัญชาการกองทัพเรือจึงเริ่มโค้งขึ้นไปทางทิศเหนือ ตัดกับซอยอิสรภาพ 39 (วัดดงมูลเหล็ก) และซอยอิสรภาพ 44 (แสงศึกษา) ที่ทางแยกวัดดงมูลเหล็ก ตัดกับ[[ถนนพรานนก]]และ[[ถนนวังหลัง]]ที่[[แยกพรานนก|ทางแยกพรานนก]] ไปสิ้นสุดที่[[แยกบ้านเนิน|ทางแยกบ้านเนิน]]ซึ่งเป็นจุดตัดกับ[[ถนนรถไฟ (เขตบางกอกน้อย)|ถนนรถไฟ]]และ[[ถนนสุทธาวาส]]
 
== ประวัติ ==
ถนนอิสรภาพเป็น "ถนนสายที่ 3" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายใน[[จังหวัดธนบุรี]]และ[[จังหวัดพระนคร]]เพื่อรองรับการก่อสร้าง[[สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์]] (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี [[พ.ศ. 2472]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร [[พ.ศ. 2473]] ได้กำหนดแนวเส้นทางถนนสายที่ 3 ไว้ตั้งแต่ถนนสายที่ 2 (ปัจจุบันคือ[[ถนนอรุณอมรินทร์]]) ที่[[วัดอมรินทราราม]] ไปทางทิศตะวันตก เลี้ยวลงมาทางทิศใต้ ซ้อนทับแนวถนนที่มีอยู่แล้วตั้งแต่บริเวณใต้[[วัดลครทำ]]จนถึงสะพานเจริญพาศน์<ref>แนวถนนช่วงดังกล่าวปรากฏอยู่ในแผนที่กรุงเทพฯ ตอนใน ฉบับปี [[พ.ศ. 2453]] ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อระหว่างรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]กับรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]; กรมแผนที่ทหาร. กองบัญชาการทหารสูงสุด. '''แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2431-2474 = Maps of Bangkok, A.D. 1888-1931.''' พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กรมแผนที่ทหาร, 2542.</ref> จากนั้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านถนนสายที่ 1 ที่จัตุรัส (ปัจจุบันคือถนนประชาธิปกและทางแยกบ้านแขก) ไปบรรจบถนนสายที่ 4 (ปัจจุบันคือ[[ถนนลาดหญ้า]])
 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงตั้งชื่อถนนสายต่าง ๆ ในโครงการดังกล่าวถวาย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแบ่งถนนสายที่ 3 ออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกตั้งแต่วัดอมรินทรารามถึงโค้งบ้านเนินค่ายหลวง ทรงตั้งชื่อถวายว่า '''ถนนปากพิง''' เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงมหาชัยเมื่อปี [[พ.ศ. 2328]] คราวที่[[สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าทองอิน กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข|สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์]] ทรงนำกองทัพไทยตีกองทัพ[[พม่า]]แตกที่ปากพิง ริม[[แม่น้ำน่าน]]<ref>ปัจจุบันบริเวณปากพิงอยู่ในท้องที่ตำบลงิ้วงามและตำบลวังน้ำคู้ ทางตอนใต้ของ[[อำเภอเมืองพิษณุโลก]] [[จังหวัดพิษณุโลก]]</ref> อย่างไรก็ตาม ชื่อถนนปากพิงไม่มีการนำมาใช้จริง โดยถนนช่วงดังกล่าวน่าจะเป็นถนนสายเดียวกับ "[[ถนนรถไฟ (เขตบางกอกน้อย)|ถนนรถไฟ]]" ในปัจจุบัน<ref>พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่าถนนปากพิงคือ "แนวถนนอิสรภาพส่วนที่หักเลี้ยวตัดตรงไปถึงวัดอมรินทราราม กรุงเทพมหานคร"; กนกวลี ชูชัยยะ. '''พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม.''' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 187.</ref> ส่วนช่วงที่ 2 ตั้งแต่โค้งบ้านเนินค่ายหลวงถึงถนนสายที่ 4 ทรงเสนอชื่อ "ถนนเจ้ากรุงธน" และ "ถนนธนราช" เพื่อเป็นการแสดงว่า[[ราชวงศ์จักรี]]นับถือ[[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]<ref name="ถนนเจ้ากรุงธน">กนกวลี ชูชัยยะ. '''พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม.''' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 56.</ref> เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชวินิจฉัยแล้วได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนช่วงนี้ว่า '''ถนนเจ้ากรุงธน'''<ref name="ถนนเจ้ากรุงธน"/> อย่างไรก็ตาม เมื่อสร้างถนนเสร็จไปได้ช่วงหนึ่ง ถนนเจ้ากรุงธนก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น '''ถนนอิสสระภาพ''' (หรือ '''ถนนอิสรภาพ''' ตามอักขรวิธีไทยปัจจุบัน) และภายหลังได้มีการตัดถนนต่อจากโค้งบ้านเนินค่ายหลวงไปจนถึงบริเวณทางรถไฟสายใต้ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของถนนสุทธาวาส)
 
อย่างไรก็ตาม ถนนเจ้ากรุงธนเพิ่งมาสร้างเสร็จตลอดทั้งสายในสมัยหลัง[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] ซึ่งสภาพบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปจากแต่ก่อน ประกอบกับทางราชการมีโครงการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ กลาง[[วงเวียนใหญ่]] และได้เปลี่ยนชื่อ (โครงการ) [[ถนนประชาธิปก]]ตัดใหม่เป็น "[[ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน]]" เพื่อให้เกี่ยวเนื่องกับพระบรมราชานุสาวรีย์ ทำให้ชื่อถนนเจ้ากรุงธนมีความหมายพ้องกับชื่อถนนดังกล่าว ทางราชการจึงเห็นสมควรให้เปลี่ยนชื่อถนนเจ้ากรุงธนเป็น '''ถนนอิสสระภาพ''' (หรือ '''ถนนอิสรภาพ''' ตามอักขรวิธีไทยปัจจุบัน) เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชผู้ทรงกอบกู้อิสรภาพของชาติไทยและเพื่อเป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์แก่ชนรุ่นหลัง<ref name="โปรแกรม">สำนักงานปกครองและทะเบียน. สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. "โปรแกรมจัดทำข้อมูลถนน ตรอก ซอย วงเวียน ทางแยก คลอง สะพาน และสถานที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานคร." [โปรแกรมประยุกต์]. [ม.ป.ป.]. สืบค้น 20 สิงหาคม 2559.</ref> โดยได้ทำพิธีเปิดถนนสายนี้พร้อมกับ[[ถนนพรานนก]] (ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจาก[[ถนนวังหลัง]]ในคราวเดียวกัน) เมื่อวันที่ [[6 มกราคม]] [[พ.ศ. 2482]]<ref name="โปรแกรม"/> ภายหลังได้มีการตัดถนนระยะสั้น ๆ ต่อจากโค้งบ้านเนินค่ายหลวงไปถึงบริเวณ[[ทางรถไฟสายใต้]]
 
== เชิงอรรถและอ้างอิง ==