ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาคำโสม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 158.108.26.49 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Setawut
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 55:
เมื่อปี พ.ศ. 2307 เจ้าฟ้าแก้ว ได้ครองนครลำปาง และเจ้าคำโสม ได้ช่วยงานราชการนครลำปาง ในปี พ.ศ. 2309 เจ้าคำโสม ได้นำกำลังไพร่พลจากนครลำปางเข้าสมทบกองทัพพม่าที่เกณฑ์กำลังหัวเมืองขึ้นทั้งปวงของพม่าในเวลานั้น เพื่อเข้าตีกรุงศรีอยุธยา
 
ในปี พ.ศ. 2317 พระยาคำโสม ได้รับพระราชทานอาชญาสิทธิ์เป็นพระยาอุปราชนครลำปาง<ref>วรชาติ มีชูบท (2556) '''เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ''' กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค หน้า 4</ref> และในปี พ.ศ. 2325 พระเจ้ากาวิละ ได้รับการสถาปนาจากพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ให้เป็นพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ และเจ้าคำโสมได้เป็น "พระยาคำโสม" เจ้าเมืองลำปาง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2336 พระยาคำโสม ร่วมกับพระเจ้ากาวิละ และเจ้าพี่น้องรวมกัน 7 คน (ภายหลังได้รับสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน") และกองทัพเมืองแพร่ เมืองน่าน มีไพร่พล 10,000 ยกทัพไปตีเมืองเชียงแสนล้อมเมืองอยู่ 2 เดือน จึงยึดเมืองได้
 
พระเจ้าคำโสม เมื่อว่างจากราชการสงครามได้ทำนุบำรุงพระศาสนาในนครลำปาง อาทิ สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ (พระเจ้าตนหลวง) การสร้าง[[วัดบุญวาทย์วิหาร|วัดหลวงกลางเวียง]] วิหาร[[วัดป่าดัวะ]] วิหาร[[วัดศรีเกิด]] วิหาร[[วัดหมื่นกาด]] วิหารวัดปงสนุก วิหารวัดป่าพร้าว รวมทั้งสิ้น 8 วัด และสร้างรั้วรอบพระธาตุลำปางหลวง และพระธาตุเสด็จ<ref>มงคล ถูกนึก. '''ไทยวน คนเมือง แห่งลุ่มแม่น้ำวัง.''' ลำปาง : ลำปางบรรณกิจ. 2555</ref>