ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัวแดง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
| range_map_caption = [[แผนที่]]แสดงการกระจายพันธุ์
}}
'''วัวแดง''' ({{lang-en|bantengBanteng}}) เป็น[[วัวป่า]]ชนิดหนึ่ง มี[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า ''Bos javanicus'' รูปร่างคล้าย[[วัวบ้าน]] (''B. taurus'') ทั่วไป แต่มีลักษณะสำคัญที่ต่างไปจากวัวบ้านและ[[กระทิง]] (''B. gaurus'') คือ มีวงก้นขาวทั้งในตัวผู้และตัวเมีย มีเส้นขาวรอบจมูก ขาทั้ง 4 ข้างมีสีขาวตั้งแต่หัวเข่าจนถึงกีบเท้า ระหว่างโคนขาของตัวผู้ไม่มีขน แต่เป็นหนังตกกระแข็ง ๆ เรียกว่า "กระบังหน้า" ความยาวลำตัวและหัวประมาณ 190–255 เซนติเมตร หางยาว 65–70 เซนติเมตร สูงประมาณ 155–165 เซนติเมตร และมีน้ำหนักราว 600–800 กิโลกรัม
 
พบใน[[พม่า]], ไทย, [[อินโดจีน]], [[เกาะชวา|ชวา]], [[บอร์เนียว]], เกาะ[[บาหลี]], [[รัฐซาราวัก|ซาราวัก]], [[เกาะซูลาเวซี|เซเลบีส]] สำหรับ[[ประเทศไทย]]เคยพบได้ทุกภาค
บรรทัด 36:
* ''B. j. lowi'' พบในเกาะบอร์เนียว มีขนาดเล็กกว่าชนิดแรก เขามีความโค้งสูง ลำตัวสีน้ำตาลแดง
 
วัวแดงชอบหากินอยู่เป็นฝูง ไม่ใหญ่นัก ราว 10–15 ตัว ปกติจะเริ่มออกหากินตั้งแต่ตอนพลบค่ำไปจนถึงเช้าตรู่ บางครั้งอาจเข้าไปรวมฝูงกับกระทิงและ[[กูปรี]] (''B. sauveli'') กลางวันนอนหลบตามพุ่มไม้ทึบ ชอบอยู่ตามป่าโปร่งหรือป่าทุ่ง ชอบกินดินโป่งไม่ชอบนอนแช่ปลัก รักสงบ ปกติไม่ดุร้ายเหมือนกระทิง หากินโดยมีตัวเมียเป็นจ่าฝูง เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปีเศษ ระยะตั้งท้องนาน 8–10 เดือน ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกหย่านมเมื่อมีอายุราว 9 เดือน หลังคลอดลูกราว 6–9 เดือน แม่วัวแดงจะเป็นสัดและรับการผสมพันธุ์อีก มีอายุยืนประมาณ 30 ปี วัวแดงยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "วัวเพลาะ" เป็นต้น<ref>[http://www.online-english-thai-dictionary.com/definition.aspx?data=2&word=%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%B0 เพลาะ ๒ : น. ตาม[[พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]]]</ref> ขณะที่ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีสีคล้ำคล้ายกับสีตาลโตนด บางตัวมีสีเข้มทำให้แลดูคล้ายกระทิงมาก ลักษณะเช่นนี้เรียก "วัวบา"<ref>หน้า ๐๘๔-๐๘๕, ''ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง''. "โลกละมุน" โดย ณรงค์ สุวรรณรค์. อนุสาร[[อสท.]]ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๑๒: กรกฎาคม ๒๕๕๙</ref>
 
เป็นสัตว์ที่มีรายชื่อใน[[พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535]] ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ได้มีการปล่อยวัวแดงคืนสู่ธรรมชาติเป็นครั้งแรกของโลก เป็นตัวผู้ 2 ตัว อายุ 5 ปี และ 4 ปี และเป็นตัวเมีย 2 ตัว อายุระหว่าง 3 ถึง 4 ปี ที่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี<ref>{{cite web|url=http://www.dailynews.co.th/regional/287653|title=ปล่อยวัวแดงคืนสู่ป่าสลักพระ |date=15 December 2014|accessdate=23 January 2016|publisher=เดลินิวส์}}</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/วัวแดง"