ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาทิตย์ อุไรรัตน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 50:
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้ง[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] ใน[[การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518|การเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2518]] ในนาม[[พรรคพลังใหม่]]แข่งกับ[[ธรรมนูญ เทียนเงิน|นายธรรมนูญ เทียนเงิน]] จาก[[พรรคประชาธิปัตย์]] ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขตป้อมปราบฯ-ปทุมวัน ในปี พ.ศ. 2519 ในนามพรรคพลังใหม่ โดยร่วมทีมเดียวกับ ศ.(พิเศษ) พงษ์เพ็ญ ศกุนตาภัย (บิดาของนาง[[พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ]] ภรรยาของนาย[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]]) และ ดร.[[สืบแสง พรหมบุญ]] <ref name="ไข่">{{cite web|url=https://www.youtube.com/watch?v=t3E7VWy2Fng|title=วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 24 05 59 |date=24 May 2016|accessdate=25 May 2016|publisher=ฟ้าวันใหม่}}</ref> แข่งกับ[[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช|ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช]] หัวหน้า[[พรรคประชาธิปัตย์]] แต่ผลการเลือกตั้งแพ้ไปเพียง 500 คะแนน ทั้งที่เป็นนักการเมืองหน้าใหม่ เพิ่งลงสมัคร ส.ส. เป็นครั้งแรก
 
ดร.อาทิตย์ เคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพอ.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นเลขาธิการ[[พรรคชาติประชาธิปไตย]] ที่ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพื่อลงเลือกตั้งซ่อม ที่ จังหวัดบุรีรัมย์ ในปี พ.ศ. 2524 ต่อมาได้ย้ายพรรคและรับตำแหน่งเลขาธิการ[[พรรคกิจประชาคม]] ที่[[บุญชู โรจนเสถียร|นายบุญชู โรจนเสถียร]] ก่อตั้ง และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค เมื่อปี พ.ศ. 2529 ต่อจากนั้นได้ย้ายไปสังกัด[[พรรคเอกภาพ]] และรับหน้าที่โฆษกพรรค ซึ่งเป็นพรรคที่เกิดจากการรวมตัวกันของ พรรคฝ่ายค้าน ใน รัฐบาลพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ คือ [[พรรคประชาชน]]ของ นาย[[เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์]], [[พรรคก้าวหน้า]] ของ นาย[[อุทัย พิมพ์ใจชน]], [[พรรครวมไทย]] ของ นาย[[ณรงค์ วงศ์วรรณ]] และ พรรคกิจประชาคม ของ นายบุญชู โรจนเสถียร ในปี พ.ศ. 2533
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงการต่างประเทศ]] ในรัฐบาล [[ชาติชาย ชุณหะวัณ|พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ]] ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2535 จึงได้เข้ารับตำแหน่งรองหัวหน้า[[พรรคสามัคคีธรรม]]ที่มี นาย[[ณรงค์ วงศ์วรรณ]] เป็นหัวหน้าพรรค<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/006/8.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)]ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 6ก วันที่ 24 มกราคม 2535</ref> ซึ่งในช่วงเหตุการณ์[[พฤษภาทมิฬ]] ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการประธานรัฐสภา เมื่อปี [[พ.ศ. 2535]] ซึ่งในเหตุการณ์ครั้งนั้น ดร.อาทิตย์ ได้รับฉายาว่า ''"วีรบุรุษประชาธิปไตย"'' ด้วยในเวลาเย็นของวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เป็นผู้นำชื่อ [[อานันท์ ปันยารชุน|นายอานันท์ ปันยารชุน]] อดีตนายกรัฐมนตรี ขึ้นทูลเกล้าฯ เป็น[[รายนามนายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]อีกสมัย แทนชื่อ [[สมบุญ ระหงษ์|พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์]] หัวหน้า[[พรรคชาติไทย]] ที่ถือกันขณะนั้นว่าเป็นตัวแทนของฝ่าย[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] (รสช.) โดยในครั้งนั้น ดร.อาทิตย์ได้รับแรงกดดันจากหลายส่วน เนื่องจากมีความต้องการจากฝ่ายการเมืองขั้วที่สนับสนุน พล.อ.[[สุจินดา คราประยูร]] ที่จะให้ พล.อ.อ.สมบุญ ขึ้นดำรงตำแหน่ง แต่ทว่า ดร.อาทิตย์เห็นว่า หากเป็น พล.อ.อ.สมบุญ จะก่อให้เกิดความวุ่นวายต่อได้ เพราะมีเสียงของภาคประชาชนไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง จึงได้ติดต่อทาบทาม [[ชวน หลีกภัย|นายชวน หลีกภัย]] หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน แต่ทางนายชวนปฏิเสธ เนื่องจากหากรับไปแล้ว จะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย เสถียรภาพของรัฐบาลจะง่อนแง่น ดร.อาทิตย์จึงตัดสินใจเสนอชื่อ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีให้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง โดยได้ติดต่อทาบทามนายอานันท์ถึง 3 ครั้ง นายอานันท์จึงยอมรับในครั้งสุดท้าย โดยเป็นการติดต่อกันผ่านทางสายโทรศัพท์จาก[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] ภายใน[[พระราชวังดุสิต]] ซึ่งขณะนั้น ดร.อาทิตย์ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร จะทำการเข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯถวายชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่ทว่าไปด้วยกระดาษเปล่าที่มีตราครุฑประทับบนหัวกระดาษเท่านั้น แล้วให้ฝ่ายเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรใช้เครื่อง[[พิมพ์ดีด]]พิมพ์ชื่อนายอานันท์ขณะนั้นเอง <ref>หน้า 13 โฟกัส, ''นาทีตัดสินใจ ใต้บันใดพระตำหนักจิตรลดา ของ ''' 'วีรบุรุษประชาธิปไตย' ''' '' โดย ณัฐภัทร พรหมแก้ว สำนักข่าวเนชั่น. '''กรุงเทพธุรกิจ'''วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10098</ref>