ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคทเธอรีน เดอ เมดีชี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 113:
=== รัชสมัยของพระเจ้าอองรีที่ 3 ===
[[ไฟล์:Anjou 1570louvre.jpg|thumb|left|upright|200px|[[พระเจ้าอองรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศส|ดยุกอองรีแห่งอองชู]] โดย[[ฌอง เดคอร์ท]] (Jean Decourt) ราว [[ค.ศ. 1573]] พระเจ้าองค์ทรงสนพระทัยในความเคร่งครัดทางศาสนามากกว่าการปกครอง]]
สองปีต่อมาพระราชินีแคทเธอรีนก็ทรงประสพประสบปัญหาใหม่เมื่อพระเจ้าชาร์ล 9 เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้เพียง 23 พรรษา พระราชดำรัสขสุดท้ายของพระองค์คือ “โอ้, สมเด็จแม่”<ref>Frieda, 350.</ref> วันก่อนที่จะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาร์ลทรงแต่งตั้งพระราชินีแคทเธอรีนให้เป็น[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]]เพราะพระอนุชาดยุกแห่งอองชูผู้เป็นรัชทายาทยังประทับอยู่ในโปแลนด์ ซึ่งเป็นราชอาณาจักรที่พระองค์ทรงได้รับเลือกให้เป็นกษัตริย์ในปีก่อนหน้านั้น พระราชินีแคทเธอรีนทรงพระราชสาส์นถึงอองรีว่า: “ฉันมีความโทมนัสที่ต้องเป็นพยานในเหตุการณ์และความรักที่ทรงแสดงต่อฉันในนาทีสุดท้าย&nbsp;...สิ่งที่ช่วยปลอบประโลมฉันในขณะนี้ก็คือการที่จะได้เห็นเจ้าเพียงอีกไม่นานนัก, เพราะราชอาณาจักร (ฝรั่งเศส) ต้องการตัวเจ้า, และได้เห็นว่าเจ้ามีสุขภาพพลานามัยดี, เพราะถ้าฉันเสียเจ้าไปอีกคน, ฉันก็คงจะฝังตัวเองทั้งเป็นกับเจ้า”<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 172.</ref>
 
อองรีเป็นพระโอรสองค์โปรดที่สุดของพระราชินีแคทเธอรีน พระองค์ต่างจากพระเชษฐาตรงที่ทรงเป็นผู้ใหญ่แล้วเมื่อได้ราชบัลลังก์และมีพระสุขภาพพลานามัยที่ดีกว่าเพียงแต่ปอดอ่อนแอกว่าและทรงเหนื่อยง่าย<ref>Frieda, 375.</ref> แต่ไม่ทรงมีความสามารถทางด้านการปกครองและทรงต้องพึ่งพระราชมารดากับคณะที่ปรึกษาจนสองสามอาทิตย์ก่อนที่พระราชินีแคทเธอรีนจะเสด็จสวรรคต อองรีมักจะซ่อนพระองค์จากการปกครองบ้านเมืองด้วยการทรงมุ่งมั่นในความเคร่งครัดทางศาสนาโดยทรงเดินทางไปแสวงบุญบ้างหรือ [[เฆี่ยนตัวเอง|เฆี่ยนพระองค์เอง]] (Flagellation) บ้าง<ref>Sutherland, ''Secretaries of State'', 232, 240, 247.</ref>
บรรทัด 119:
อองรีทรงเสกสมรสกับ[[หลุยส์แห่งลอร์แรน-โวเดมองท์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส|หลุยส์แห่งลอร์แรน-โวเดมองท์]] (Louise de Lorraine-Vaudémont) ในเดือนกุมภาพันธ์ [[ค.ศ. 1575]]สองวันหลังจากวันราชาภิเศก การทรงเสกสมรสของพระองค์ทำให้แผนการจัดการเสกสมรสกับเจ้าหญิงต่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของพระราชมารดาต้องผิดไป ขณะเดียวกันข่าวลือที่ว่าไม่ทรงสามารถมีพระราชโอรสธิดาได้ก็เริ่มหนาหูขึ้นทุกวัน
 
ซาวิอาติราชทูตของสมเด็จพระสันตปาปาตั้งข้อสังเกตว่า “จากการสังเกตเห็นจะยากที่จะมีพระราชโอรสธิดา&nbsp;... แพทย์และผู้มีความคุ้นเคยกับพระองค์กล่าวว่าทรงมีสุขภาพพลานามัยที่ไม่ไคร่ดีนักและคงจะไม่มีชีวิตอยู่นานนัก”<ref>Frieda, 369.</ref> เมื่อเวลาผ่านไปโอกาสที่จะมีพระราชโอรสธิดาก็ยิ่งน้อยลง [[ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌู]] (François, Duke of Anjou) พระราชโอรสองค์สุดท้องของพระราชินีแคทเธอรีนหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “เมอซิเยอร์” ก็เริ่มแสดงพระองค์เป็นรัชทายาทโดยทรงใช้ความเป็นอนาธิปไตยของบ้านเมืองและสงครามกลางเมืองเป็นเครื่องมือ ซึ่งในขณะนั้นจุดประสงค์ไม่เพียงแต่จะเป็นการต่อสู้ในเรื่องความขัดแย้งทางศาสนาแต่เป็นการต่อสู้เพื่อแย่งอำนาจกันในบรรดาชนชั้นปกครองด้วย<ref>Sutherland, ''Ancien Régime'', 22.</ref> พระราชินีแคทเธอรีนทรงพยายามทุกวิถีทางที่จะไม่ให้ฟรองซัวส์เตลิด ในโอกาสหนึ่งในเดือนมีนาคม [[ค.ศ. 1578]] ทรงเรียกฟรองซัวส์มาสั่งสอนถึงหกชั่วโมงรวดถึงอันตรายในความประพฤติของพระองค์<ref>Sutherland, ''Secretaries of State'', 205.</ref>
 
[[ไฟล์:Nicholas Hilliard 002.jpg|thumb|upright|200px|[[ฟรองซัวส์ ดยุกแห่งอองชู]] พระราชโอรสองค์สุดท้องของพระราชินีแคทเธอรีน โดย [[นิโคลัส ฮิลเลียร์ด]] (Nicholas Hilliard) ราว ค.ศ. 1577. [[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ|พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1]] ทรงเรียกว่าพระองค์ว่า “กบน้อยของฉัน” และทรงพบว่ามิได้ทรงพิการเท่าข่าวลือที่ได้ทรงทราบก่อนหน้าที่จะได้พบพระองค์<ref>Frieda, 397.</ref>]]
บรรทัด 126:
อย่างน้อยพระราชินีแคทเธอรีนก็ยังมีความรอบคอบในการจัดการเสกสมรสให้กับ[[มาร์เกอรีตแห่งวาลัวร์|มาร์เกอรีต]]พระราชธิดาองค์สุดท้องกับอองรีแห่งนาวาร์ แต่มาร์เกอรีตก็ทรงก่อปัญหาต่างๆ ให้แก่พระราชินีแคทเธอรีนพอๆ กับฟรองซัวส์ ในปี [[ค.ศ. 1582]] มาร์เกอรีตเสด็จกลับราชสำนักฝรั่งเศสโดยไม่มีพระสวามีเสด็จตามมาด้วย พระราชินีแคทเธอรีนทรงพระสุรเสียงเมื่อพระราชธิดาทรงไปมีคนรัก<ref>Frieda, 404.</ref> และทรงส่ง [[ปอมปองน์ เด เบลเลวฟร์]] (Pomponne de Bellièvre) ไปนาวาร์เพื่อจัดการการส่งตัวมาร์เกอรีตกลับนาวาร์ ในปี [[ค.ศ. 1585]] มาร์เกอรีตก็หนีจากนาวาร์อีกครั้ง<ref>Frieda, 414.</ref> ครั้งนี้ทรงไปพำนักอยู่ที่ตำหนักส่วนพระองค์ที่อาจอง (Agen) แต่ก็ยังทรงอ้อนวอนขอเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายจากพระมารดา พระราชินีแคทเธอรีนทรงส่งให้แต่เพียงพอใช้ “พอให้พอมีข้าวกิน”<ref>Frieda, 415.</ref> จากนั้นมาร์เกอรีตก็ย้ายไปป้อมคาร์ลาท์และไปมีคนรักชื่อดอบิแย็ค (d'Aubiac) พระราชินีแคทเธอรีนทรงของให้อองรีช่วยก่อนที่มาร์เกอรีตจะทำความเสียหายให้แก่ราชตระกูลมากขึ้น ในเดือนตุลาคม [[ค.ศ. 1586]] อองรีจึงสั่งให้จำขังมาร์เกอรีตใน[[วังดูซอง]] (Château d'Usson) ส่วนดอบิแย็คถูกประหารชีวิตแต่มิใช่ต่อหน้ามาร์เกอรีตอย่างที่พระราชินีแคทเธอรีนมีพระประสงค์<ref>Frieda, 416; Knecht, ''Catherine de' Medici'', 254–55.</ref> หลังจากนั้นพระราชินีแคทเธอรีนทรงตัดมาร์เกอรีตจากพินัยกรรมและไม่ได้มีโอกาสได้พบกันอีกจนสิ้นพระชนม์
 
พระราชินีแคทเธอรีนไม่ทรงสามารถควบคุมอองรีเช่นเดียวกับที่เคยทรงควบคุมพระเจ้าฟรองซัวส์และพระเจ้าชาร์ลก่อนหน้านั้นได้<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 189; Frieda, 389.</ref> บทบาทของพระองค์จึงเป็นแต่เพียงผู้นำในการบริหารและการทูต เสด็จประพาสบริเวณต่างๆ ในราชอาณาจักรอย่างกว้างขวางเพื่อทรงใช้อำนาจในความพยายามในการหลีกเลี่ยงสงคราม ในปี [[ค.ศ. 1578]] ทรงพยายามสร้างความสงบทางด้านใต้ เมื่อมีพระชนมายุได้ 59 พรรษาทรงใช้เวลาเดินทางสิบแปดเดือนทั่งทั่วทางใต้ของฝรั่งเศสเพื่อพบปะกับผู้นำกลุ่มอูเกอโนท์ตัวต่อตัว พระราชวิริยะอุตสาหะทำให้ประชาชนเริ่มเปลี่ยนใจหันมาจงรักภักดีต่อพระองค์มากขึ้น<ref>Sutherland, ''Secretaries of State'', 209; Frieda, 392.</ref> เมื่อเสด็จกลับปารีสในปี [[ค.ศ. 1579]] พระองค์ก็ทรงได้รับการต้อนรับจากประชาชนและรัฐสภา เจโรลาโม ลิโปมานโนราชทูตจากเวนิสบรรยายว่า: “ทรงเป็นผู้ที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย, ทรงเกิดมาเพื่อปกครองประชาชนที่เอาไม่อยู่อย่างชาวฝรั่งเศส: แต่เดี๋ยวนี้พวกเขาก็เริ่มรู้คุณค่าของพระองค์ในคุณธรรม, ในพระสงค์ในความต้องการที่จะสมานฉันท์ และเศร้าใจที่มิได้รู้คุณค่าของพระองค์ก่อนหน้านั้น”<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 200.</ref> แต่อย่างไรก็ตามพระราชินีแคทเธอรีนก็มิได้ทรงพระเนตรบอดเพราะเมื่อวันที่ [[25 พฤศจิกายน]] [[ค.ศ. 1579]] พระองค์ก็ทรงเขียนเตือนอองรีถึงการก่อความไม่สงบที่จะเกิดขึ้นและกล่าวว่าถ้าผู้ใดทูลอย่างอื่นผู้นั้นก็โกหก<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 201.</ref>
 
==== สันนิบาตโรมันคาทอลิก ====
บรรทัด 132:
ผู้นำโรมันคาทอลิกหลายคนต่างก็มีความหวาดรระแวงในการที่พระราชินีแคทเธอรีนทรงพยายามแสวงหาความสงบกับกลุ่มอูเกอโนท์ หลังจากการออก[[พระราชกฤษฎีกาบิวลี]]ผู้นำโรมันคาทอลิกก็เริ่มก่อตั้งสันนิบาตท้องถิ่นเพื่อหาทางปกป้องกลุ่มศาสนาของตนเอง<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 185; Frieda, 386.</ref> หลังจากการสิ้นพระชนม์ของฟรองซัวส์ในปี [[ค.ศ. 1584]] [[อองรีที่ 1 ดยุกแห่งกีส|ดยุกอองรีแห่งกีส]]ก็ตั้งตนเป็นผู้นำ[[สันนิบาตโรมันคาทอลิก (ฝรั่งเศส)|สันนิบาตโรมันคาทอลิก]] (Catholic League) และพยายามหยุดยั้งสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ของอองรีแห่งนาวาร์ผู้เป็นโปรเตสแต้นท์ และหันไปสนับสนุนพระปิตุลาโรมันคาทอลิกของอองรี[[ชาลส์ คาร์ดินัลแห่งบูร์บง|คาร์ดินัลชาลส์แห่งบูร์บง]]แทนที่ โดยการชักชวนชนชั้นเจ้านายและขุนนางโรมันคาทอลิกให้ลงนามใน[[สนธิสัญญาฌวนวิลล์]] (treaty of Joinville) กับสเปนและเตรียมตัวเข้าทำสงครามเพื่อกำจัด “พวกนอกรีต”<ref>Pettegree, 164.</ref> ภายในปี [[ค.ศ. 1585]], พระเจ้าอองรีที่ 3 ก็ไม่ทรงมีทางเลือกนอกจากเข้าทำสงครามต่อต้านสันนิบาต<ref>Sutherland, ''Secretaries of State'', 255.</ref> เช่นที่พระราชินีแคทเธอรีนตรัสว่า “สันติภาพมากับไม้” (bâton porte paix) <ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 249; Frieda, 412.</ref> “ดูแลให้ดี” ทรงเขียน “โดยเฉพาะตัวเอง รอบข้างมีอันตรายจนฉันอดกลัวไม่ได้” <ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 251.</ref>
 
พระเจ้าอองรีไม่ทรงสามารถต่อสู้กับฝ่ายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ในขณะเดียวกันได้เพราะทั้งสองฝ่ายต่างก็มีกองทัพที่แข็งแกร่งกว่ากองทัพของพระองค์ ในที่สุดก็ทรงจำต้องทรงลงนามใน[[สนธิสัญญาเนมอรส์]] (Treaty of Nemours) เมื่อวันที่ [[7 กรกฎาคม]] [[ค.ศ. 1585]] ที่บังคับให้พระองค์ทรงยอมรับข้อเรียกร้องของสันนิบาตทั้งหมดรวมทั้งจ่ายค่าใช้จ่ายของกองทหารของสันนิบาตเอง<ref>Knecht, ''Renaissance France'', 440.</ref> หลังจากนั้นพระเจ้าอองรีก็เสด็จหนีไปซ่อน, ทรงอดพระกระยาหารและสวดมนต์ และทรงล้อมรอบพระองค์ด้วยกลุ่มทหารรักษาพระองค์ที่เรียกว่า “[[สี่สิบห้าองค์รักษ์]]” (The forty-five guards) และยังทรงทิ้งให้พระราชินีแคทเธอรีนแก้ปัญหาต่างๆ ที่ตามมา<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 253.</ref> สถาบันการปกครองของพระมหากษัตริย์ในขณะนั้นจึงหมดอำนาจในการปกครองประเทศและไม่อยู่ในฐานะที่จะช่วยอังกฤษในการเผชิญกับการรุกรานของสเปนที่จะมาถึง ราชทูตสเปนกราบทูลพระเจ้าฟิลลิปที่ 2 ว่าสถานะการณ์สถานการณ์ในฝรั่งเศสเปรียบเหมือนหนองที่กำลังจะ “ปริ”<ref>Sutherland, ''Secretaries of State'', 287.</ref>
 
ภายในปี [[ค.ศ. 1587]] การต่อต้านของโรมันคาทอลิกต่อโปรเตสแตนต์ก็ขยายตัวไปทั่วยุโรป เมื่อ[[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ|พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1]] ทรงสั่งปลงพระชนม์[[สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์|พระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์]]เมื่อวันที่ [[18 กุมภาพันธ์]] [[ค.ศ. 1587]] ก็ยิ่งเป็นชนวนที่ทำให้ความไม่พอใจแก่ฝ่ายโรมันคาทอลิกหนักขึ้น<ref>Frieda, 420; Knecht, ''Catherine de' Medici'', 257.</ref> [[พระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปน|พระเจ้าฟิลลิปที่ 2]] ทรงเตรียมการรุกรานอังกฤษ ส่วนฝ่ายสันนิบาตโรมันคาทอลิกก็มีอำนาจในบริเวณทางเหนือของฝรั่งเศสและยึดเมืองท่าทางเหนือของฝรั่งเศสเพื่อเตรียมใช้เป็นท่าสำหรับ[[กองเรืออาร์มาดา]]ของสเปน