ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขันธ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ผู้รู้น้อย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
'''ขันธ์''' แปลว่า ''กอง, หมวด, หมู่, ส่วน'' ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของมนุษย์ คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ
# '''[[รูป (พุทธศาสนาพุทธ)|รูป]]''' ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต
# '''[[เวทนา]]''' ได้แก่ ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ
# '''[[สัญญา (พุทธศาสนาพุทธ)|สัญญา]]''' ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ
# '''[[สังขาร]]''' ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ
# '''[[วิญญาณ (ศาสนาพุทธ)|วิญญาณ]]''' ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
บรรทัด 15:
 
== อ้างอิง ==
* [[พระธรรมกิตติวงศ์]] (ทองดี สุรเตโช)]] ป.ธ. ๙ [[ราชบัณฑิต]] ''พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด,'' [[วัดราชโอรสาราม]] กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
 
[[หมวดหมู่:ขันธ์ ๕]]
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ]]
[[หมวดหมู่:ธรรมหมวด 5]]
 
ขอน้อมสักการะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ขันธ์ 5 ตามคำกล่าวของพุทธวจนะ
 
ขันธ์ 5
 
1. รูป
2.เวทนา
3.สัญญา
4.สังขาร
5.วิญญาณ
 
ความหมายของคำว่า “รูป”
ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “รูป” เพราะอาศัยความหมาย อะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่แตกสลายได้ มีอยู่ ในสิ่งนั้น ดังนั้น
สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า รูป.
สิ่งนั้น แตกสลายได้ เพราะอะไร ?
สิ่งนั้น แตกสลายได้เพราะความเย็นบ้าง,
แตกสลายได้ เพราะความร้อนบ้าง,
แตกสลายได้ เพราะความหิวบ้าง,
แตกสลายได้ เพราะความกระหายบ้าง,
แตกสลายได้ เพราะถูกต้องกับเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง,
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่แตกสลายได้ มีอยู่ ในสิ่งนั้น ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่ารูป.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.
 
ความหมายของคำว่า “เวทนา”
ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “เวทนา” เพราะอาศัยความหมาย อะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึกได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น ดังนั้น
สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา.
สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งอะไร ?
สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นสุขบ้าง,
ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นทุกข์บ้าง,
และย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึกได้มีอยู่ ในสิ่งนั้น ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙
 
ความหมายของคำว่า “สัญญา”
ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “สัญญา” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่หมายรู้ได้พร้อม มีอยู่ ในสิ่งนั้น ดังนั้น
สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สัญญา.
สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งอะไร ?
สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเขียวบ้าง,
ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเหลืองบ้าง,
ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีแดงบ้าง,
และย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีขาวบ้าง.
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่หมายรู้ได้พร้อม มีอยู่ ในสิ่งนั้น ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สัญญา.
- ขนฺธฺ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.
 
ความหมายของคำว่า “สังขาร”
ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “สังขารทั้งหลาย” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า?
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ ในสิ่งนั้น ดังนั้น
สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สังขาร.
สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งอะไร ให้เป็นของสำเร็จรูป ?
สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งรูป ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นรูป,
ย่อมปรุงแต่งเวทนา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นเวทนา,
ย่อมปรุงแต่งสัญญา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสัญญา,
ย่อมปรุงแต่งสังขารให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสังขาร,
และย่อมปรุงแต่งวิญญาณให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นวิญญาณ.
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ในสิ่งนั้น ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่าสังขารทั้งหลาย.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๖/๑๕๙.
 
 
ความหมายของคำว่า “วิญญาณ”
ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “วิญญาณ” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้แจ้งได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น ดังนั้น
สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า วิญญาณ.
สิ่งนั้น ย่อมรู้แจ้งซึ่งอะไร ?
สิ่งนั้น ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเปรี้ยวบ้าง,
ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความขมบ้าง,
ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเผ็ดร้อนบ้าง,
ย่อมรู้แจ้งซึ่ง ความหวานบ้าง,
ย่อมรู้แจ้งซึ่งความขื่นบ้าง,
ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความความไม่ขื่นบ้าง,
ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเค็มบ้าง,
ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความไม่เค็มบ้าง.
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้แจ้งได้ มีอยู่ในสิ่งนั้นดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า วิญญาณ.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๖/๑๕๙.
 
่ข้อมูลจาก(Reference) http://www.oknation.net/blog/buddha2600/2012/07/04/entry-2
หากมีสิ่งใดผิดพลาดจากความประมาทพลาดพลั้ง ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ โปรดอโหสิกรรม ผู้รู้น้อยเพียงหวังให้มีการอ้างอิงพุทธวจนะ
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ขันธ์"