ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาฉลาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35:
ปลาฉลามแบ่งออกได้เป็นหลาย[[อันดับ (ชีววิทยา)|อันดับ]] หลาย[[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์]] และหลาย[[สปีชีส์|ชนิด]] โดยปัจจุบันพบแล้วกว่า 440 ชนิด มีขนาดลำตัวแตกต่างออกไปตั้งแต่ 17 [[เซนติเมตร]] เท่านั้น ใน[[ปลาฉลามแคระ]] (''Etmopterus perryi'') ซึ่งเป็นปลาฉลามน้ำลึกที่อาศัยอยู่ใน[[มหาสมุทรแอตแลนติก]]บริเวณ[[ทวีปอเมริกาใต้]] ไปจนถึง [[ปลาฉลามวาฬ]] (''Rhincodon typus'') ที่มีความยาวกว่า 12 [[เมตร]] ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย<ref>Allen, Thomas B. (1999). The Shark Almanac. New York: The Lyons Press. ISBN 1-55821-582-4. OCLC 39627633</ref>
 
ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่า[[สัตว์น้ำ]]ชนิดต่าง ๆ กินเป็น[[อาหาร]] แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กิน[[แพลงก์ตอน]]เป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ [[Orectolobiformes]] ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ [[Lamniformes]] เช่น [[ปลาฉลามเมกาเมาท์]] (''Megachasma pelagios'') และ[[ปลาฉลามบาสกิ้นอาบแดด]] (''Cetorhinus maximus'')
 
แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ [[Lamniformes]] เช่น [[Isurus|ปลาฉลามมาโก]] (''Isurus'' spp.) และปลาฉลามในอันดับ [[Carcharhiniformes]] มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 [[กิโลเมตร]]/[[ชั่วโมง]] เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้าย[[มนุษย์]]หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่[[อาหาร]]ได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ [[ปลาฉลามขาว]] (''Carcharodon carcharias''), [[ปลาฉลามเสือ]] (''Galeocerdo cuvier''), [[ปลาฉลามหัวบาตร]] (''Carcharhinus leucas'') เป็นต้น