ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐยะโฮร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sayut Theelasam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 83:
[[สุลต่านอาบู บาการ์ แห่งรัฐยะโฮร์]] (ค.ศ. 1864 - 1895 หรือ พ.ศ. 2407 - 2438) ทรงเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่รัฐยะโฮร์ และทรงปฏิรูประบบการบริหารราชการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังทรงสร้างพระราชวังประจำองค์สุลต่าน ซึ่งมีชื่อว่า อิสตานา เบซาร์ (Istana Besar) เนื่องจากพระองค์ทรงทำให้รัฐมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก พระองค์จึงทรงพระนามอีกพระนามหนึ่งว่า "พระบิดาแห่งรัฐยะโฮร์ใหม่" และมีการสร้างอนุสาวรีย์ของพระองค์ขึ้นที่ริมฝั่งทะเล ตรงข้ามกับศาลยุติธรรม เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อรัฐ
 
ความต้องการ[[พริกไทยดำ]] กับสีเสียดที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ราวพุทธศตวรรษที่ 24) ทำให้มีการเปิดพื้นที่ทำเกษตรกรรมเพิ่มมากขึ้น และเป็นเหตุให้มีแรงงานจีนอพยพเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือได้ว่าเป็นรากฐานเศรษฐกิจของรัฐยะโฮร์เลยทีเดียว และในปี ค.ศ. 1914 (พ.ศ. 2457) ภายใต้ระบบผู้สำเร็จราชการของอังกฤษ ทำให้[[สุลต่านอิบราฮิม]] ผู้ครองราชบัลลังก์ต่อจากสุลต่านอาบู บาการ์ ทรงต้องจำใจยอมรับนาย ดี. จึ. แคมป์เบลล์ (D. G. Campbell) เข้าเป็นที่ปรึกษาราชการ นับเป็นชาวอังกฤษคนแรกที่ได้เป็นที่ปรึกษาราชการของรัฐยะโฮร์ จึงทำให้ยะโฮร์ กลายเป็นดินแดนแห่งสุดท้ายในแหลมมลายู (หรือมาเลเซียแผ่นดินใหญ่ในปัจจุบัน) ที่สูญเสียเอกราชให้แก่ถูกปกครองภายใต้อาณัติของอังกฤษ
 
เมืองยะโฮร์บาห์รู เป็นเมืองสุดท้ายแหลมมลายู ที่ถูกชาวญี่ปุ่นเข้ายึดครองในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] จากนั้นในปี [[ค.ศ. 1948]] ([[พ.ศ. 2491]]) รัฐยะโฮร์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ "[[สหพันธรัฐมลายา]]" ซึ่งต่อมาได้รับเอกราชจาก[[อังกฤษ]]ในปี [[ค.ศ. 1957]] ([[พ.ศ. 2500]])