ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอสิรินธร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 27:
 
== ประวัติ ==
อำเภอสิรินธร
(Sirinthon)
-------------------
 
คำขวัญของอำเภอ :
"แผ่นดินแห่งเจ้าฟ้าประทานนาม งามตำหนักราชสุดา
พุทธปฏิมาสิรินธร ออนซอนพลังไฟฟ้า
ค้าขายไทย-ลาว ตะนะพราวแก่งงาม"
 
ประวัติความเป็นมา :
อำเภอสิรินธร เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 20 อำเภอ 5 กิ่งอำเภอ ของจังหวัดอุบลราชธานี ที่ได้รับการแบ่งเขตการปกครอง ตามหลักการแบ่งอำนาจ เพื่แบริหารราชการแผ่นดิน อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ ความสะดวกของประชาชน และส่งเสริมให้ท้องที่มีความเจริญยิ่งขึ้น ประการสำคัญ อำเภอสิรินธร ได้รับการ ประกาศจัดตั้งขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสที่ทรงมี พระชนมายุครบ 36 พรรษา ในปี พ.ศ.2534 โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นอำเภอสิรินธร ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2535 และที่สร้างความปกติโสมนัส และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ตลอดจนความเป็นสิริมงคลแก่ประชาชน ชาวจังหวัดอุบลราชธานีมากที่สุด คือ สมเด็จพระเทพรัตนราขสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระราชทาน พระราชานุญาต ให้ใช้พระนามาภิไธย ของพระองค์เป็นชื่ออำเภอ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2535 และ พร้อมกันนี้ พระองค์ยังได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนิน เปิดที่ว่าการอำเภอสิรินธร เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2535
ชุมชนที่เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการ อำเภอสิรินธร เกิดจากการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย อันเป็นโครงการพิเศษ ที่คณะรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการ เพื่ออพยพราษฎร ที่ได้รับผลกระทบ จากการสร้างเขื่อนสิรินธร ออกจากเขตน้ำท่วม เมื่อ พ.ศ. 2512 จำนวนมากกว่า 1,000 ครอบครัว ให้มีที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกิน เคยกำหนดให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกุดชุม เขตท้องที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 61,502 ไร่ ซึ่งปัจจุบัน ตั้งอยู่ในเขตตำบลนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย บริเวณนิคมสร้างตนเอง เขต 1
ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2528 จังหวัดอุบลราชธานี ได้รายงานขอตั้ง "กิ่งอำเภอสิรินธร" ต่อ กระทรวงมหาดไทย โดยขอแยกพื้นที่ ด้านทิศตะวันออกของอำเภอพิบูลมังสาหาร ซึ่งประกอบด้วย ตำบลนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย ตำบลคันไร่ ตำบลช่องเม็ก และตำบลโนนก่อ อำเภอโขงเจียม ประกอบด้วยตำบล คำเขื่อนแก้ว และตำบลหนองแสงใหญ่ เนื่องจากเห็นว่า เป็นท้องที่ ที่อยู่ห่างไกลจากตัวอำเภอเดิม ซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่มาก ทำให้การให้บริการของรัฐ ในการเดินทางติดต่อระหว่างกัน เป็นไปด้วยความลำบาก ไม่ทั่วถึง อีกทั้งท้องที่ดังกล่าว ยังมีเขตแดนติดกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทั้งทางพื้นที่ราบ และภูเขา ซึ่งเป็นระยะทางยาว ซึ่งยากต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงของประเทศ แต่ด้วยเหตุที่ว่า สภาตำบลคำเขื่อนแก้ว ไม่เห็นชอบ ด้วยกับการตั้งศูนย์ราชการ อำเภอ ที่บริเวณ นิคมสร้างตนเองเขต 1 ท้องที่ตำบลนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย กระทรวงมหาดไทย เห็นความไม่สอดคล้องต้องกันนี้ เป็นข้อจำกัดที่จะจัดตั้งกิ่งอำเภอ จึงยังมิได้ประกาศจังตั้งตามความประสงค์แต่อย่างใด
 
ต่อมาในปี พ.ศ.2533 นายสายสิทธิ พรแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้เล็งเห็นว่า เขตพื้นที่ดังกล่าว จะมีความสำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ ยิ่งขึ้นไปในอนาคต ตลอดจนเป็นที่ตั้งเขื่อนสิรินธร ที่มีความสำคัญ ทางด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้า การชลประทาน ความผูกพันต่อการดำรงชีวิตของราษฎร ในแถบนี้ และประการสำคัญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ มาทรงประทับแรมอยู่เสมอ ในวโรกาสที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนิน เพื่อทรงประกอบพระราชกรณียกิจส่วนพระองค์ ในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง จึงได้รายงานกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอจัดตั้ง "อำเภอสิรินธร" ขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสที่ทรงมี พระชนมายุครบ 3 รอบ ในปี พ.ศ.2534 พร้อมทั้งขอพระราชทาน พระราชานุญาต ให้ใช้พระนามาภิไธย ของพระองค์เป็นชื่ออำเภอ และกรมประชาสงเคราะห์ ได้อนุญาตให้จังหวัดใช้พื้นที่ ในเขตนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย จำนวน 4 แปลง เนื้อที่รวมกันประมาณ 356-5-90 ไร่ เป็นสถานที่ก่อสร้างศูนย์ราชการอำเภอ การจัดตั้งอำเภอสิรินธร จึงเป็นผลสำเร็จ ตามความประสงค์ ด้วยพระกรุณาธิคุณ พระเมตตาคุณโดยแท้
 
คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง ใช้จ่ายงบประมาณ รายจ่ายประจำปี 2534 งบกลาง รายเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น เพื่อใช้จ่ายเป็นค่าก่อสร้าง อาคารที่ว่าการอำเภอ ตามแบบมาตรฐานกรมโยธาธิการ เลขที่ ม.18155 (ขนาดใหญ่) ชนิดฐานรากตอกเสาเข็มคอนกรีต จำนวน 1 หลัง เป็นจำนวนเงิน 6,595,000 บาท โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างในที่ดิน แปลงที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2534 และแล้วเสร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2535
 
สภาพข้อมูลโดยทั่วไป :
ที่ตั้ง : หมู่ที่ 13 ถนนสถิตย์นิมานกาล ตำบลนิคมลำโดมน้อย อำเภอสิรินธร
จังหวัดอุบลราชธานี
- ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี 70 กิโลเมตร
- ห่างจากกรุงเทพมหานคร 700 กิโลเมตร
 
อาณาเขต :
ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอพิบูลมังสาหาร, อำเภโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศใต้ ติดกับ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันออก ติดกับ เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก (สปปล)
ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
อำเภอสิรินธรได้รับการประกาศจัดตั้งขึ้นเป็นกรณีพิเศษโดยไม่ต้องผ่านการเป็นกิ่งอำเภอ เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ในวโรกาสที่มีพระชนมายุครบ 36 พรรษาในปี [[พ.ศ. 2534]] โดยได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามาภิไธยของพระองค์เป็นชื่ออำเภอเมื่อวันที่ [[30 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2533]]<ref>สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี. '''นามานุกรมภูมิศาสตร์จังหวัดอุบลราชธานี.'''</ref>
 
เส้น 93 ⟶ 64:
 
== โรงเรียน ==
โรงเรียนสังกัด สพม.29
โรงเรียนสิรินธรวิทยานุสรณ์
โรงเรียนสังกัด อบจ.อบ.
โรงเรียน เบ็ตตี้ ดูเมน 2 ข่องเม็ก (ช่องเม็กวิทยาป
โรงเรียน เอกชน
โรงเรียนนิคม 2 อนุบาล
โรงเรียนศูนย์พลาญข่อย
โรงเรียนมัธยม สพฐ.
*โรงเรียนนิคมสร้างคนเองตนเอง 1 (ไทยรัฐวิทยา ๘๗)2
* [[โรงเรียนสิรินธรวิทยานุสรณ์]]
โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 2
* [[โรงเรียนบ้านหนองเม็ก]]
โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 3
* [[โรงเรียนนิคมสร้างตนเองไทยรัฐวิทยา 587]]
* [[โรงเรียนบ้านโคกเที่ยง]]
โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 6
* [[โรงเรียนบ้านสุวรรณวาร๊ ห้วยน้ำใส]]
โรงเรียนบ้านลาดวารี
โรงเรียนบ้านคันไร่
โรงเรียนบ้านหนองชาด
โรงเรียนบ้านหนองเม็ก
โรงเรียนบ้านคำเขื่อนแก้ว
โรงเรียนบ้านโคกเที่ยง
โรงเรียนบ้านห้วยน้ำใส
โรเรียนบ้านตัวอย่าง
โรงเรียนบ้านเหล่าอินแปลง
โรงเรียนพลาญชัย
โรงเรียนอาชีวศึกษา สพป.อบ.3
* [[วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย สิรินธร]]
เส้น 125 ⟶ 79:
* พัทยาน้อย / ภูทอง
* น้ำตกตาดโตน
* หาดบ้านแหลมสวรรค์
* ล่องแพ บ้านโนนหินกอง
* ใต้สะพานเขื่อนสิรินธร
* หาดบ้านหนองเม็ก
* หาดดอนสะเวิน บ้านคำกลาง-คำก้อม
 
== อ้างอิง ==